เตือนภัย จํานํารถแบบจอด เสี่ยงรถหายไม่รู้ตัว

เตือนภัย จํานํารถแบบจอด เสี่ยงรถหายไม่รู้ตัว
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

พูดถึงการ “จำนำ” เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยเห็นการกู้เงินด้วยการวิธีนี้มาบ้าง แต่รู้หรือไม่ว่ามีคนถูกโกงจากการนำทรัพย์สินไปจำนำกับคนที่ไว้ใจไม่ได้เกิดขึ้นมากเรื่อยๆ โดยเฉพาะสินทรัพย์ชิ้นใหญ่และราคาสูงอย่างรถยนต์ ดังนั้นหากคุณคิดจะขอสินเชื่อแล้วล่ะก็ ต้องพิจารณาเลือกผู้ให้สินเชื่ออย่างรอบคอบเลยนะครับ

ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่าสินเชื่อรถมีทั้งหมดกี่แบบ แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร สินเชื่อทะเบียนรถคืออะไร และแบบไหนที่ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้ต้องเสียทั้งเงิน เสียทั้งรถ เสียทั้งความรู้สึก

สินเชื่อรถมีกี่แบบ?

สินเชื่อรถมีกี่แบบ?

สินเชื่อรถโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ซึ่งแต่ละแบบจะมีหลักการและรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. จำนำแบบจอด

    สำหรับการจำนำรถแบบจอด ก็คือการนำรถไปจอดเป็นหลักประกัน เพราะต้องจอดทิ้งไว้กับผู้ปล่อยเงินกู้ในระหว่างการผ่อน ดังนั้นข้อเสียแรกที่เห็นได้ชัดของการจำนำแบบนี้ก็คือคุณจะไม่มีรถใช้นั่นเอง

    อย่างไรก็ตาม การจำนำแบบนี้มักจะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ปล่อยเงินกู้ เพราะเขาจะมั่นใจว่าอย่างน้อยๆ ถ้าเราไม่ผ่อนชำระตามสัญญา ก็สามารถยึดรถยนต์ที่จอดไว้ได้เลย แต่นั่นก็ทำให้ผู้ขอกู้ได้ประโยชน์เหมือนกัน เพราะการจำนำแบบจอดนี้มักจะเสียดอกเบี้ยที่ค่อนข้างถูก และอนุมัติเงินไว

  2. สินเชื่อทะเบียนรถ

    สินเชื่อทะเบียนรถ คือการที่เรานำเล่มทะเบียนรถไปขอสินเชื่อ โดยส่งมอบตัวเล่มให้ผู้ปล่อยสินเชื่อเก็บไว้ พร้อมทั้งโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถในเล่มทะเบียนรถให้เป็นชื่อของสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ และเรายังสามารถนำรถไปใช้งานได้ตามปกติ

    เชื่อว่าถ้าเลือกได้ หลายคนก็คงอยากจะเลือกขอสินเชื่อทะเบียนรถมากกว่า เพราะมีข้อดีตรงที่ยังมีรถใช้เหมือนปกติ และไม่ต้องเป็นห่วงว่ารถที่เราไปจอดไว้ที่แหล่งเงินกู้จะได้รับการดูแลอย่างไร ต้องตากแดดตากฝนจนต้องเสียเงินซ่อมแซมและทำสีใหม่ตอนมารับคืนหรือเปล่า

    ที่ดีไปกว่านั้นคือ ทุกวันนี้บริการสินเชื่อทะเบียนรถของหลายบริษัท ยังเปิดโอกาสให้คุณเลือกได้ด้วยว่า ต้องการ “โอนเล่มทะเบียน” หรือ “ไม่โอนเล่มทะเบียน” หากเลือกไม่โอนเล่มทะเบียน คือแค่นำเล่มทะเบียนไปฝากไว้ที่ผู้ปล่อยสินเชื่อในระหว่างการผ่อนชำระ แต่ไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ ก็จะทำให้เล่มทะเบียนรถของเราไม่มีรองร่อยประวัติการกู้ยืม เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการให้มีประวัติการกู้เงิน แต่ก็อาจต้องแลกกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากกว่าการโอนเล่มทะเบียน เพราะหากเลือกโอนเล่มทะเบียน ก็มักจะได้ดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า

    แล้วถ้าเลือกขอสินเชื่อกับผู้ปล่อยสินเชื่อที่ผิดกฎหมายหรือมีเจตนาร้าย อาจจะมีกลโกงอะไรที่เราต้องระวังไว้บ้าง?

