[ปลดหนี้แบบแฮปปี้] 7 วิธีแก้ปัญหาหนี้กู้เงินนอกระบบ

[ปลดหนี้แบบแฮปปี้] 7 วิธีแก้ปัญหาหนี้กู้เงินนอกระบบ
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

ไม่ว่าใครต่างก็รู้ดีว่าการกู้เงินนอกระบบนั้นมีความเสี่ยงมากมายขนาดไหน แต่ในสถานการณ์ที่ต้องรีบใช้เงินสดฉุกเฉิน หลาย ๆ คนก็อาจจะไม่มีทางเลือก ต้องยอมเสี่ยงไปกู้เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายหมุนเวียนจนได้

บางคนอาจคิดแค่ว่า เอาเงินไว้ก่อน แค่หาเงินมาคืนเขาได้ก็จบ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะหนี้นอกระบบนั้นมีอันตรายที่คุณคาดไม่ถึงแฝงอยู่มากมาย มาดู 7 วิธีแก้ปัญหาจากการกู้เงินนอกระบบ จบปัญหาหนี้สินค้างคาแบบแฮปปี้เอ็นดิ้ง ได้ที่บทความนี้เลย!

กู้เงินนอกระบบอันตรายอย่างไร?

ขึ้นชื่อว่ากู้เงินนอกระบบ ก็เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่าเป็นการกู้ที่ไม่ได้อยู่ในกรอบความคุ้มครองของกฏหมาย แต่ด้วยความที่ปล่อยกู้ได้ง่าย ไม่ต้องใช้หลักประกันมากมาย รับเงินได้ทันที ทำให้หลาย ๆ คนที่กำลังร้อนเงินต่างเผลอตัวเผลอใจเข้าไปกู้

แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดของการกู้เงินประเภทนี้ก็คือ อัตราดอกเบี้ยมหาโหดที่ต้องจ่ายให้นายทุนหนี้นอกระบบในทุก ๆ เดือน บางเจ้าเก็บมากถึง 20% ต่อเดือน! ถ้านับเป็นปีก็จะสูงถึง 240% เลยทีเดียว! บอกเลยว่าแค่จ่ายดอกเบี้ยแต่ละเดือนก็หนักแล้ว แถมถ้าจ่ายไม่ไหวหนี้ก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นดินพอกหางหมูอีก เรียกได้ว่าเป็นการจ่ายดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จักจบจักสิ้น

หากเทียบกับสถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฏหมาย จะมีอัตราอัตราดอกเบี้ยเพียงปีละไม่เกิน 24% ต่อปีเท่านั้น น้อยกว่ากันเห็น ๆ นอกจากเป็นหนี้แล้วยังเสี่ยงโดนตามทวงหนี้โหดถึงหน้าบ้านอีกด้วย

เอาล่ะครับ! สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ มาดู 7 วิธีแก้ปัญหาหนี้จากการกู้เงินนอกระบบ ในหัวข้อถัดไปกันดีกว่าครับ

7 วีธีแก้ปัญหาหนี้กู้เงินนอกระบบ

7 วีธีแก้ปัญหาหนี้กู้เงินนอกระบบ

  1. เจรจากับเจ้าหนี้

    ถ้าเริ่มรู้ตัวแล้วว่าภาระหนี้ที่กู้มาเริ่มเยอะจนจ่ายไม่ไหว สิ่งแรกที่ควรทำนั้นก็คือเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อทำการต่อรอง โดยอาจจะขอผ่อนผันลดอัตราดอกเบี้ย หรือให้ช่วยยืดระยะเวลาการผ่อนชำระออกไปก่อน

    แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าหนี้ด้วยว่าจะประนีประนอมให้มากแค่ไหน โดยแนะนำว่าให้เปิดใจคุยกันอย่างเต็มที่ พูดคุยกันถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ก็อาจจะเรียกความเห็นใจและสามารถต่อรองจนสำเร็จได้

    7 วีธีแก้ปัญหาหนี้กู้เงินนอกระบบ
  2. วางแผนการเงิน ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

    สิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำทันทีเมื่อเริ่มเป็นหนี้นั่นก็คือการวางแผนการเงิน เพราะคุณจะทราบโดยทันทีว่าในเดือนนั้น ๆ คุณจำเป็นจะต้องประมาณค่าใช้จ่ายให้มีเงินเหลือเผื่อไว้สำหรับการจ่ายหนี้ โดยอาจใช้วิธีสร้างบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้เงินในแต่ละเดือนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

    อ่านเคล็ดลับบริหารและวางแผนการเงินเพื่อการต่อยอดคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ที่ >>> บทความนี้

  3. อย่าสร้างหนี้เพิ่ม

    การกู้เงินนอกระบบนั้นมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงเอามาก ๆ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถจ่ายเงินจำนวนนี้ได้ไหวในทุก ๆ เดือน ทำให้ต้องไปหยิบยืนคนใกล้ตัว หรือสร้างหนี้ก้อนใหม่เพื่อนำมาโปะหนี้ในจุดนี้

    บอกเลยว่าหากเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จำนวนหนี้สินของคุณจะไม่มีวันหมดสิ้นอย่างแน่นอนครับ หากไม่สามารถจ่ายไหวจริง ๆ เงินติดล้อแนะนำว่าให้ทำการเจรจากับเจ้าหนี้ก่อนเป็นอันดับแรกจะดีที่สุด เพื่อที่จะได้ต่อรองและหาทางออกร่วมกัน

