หน้าแรก ติดล้อสตอรี่ ถอดรหัสเงินติดล้อกับ ‘วัฒนธรรมองค์กร’ ที่เอื้อต่อการ ‘สร้างนวัตกรรม’

ถอดรหัสเงินติดล้อกับ ‘วัฒนธรรมองค์กร’ ที่เอื้อต่อการ ‘สร้างนวัตกรรม’

03 พฤษภาคม 2566
ถอดรหัสเงินติดล้อกับ ‘วัฒนธรรมองค์กร’ ที่เอื้อต่อการ ‘สร้างนวัตกรรม’

ยุคนี้คือยุคสมัยแห่ง ‘การสร้างนวัตกรรม’ ที่พลิกเปลี่ยนชีวิตและพฤติกรรมของผู้คนทั่วโลก จากพลังของเทคโนโลยี และการมาถึงของ ‘ดิจิทัล’

ในภาคธุรกิจ หนึ่งในเครื่องตัดสินที่สำคัญว่า องค์กรใดจะเติบโตต่อ และองค์กรใดอาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง จึงเป็นเรื่องของ ‘วัฒนธรรมองค์กร’ ที่เอื้อต่อการ ‘สร้างนวัตกรรม’

ในงาน NTL Open Box 2023 ทางเงินติดล้อได้รับเกียรติจากคุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ CEO KT Venture Capital หรือ คุณเหม็ง หนึ่งในผู้บุกเบิก ‘Startup’ ไทย ให้สามารถเติบโตขึ้นมาเป็นยูนิคอร์น จากการพัฒนานวัตกรรมที่เข้าใจและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย มาเป็นวิทยากรรับเชิญให้กับผู้นำชาวเงินติดล้อกว่า 600 คน ในหัวข้อ Do More with Less by Cultivating Innovative Culture ซึ่งคุณเหม็งได้ยกตัวอย่างวัฒนธรรมองค์กรเงินติดล้อไว้ ว่า เงินติดล้อมีวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม ทำให้กลายเป็นผู้นำในธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถและโบรกเกอร์ประกันภัยของไทยจากนวัตกรรมที่ล้ำหน้าและเป็นองค์กรที่มีอนาคตเติบโตอย่างต่อเนื่อง และได้ถอดรหัสที่มีอยู่ใน วัฒนธรรมองค์กรเงินติดล้อ ที่นำพาไปสู่ความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมว่าประกอบไปด้วยกุญแจสำคัญ 3 อย่าง คือ

1. เงินติดล้อให้ทั้ง License to Success และ License to Fail

องค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีใบอนุญาตให้พนักงานประสบความสำเร็จ(License to Success) คือหากทำงานได้ตามเป้าหมาย และสร้างกำไรให้องค์กรได้ก็จะมีการฉลองด้วยการให้รางวัลพิเศษ หรือ โบนัส

แต่สิ่งที่หลายองค์กรไม่มีคือ ใบอนุญาตให้ล้มเหลว(License to Fail) ซึ่งหมายถึงการเปิดโอกาสให้พนักงานผิดพลาดได้ ด้วยการเปิดพื้นที่ให้พนักงานลองผิดลองถูกเพื่อทำในสิ่งที่คิด โดยกำหนดงบประมาณหรือขอบเขตที่องค์กรจะรับได้ หากการลองนั้นล้มเหลว แล้วในเมื่อปล่อยให้พนักงานได้ล้มเหลวแบบนี้ องค์กรจะได้อะไร? คำตอบคือ แม้ผลลัพธ์ของการลองจะล้มเหลว แต่ระหว่างทางก็จะสร้างประสบการณ์ที่มีค่ามากมายให้พนักงานคนนั้นหรือกลุ่มนั้นได้เรียนรู้ ที่สำคัญคือการรู้ว่าองค์กรมี ‘ใบอนุญาตให้ล้มเหลว’ จะช่วยปลุกพลังและดึงศักยภาพที่มีในตัวพนักงาน ให้กล้าที่จะลองสร้างนวัตกรรม กล้าลองหาวิธีที่ดีกว่า เจ๋งกว่า เพื่อสร้างความเติบโตให้องค์กร

“มันอาจยากในปีแรกที่ทำ แต่หลังจากนั้นจะเห็นว่าคนที่เคยมีประสบการณ์ผิดพลาดในปีแรก ๆ จะสามารถคิดนวัตกรรม หรือวิธีที่จะสร้างกำไรให้กับองค์กรได้แบบมหาศาล”

คุณเหม็งยังยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ซึ่งสร้างกำไรในทุกวันนี้ของ Google เช่น Google Search Google Maps ว่าล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากการลองผิดลองถูกของพนักงาน ไม่ได้มาจากการที่ CEO สั่งๆ ลงมาอย่างเดียว

หรืออย่าง เงินติดล้อ’  ก่อนจะมีนวัตกรรมอย่าง แอปเงินติดล้อ บัตรติดล้อ หรือ แพลตฟอร์มอารีเกเตอร์ ซึ่งช่วยให้ลูกค้ามีคุณภาพชีวิตที่สะดวกขึ้น ง่ายขึ้นอย่างตรงจุด และยังช่วยสร้างโอกาสให้ทั้งเงินติดล้อและพันธมิตรได้เติบโตไปพร้อมกัน

เงินติดล้อเองก็เคยผ่านความผิดพลาดจากการทดลองผลิตภัณฑ์ สินเชื่อตลาดสด มาก่อนเช่นกัน
 