สารพัดกลโกงที่ต้องระวัง เมื่อคิดจะขอสินเชื่อรถ

สารพัดกลโกงที่ต้องระวัง เมื่อคิดจะขอสินเชื่อรถ

การขอสินเชื่อรถไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจหากเลือกขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้และถูกกฎหมาย และยังนับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้คนที่กำลังต้องการใช้เงิน ได้เงินก้อนมาใช้ในยามจำเป็นด้วย

แต่ปัญหาก็คือ หลายคนเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็มักจะใจร้อน ทำให้ไม่ได้พิจารณาแหล่งกู้เงินให้ดีเสียก่อน โดยธุรกิจเหล่านี้จะอาศัยความไว้วางใจของผู้กู้เงิน และฉวยโอกาสไม่ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ทำให้ผู้ขอกู้เงินเป็นฝ่ายเสียเปรียบหรือถูกโกง และส่วนมากจะดำเนินการทางกฏหมายเพื่อเอาความผิดได้ยาก อย่างที่เรามักจะได้ยินในข่าวกันบ่อยๆ โดยกลโกงที่พบบ่อยมีดังนี้

  • คิดดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
  • หลังจากผ่อนชำระให้แล้ว กลับบ่ายเบี่ยงว่ายังไม่ได้รับเงิน (เพราะตอนที่ชำระเงินไม่ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้เก็บไว้)
  • ย้ายที่อยู่และติดต่อไม่ได้ หลังจากนำรถไปฝาก
  • เรียกร้องค่าไถ่รถเพิ่ม
  • เมื่อไปขอรับรถคืนกลับบอกว่ารถหาย โดยที่เจ้าของรถก็ไม่มีเอกสารรับรองการขอสินเชื่อ (เพราะทางเต็นท์รถจงใจไม่ได้ให้มาตั้งแต่ต้น)
  • นำรถไปสวมทะเบียนใหม่ ทำสี และเปลี่ยนชิ้นส่วนรถ แล้วนำไปปล่อยขายต่อ
ข้อแนะนำในการขอสินเชื่อรถ

ข้อแนะนำในการขอสินเชื่อรถ

เมื่อได้รู้ถึงสารพัดกลโกงที่ไม่ธรรมดาอย่างนี้แล้ว ใครที่กำลังคิดจะนำรถไปขอสินเชื่ออยู่ ก็อย่าลืมว่าสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอันดับแรกๆ ก็คือ

  1. ควรเลือกขอสินเชื่อรถกับผู้ปล่อยเงินกู้ที่เป็น สถาบันการเงิน และธุรกิจที่เชื่อถือได้เท่านั้น ถึงแม้จะต้องการเงินด่วน แต่ก็ควรใช้เวลาในการพิจารณา ไม่ควรรีบร้อนขอกู้เงินกับเต็นท์รถเล็กๆ เพียงเพราะเห็นแก่ข้อเสนอที่ทางผู้ให้กู้ยื่นให้ ยิ่งได้วงเงินกู้สูงมากผิดปกติยิ่งต้องระวัง โดยเฉพาะกรณีจำนำแบบจอด ไม่อย่างนั้นอาจจะเสี่ยงรถหายได้

  2. ต้องมีเอกสารสัญญา หลักฐานการขอสินเชื่อ รวมถึงใบเสร็จการชำระค่างวดเก็บไว้ทุกครั้ง อย่าเชื่อเพียงลมปากเพราะถึงแม้จะเป็นคนกันเอง แต่กับเรื่องแบบนี้ ยังไงก็ต้องทำสัญญาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหากอีกฝ่ายคิดจะกลับคำในภายหลัง หรือบางครั้งอีกฝ่ายอาจจะไม่ได้ตั้งใจกลับคำ แต่ตอนที่ตกลงกันอาจจะเข้าใจไม่ตรงกัน การที่ไม่มีหลักฐานยืนยันอาจทำให้ผิดใจกันได้

หากต้องการบริการสินเชื่อรถที่เชื่อถือได้ เงินติดล้อมีบริการสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และรถบรรทุก คอยให้บริการทุกท่าน

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น