  4. มีเงินก้อนให้รีบโปะ

    สำหรับการกู้เงินนอกระบบนั้น ส่วนสำคัญที่ต้องจัดการเพื่อให้ภาระหนี้ที่มีเบาลงนั่นก็คือ เงินต้น ยิ่งเงินต้นน้อย ดอกเบี้ยที่จะถูกเรียกเก็บในแต่ละเดือนก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย

    เนื่องจากเงินกู้นอกระบบนั้นจะมีการเก็บดอกเบี้ยในทุก ๆ เดือน แต่ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงลิบทำให้ไม่ว่าจะจ่ายค่างวดเท่าไหร่เงินต้นก็ไม่ลดลงสักที

    เพราะฉะนั้น หากมีโอกาสได้รับเงินก้อนเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเงินโบนัสจากที่ทำงาน การหยิบยืมเงินจากคนรอบข้าง หรือขายทรัพย์สินส่วนตัวได้ แนะนำให้นำเงินก้อนนั้นไปโปะเงินต้นของหนี้สินให้หมด เพื่อจะได้เป็นการลดภาระหนี้ทั้งในแง่ของการจ่ายดอกเบี้ย และจำนวนหนี้คงเหลืออีกด้วย

    แต่ถ้าไม่อยากต้องกังวลเพราะดอกเบี้ยโหด หันมากู้เงินในระบบที่มีดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกดีกว่าครับ! ถ้าอยากรู้ว่าดีกว่ายังไง หาคำตอบได้ที่บทความนี้เลย!

  5. หาแหล่งรายได้เสริม

    หากรายได้ที่มียังไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย อีกหนึ่งทางเลือกที่ทำได้นั่นก็คือการหารายได้เสริม 

  6. รวมหนี้เป็นก้อนเดียว

    สำหรับใครที่มีหนี้จากเงินกู้หลาย ๆ ก้อน นาน ๆ เข้าอาจทำให้รู้สึกสับสนเวลาจ่ายหนี้ได้ หากเปลี่ยนมารวมให้เป็นหนี้ก้อนเดียวกันได้ จะช่วยลดความสับสนและจำนวนดอกเบี้ยได้ระดับหนึ่ง โดยแนะนำให้รวมเข้ากับเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด

  7. เปลี่ยนเป็นหนี้ในระบบ

    อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงแรกว่า การกู้เงินนอกระบบนั้นมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงเอามาก ๆ แถมยังต้องจ่ายทุก ๆ เดือน ทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยที่จ่ายไม่ไหว จนสุดท้ายจำนวนเงินก็พอกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่

เพราะฉะนั้น วิธีการที่ดีที่สุดของในการจัดการกับปัญหานี้ก็คือ เปลี่ยนมาเป็นหนี้ในระบบนั่นเอง เพราะหนี้ในระบบนั้นจะอยู่ในกรอบความคุ้มครองของกฏหมาย มีอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงจนเกินตัว รับรองว่าภาระจากหนี้นอกระบบของคุณนั้นจะลดลงไปได้มากอย่างแน่นอน

จบปัญหาหนี้นอกระบบ ด้วยสินเชื่อทะเบียนรถกับเงินติดล้อ!

จากที่กล่าวไว้เราจะเห็นแล้วว่าดอกเบี้ยของหนี้นอกระบบมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก ซึ่งหากเรามีหนี้แบบนี้หลายก้อน ก็จะถือว่าเป็นภาระดอกเบี้ยระยะยาวไม่จบไม่สิ้น การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องน่าอาย หรือผิดกฎหมาย แต่หากเป็นหนี้แล้วก็ต้องมีวินัยในการใช้จ่ายให้มากขึ้น ใครที่กำลังคิดจะปลดหนี้ มองหาตัวเลือกดี ๆ เรามีทางออกให้คุณ

จบปัญหาหนี้นอกระบบ ด้วยสินเชื่อทะเบียนรถกับเงินติดล้อ!

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งอยากจะโอนย้ายหนี้นอกระบบ เข้ามาเป็นหนี้ในระบบ ลองปรึกษาเงินติดล้อดูสิครับ!

เราให้บริการด้านสินเชื่อรถแลกเงินกับคนในมาอย่างยาวนาน อยู่ในกรอบความดูแลของกฏหมาย ไม่ว่าจะขอสินเชื่อไปปิดหนี้นอกระบบ เสริมสภาพคล่องส่วนตัว หรือนำไปลงทุน ก็มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นธรรมที่สุด!

ถ้าหากคุณยังไม่มั่นใจ ลองดูข้อดีจากการทำสินเชื่อกับเราก่อนสิครับ

  • เรามีสินเชื่อหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถกระบะ หรือแม้กระทั่งรถบรรทุก
  • อัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่ให้ราคาประเมินอย่างเหมาะสมที่สุด!
  • อนุมัติเร็วไม่ต้องรอนาน ให้คุณมีเงินสดฉุกเฉินไปใช้ได้ทันใจ
  • ยินดีผ่อนผัน และพิจารณาการประนอมหนี้ หากลูกค้าของเราเกิดปัญหา
  • มีแอปพลิเคชันให้ลูกค้าสามารถติดตามยอดเงิน และการชำระสะดวกยิ่งขึ้น พร้อมด้วยสิทธิพิเศษภายในแอปพลิเคชันมากมาย
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น