2. เงินติดล้อเป็นองค์กรที่มีคุณสมบัติแบบ Startup ควบคู่กับการมีธรรมาภิบาล

สิ่งที่ทำให้เงินติดล้อพัฒนานวัตกรรมได้ภายในเวลาไม่นาน นอกจากการมีวัฒนธรรม ‘กล้าคิด กล้าลอง’ เงินติดล้อยังมีวัฒนธรรมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ปรับตัวได้ไว ไม่ต่างจาก Startup และขณะเดียวกันก็มีสิ่งที่จะช่วยปกป้องจากความผิดพลาดหรือสูญเสียคือธรรมาภิบาล

สิ่งที่ทำให้ Startup ได้เปรียบคือความกล้าที่จะลอง ทำไปก่อนผิดถูกไม่รู้ แล้วถ้าเวิร์คก็ค่อยมาตบในเรื่องความถูกต้องให้เข้ารูปเข้ารอยอีกที  ทำให้อาจใช้เวลาแค่ 18 วันก็ปล่อยแอปพลิเคชันออกมาได้แล้ว ขณะที่องค์กรใหญ่ๆ อาจใช้เวลาเป็นปี เพราะต้องระวังเรื่องความถูกต้อง คือมีธรรมาภิบาลคอยกำกับเป็นไม้บรรทัดในทุกๆ ขั้นตอนการคิด ซึ่งก็มีข้อดีคือปลอดภัยจากความเสี่ยง

การเป็นองค์กรที่สามารถนำ 2 อย่างนี้มารวมกันได้ คือมีวัฒนธรรมการทำงานแบบ Startup และมีธรรมาภิบาลคอยเป็นห่วงอยู่ห่างๆ  จึงเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในการสร้าง นวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ทุกฝ่ายได้ของเงินติดล้อ

3. เงินติดล้อมีความเชื่อเรื่อง ‘การให้โอกาส’ และพร้อมเป็น ‘ลมใต้ปีก’ หนุนพนักงานให้เติบโต

ความสำเร็จอีกอย่างของเงินติดล้อในการสร้าง นวัตกรรม ยังมีที่มาจากการมีความเชื่อและวัฒนธรรมในการ ให้โอกาส ซึ่งทำให้ ผู้บริหารทุกระดับของเงินติดล้อเข้าใจ และพร้อมเปิดโอกาส เปิดพื้นที่ให้พนักงานได้ลองผิดลองถูก เพื่อที่จะเติบโตไปพร้อมกับองค์กร อย่างที่คุณเหม็งเล่าว่า

“นอกจากผู้บริหารระดับสูงแล้ว คนสำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดบรรยากาศของการกล้าคิด กล้าลอง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้าง ‘นวัตกรรม’ ให้เกิดขึ้นมาได้ในองค์กรก็คือ ผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้บริหารระดับสูงและพนักงาน

เพราะหากผู้บริหารระดับกลาง  ไม่เปิดใจกว้าง ไม่พร้อมจะสนับสนุน ไม่พร้อมจะรับฟังความคิดเห็นใหม่ๆ หรือกลัวที่จะผลักดันลูกน้อง กลัวโดนผู้บริหารระดับสูงด่าที่เปิดโอกาสให้ลูกน้องลองแล้วไม่สำเร็จ บรรยากาศของการกล้าคิด กล้าลองก็จะไม่เกิดขึ้น”

และด้วยวัฒนธรรมของเงินติดล้อที่ผ่านการบ่มเพาะมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้นอกจากวันนี้เงินติดล้อจะเป็นองค์กรที่สามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความคิด ความเชื่อแบบเดียวกัน และมีศักยภาพในการสร้าง ‘นวัตกรรม’ มาร่วมกันสร้างความเติบโตให้องค์กร จึงทำให้ชาวเงินติดล้อในทุก Generation ยังพร้อมจะ พัฒนาตัวเองให้เก่งกว่าเมื่อวาน เพื่อให้ตามทันการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วขององค์กรเช่นกัน

เป้าหมายในการเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างมั่นคง แข็งแกร่ง และยืนยาวนับ 100 ปีของเงินติดล้อ  จึงไม่ใช่เป้าหมายที่ไกลเกินฝัน

เคล็ด (ไม่) ลับ เพื่อฟูมฟักให้เกิด ‘นวัตกรรม’

เคล็ดลับสำหรับ ‘พนักงาน’

  • มีไอเดียอย่างเดียวไม่พอ ต้องพร้อมที่จะพิสูจน์ด้วยว่า สามารถจัดลำดับความสำคัญของงานประจำกับสิ่งที่ต้องการจะทดลองได้
  • ในการลองสิ่งใหม่ๆ ต้องสามารถประเมินความเสี่ยงจากความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย
  • ไอเดียแรกอาจไม่ใช่ไอเดียที่ดีที่สุด แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจที่สุด
  • อย่าเสียเวลาผิดพลาดกับเรื่องเดิมซ้ำๆ แต่เรียนรู้และนำบทเรียนไปปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เคล็ดลับสำหรับ ‘ผู้บริหาร’
  • เปิดใจรับฟังเยอะๆ เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ลูกน้องนำเสนอ หรือแม้แต่เข้าใจเหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เขาพยายามอธิบาย
  • ต้องช่วยกำหนดขอบเขตของความผิดพลาดที่แผนกหรือฝ่าย รวมถึงองค์การจะรับได้จากการเปิดโอกาสให้ลูกน้องทดลองนวัตกรรม
  • ต้องเข้าใจว่า ความสำเร็จหรือผลลัพธ์ไม่ได้วัดจาก เม็ดเงิน อย่างเดียว แต่ยังสามารถวัดจากกระบวนการ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ของพนักงานด้วย
ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากการบรรยายในหัวข้อ Do More with Less by Cultivating Innovative Culture โดยคุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์
 
เงินติดล้อ

ติดล้อสตอรี่โดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น