โรงรับจำนำ VS สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ กู้เงินด่วนที่ไหนดีกว่ากัน!?

โรงรับจำนำ VS สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ กู้เงินด่วนที่ไหนดีกว่ากัน!?
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

เงินช็อต ถือเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ทำให้การเงินสะดุด และคนที่กำลังตกที่นั่งลำบาก ต้องตัดสินใจแล้วว่าจะหาเงินด่วนเงินก้อนที่ไหนดี จะให้ไปใช้บริการเงินกู้นอกระบบ ที่มักจะหลอกว่าให้กู้เงินด่วน สินเชื่อด่วน หรือแม้แต่ ได้เงินด่วน 10 นาทีก็ไม่คุ้มเลยครับ เพราะต้องแบกรับดอกเบี้ยที่ไม่เป็นธรรม ทางออกที่พอจะนึกได้คือ จำนำทะเบียนรถยนต์ ด้วยรถยนต์ที่มี หรือ โรงรับจำนำ ที่ใช้ทรัพย์สินไปแลกเป็นเงิน แล้ววิธีไหนจะคุ้มค่าแก่การหาเงินด่วนเงินก้อน มาดูกันครับ

โรงรับจำนำ

เงินช็อตต้องเช็ก เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับโรงรับจำนำ

โรงรับจำนำมีให้เห็นโดยทั่วไปในประเทศไทยตามแหล่งชุมชน ถือเป็นแหล่งกู้ยืมเงินด่วนเงินก้อนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะได้เงินไว ได้เงินเลย ไม่ต้องรอนาน

เพียงนำทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งที่ใช้แล้วหรือของใหม่ มาโรงรับจำนำ แล้วทรัพย์สินนั้นจะถูกตีมูลค่าออกมาเป็นเงินก้อน ทำให้คนร้อนเงินสามารถนำเงินนั้นมาแก้ไขปัญหา หรือช่วยให้สภาพการเงินหมุนต่อได้

โดยโรงรับจำนำจะมีระยะเวลาในการไถ่ทรัพย์สิน และเรียกเก็บดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ระบุเอาไว้ในตั๋วจำนำ ถ้าเกิดไม่ชดใช้ตามเงื่อนไขที่กำหนด ทรัพย์สินที่นำไปจำนำจะตกเป็นของโรงรับจำนำไปโดยปริยาย

โรงรับจำนำมีกี่ประเภท?

โรงรับจำนำในประเทศไทยมีด้วยกันทั้งหมด 3 ประเภท คือ

  • โรงรับจำนำเอกชน : โรงรับจำนำที่ไม่ขึ้นตรงกับใคร เจ้าของใช้ทุนตนเองในการให้กู้เงิน
  • โรงรับจำนำ สถาธนานุเคราะห์ : เป็นรัฐวิสาหกิจ มีที่เงินจากรัฐบาลและเงินจากธนาคาร
  • โรงรับจำนำ สถาธนานุบาล : เป็นโรงรับจำนำของกรุงเทพมหานคร มีเงินจากเทศบาลและเงินกู้จากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล

โรงรับจำนำคิดดอกเบี้ยเท่าไหร่?

แต่ละโรงรับจำนำจะมีการคิดดอกเบี้ยที่แตกต่างกันนะครับ โดยอธิบายพอสังเขปได้ดังนี้

  • โรงรับจำนำเอกชน : ตาม พ.ร.บ. โรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ระบุเอาไว้ว่า เงินต้นไม่เกิน 2,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อเดือน หากเงินต้นมากกว่า 2,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน
  • โรงรับจำนำ สถาธนานุเคราะห์ : เงินต้นไม่เกิน 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อเดือน หากเงินต้นมากกว่า 20,000 บาทแต่ไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน
  • โรงรับจำนำ สถาธนานุบาล คิดอัตราดอกเบี้ย : เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.25% ต่อเดือน หากเงินต้นเกิน 15,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน

โรงรับจำนำ รับอะไรบ้าง?

ทรัพย์สินทุกอย่างที่ใช้แล้วหรือยังเป็นของใหม่ สามารถนำไปเข้าที่โรงรับจำนำได้เลยครับ โดยมูลค่าจะถูกตีออกมาจากราคาของทรัพย์สิน สภาพของทรัพย์สิน ปีที่ผลิต เช่น ตู้เย็น ทีวี กล้องถ่ายรูป นาฬิกา แว่นตา แลปทอป ทองรูปพรรณ ทองแท่ง ฯลฯ

โรงรับจำนำ

เงินช็อตไม่เป็นไร เบาใจด้วยสินเชื่อทะเบียนรถยนต์

อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่เงินช็อต เงินไม่พอใช้ ไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจไปนะครับ หากคุณมีทรัพย์สินที่เป็นรถยนต์ ก็สามารถนำรถยนต์มาเปลี่ยนเป็นเงินก้อนได้ โดยการขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า จำนำทะเบียนรถยนต์ มีให้เลือก 2 วิธีคือ

  • จำนำรถจอด หรือ จำนำทะเบียนรถยนต์ จอดรถทิ้งไว้
  • จำนำรถไม่จอด หรือ สินเชื่อทะเบียนรถยนต์

ขอสินเชื่อรถยนต์แบบไหนดีกว่ากัน?

เงินติดล้อ ขอแนะนำว่า ควรเป็นการจำนำรถไม่จอด หรือ สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ ดีกว่า เพราะวิธีนี้จะทำให้คุณยังมีรถยนต์ไว้ใช้ขับขี่ ใช้ทำธุรกิจเหมือนเดิม พร้อมๆ กับได้เงินก้อนมาทำให้สถานภาพทางการเงินหมุนต่อไปได้ เรียกได้ว่าตอบโจทย์กับเจ้าของธุรกิจ หรือใครก็ตามที่เงินช็อตแล้วต้องการเงินด่วน

ต่างจากการจำนำรถจอด ที่ต้องจอดรถทิ้งเอาไว้ ใช้รถยนต์เป็นสิ่งค้ำประกัน ยิ่งถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือต้องใช้รถยนต์ในชีวิตประจำวัน จะทำให้เกิดความลำบากครับ เพราะไม่สามารถนำรถยนต์มาใช้งานได้ อีกทั้งศูนย์จำนำรถยนต์อาจจะดูแลรถไม่ดีเท่าที่ควร

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การจำนำรถยนต์แบบจอด และ จำนำรถ ไม่จอด >> คลิก

สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ คิดดอกเบี้ยเท่าไหร่?

ถ้าขอสินเชื่อด่วนก็คงจะต้องเป็นสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ จะต้องคิดดอกเบี้ยสูงสุงไม่เกิน 24% ต่อปี ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเอาไว้ หากเป็นการจำนำรถแบบจอดจะไม่มีดอกเบี้ยตายตัว อยู่ที่ศูนย์จำนำรถยนต์ว่าคิดดอกเบี้ยสูงสุดไว้ที่เท่าไหร่ ทำให้การขอสินเชื่อรถยนต์ (จำนำรถไม่จอด) ไม่ถูกเอาเปรียบเหมือนจำนำรถแบบจอด

ขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ที่ไหนดี?

ถ้าอยากขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ ที่ดอกเบี้ยเป็นธรรม ถูกกฎหมาย ขอแนะนำสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ เงินติดล้อ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งข้อดีของสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ เงินติดล้อ คือ

  • อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 21% ต่อปี
  • คิดดอกเบี้ยลดต้นลดดอก
  • ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน
  • ไม่ต้องโอนเล่มทะเบียนรถ
  • ได้เงินไว ไม่รอนาน
  • สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ที่ให้วงเงินสูง
สินเชื่อรถแลกเงินไม่ต้องโอนเล่ม

โรงรับจำนำ VS สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ กู้เงินด่วนที่ไหนดีกว่ากัน

สมมติว่าเป็นเจ้าของธุรกิจ และตกอยู่ในสภาวะเงินช็อต ต้องการเงินด่วนเงินก้อนในจำนวนมาก จึงขนทรัพย์สินที่มีในบ้าน เช่น ตู้เย็น ทีวี แลปทอป กล้องถ่ายรูป ฯลฯ

เพื่อให้ยอดเงินได้ตามต้องการก็ย่อมทำได้ครับ แต่คุณจะเสียโอกาสในการใช้ทรัพย์สินที่นำไปจำนำไปชั่วขณะจนกว่าไถ่คืนได้ ไม่สามารถทำมาสร้างรายได้ได้เลย

หากมีรถยนต์ แล้วนำรถยนต์ไปเปลี่ยนเป็นเงินก้อนด้วยสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ ที่ได้วงเงินสูงตามต้องการ ได้เงินไว ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน

และข้อดีที่สุดคือ คุณยังมีรถยนต์ไว้ใช้งาน และไม่ต้องเสียทรัพย์สินอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้อีกด้วย เช่น กล้องถ่ายรูปที่ถ่ายสินค้า แลปทอปไว้ทำงาน เป็นต้น

ในเรื่องของการคิดดอกเบี้ย โรงรับจำนำมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.25% ต่อเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ที่เป็นแบบลดต้นลดดอกที่ 24% ต่อปี หรือถ้าเทียบเคียงดอกเบี้ยคงที่ประมาณ 1.13% ต่อเดือน ก็จะพบว่าดอกเบี้ยนั้นใกล้เคียงกันมาก

ดังนั้น การขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์จึงคุ้มค่ากว่า โรงรับจำนำที่ต้องขนทรัพย์สินหลายๆ ชิ้น มาที่โรงรับจำนำอีกนะครับ

สรุป

เงินช็อตแล้วอยากได้เงินด่วน ตัวเลือกอย่างโรงรับจำนำไม่ใช่เรื่องแย่ เช่น นำกล้องถ่ายรูปหรือทีวีไปจำนำ แต่จะดีกว่ามากหากเลือกใช้สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ เพราะไม่ต้องนำทรัพย์สินอะไรเลยไปไว้ที่โรงรับจำนำ ทำให้คุณยังสามารถใช้ทรัพย์สินเหล่านั้นสร้างเม็ดเงินต่อได้ และสำหรับการขอสินเชื่อทะเบียนรถ เงินติดล้อ ก็ใช้เพียงรถยนต์ ไม่ต้องจอดรถทิ้งไว้ ไม่ต้องโอนทะเบียนเล่ม คุณก็จะได้ทั้งเงินก้อน และมีรถขับเหมือนเดิม

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น