หน้าแรก บทความ ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง รู้ก่อนซื้อ! เลือกมอเตอร์ไซค์มือสองอย่างไรให้คุ้มค่า

รู้ก่อนซื้อ! เลือกมอเตอร์ไซค์มือสองอย่างไรให้คุ้มค่า

รู้ก่อนซื้อ! เลือกมอเตอร์ไซค์มือสองอย่างไรให้คุ้มค่า
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
ผ่อนอยู่ก็กู้ได้ ถ้าทำสินเชื่อกับบริษัทต่อไปนี้
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน), บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน), บริษัท เวิลด์ลีส จำกัด, บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท ไฮเวย์ จำกัด
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

มอเตอร์ไซค์คือตัวเลือกในการเดินทางลำดับต้น ๆ ของประชากรในประเทศไทย เนื่องจากความรวดเร็ว คล่องตัว มีราคาค่างวดที่ไม่แพงมากนัก และสามารถหาซื้อได้ง่าย ทั้งรถใหม่และรถมือสอง

การที่มอเตอร์ไซค์ได้รับความนิยมนี้ทำให้ผู้ขายบางบริษัทมีความคิดที่จะเอาเปรียบผู้ซื้อ โดยการหลอกขายของคุณภาพไม่ดีให้หรือที่เรียกว่า “ย้อมแมว” ซึ่งสำหรับคนที่มีประสบการณ์และคลุกคลีกับรถมอเตอร์ไซค์อยู่ตลอด คงสามารถตรวจสอบได้อย่างไม่ลำบาก แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญหรือไม่มีความรู้ในด้านมอเตอร์ไซค์อาจจะเป็นปัญหาสำคัญในอนาคตได้ และในวันนี้ เราจะมาแนะนำวิธีการเลือกซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือสองให้ได้ของที่คุ้มค่าและไม่โดนหลอกครับ

  1. รูปแบบของรถตรงกับการใช้งานและความชอบขนาดไหน

    ควรพิจารณาถึงการใช้งานเป็นหลัก เช่น ถ้าใช้ในการขนของ อาจจะเลือกรถที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก มีโครงสร้างและช่วงล่างที่ดีเหมาะสมต่อการรับน้ำหนัก หรือถ้าขับขี่เป็นประจำทุกวันและมีระยะทางไกล อาจจะเลือกรุ่นที่ประหยัดน้ำมัน นั่งสบาย และพอที่จะทำความเร็วได้ดีในระดับหนึ่ง

    นอกจากรูปแบบการใช้งานแล้ว ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปร่างหน้าตาก็มีความสำคัญเช่นกัน การได้รถที่ชอบนั้นก็อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสามารถทำให้ใช้รถต่อไปได้ในระยะยาว

  2. ผู้ขายต้องมีความน่าเชื่อถือ

    ความน่าเชื่อถือของผู้ขายนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในกรณีที่ซื้อกับร้าน ควรมีหน้าร้านชัดเจน มีรถให้เลือกหลายรุ่น พนักงานขายมีความรู้ สามารถตอบคำถามรวมไปถึงให้คำแนะนำได้ รถที่ขายได้รับการตรวจสภาพ ได้รับการรับรองและมีบริการหลังการขาย

    แต่หากเลือกซื้อจากบุคคล ก็ควรจะตรวจสอบเพิ่มเติมในส่วนของเอกสารต่าง ๆ ว่าอยู่ครบหรือไม่ เล่มทะเบียน ภาษี และ พรบ. ล้วนเป็นเอกสารสำคัญและจำเป็นต้องมี รวมไปถึงประวัติในการเข้ารับบริการ เช่นการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หรืออะไหล่ต่าง ๆ

    ตรวจเช็คสภาพภายนอก
  3. ตรวจเช็คสภาพภายนอก

    สภาพภายนอกของมอเตอร์ไซค์นั้นควรอยู่ในภาพสมบูรณ์ อาจจะมีร่องรอยจากการใช้งาบ้าง แต่ไม่ควรมีการแตกหัก ร่องรอยจากการล้มหรืออุบัติเหตุ ซึ่งเราจะสังเกตได้จาก

    • ตัวถัง – ไม่ควรมีการต่อเติม ตัดแปลง แก้ไข ไม่มีรอยการเชื่อมใหม่ หากตัวถังมีร่องรอยการพ่นสีใหม่ อาจจะคาดเดาได้ว่าเป็นรถที่ได้รับการซ่อมตัวถังมาแล้ว
    • โช้คอัพ – ต้องไม่บิดเบี้ยว ไม่มีคราบน้ำมันซึมออกมา สามารถใช้งานได้เป็นปกติ กดแล้วคืนตัว
    • ช่วงล่าง – ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อยู่ครบ และตรงตามรุ่นของรถคันนั้น ๆ ไม่มีหลุด หลวม และไม่มีร่องรอยของการดัดแปลงแก้ไขใด ๆ
    • สายยาง สายไฟ – สายไฟควรอยู่ในสภาพดี ฉนวนสายไม่กรอบหรือละลาย ในจุดที่มีการเชื่อมต่อสาย ควรเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์/วิธีที่ถูกต้อง ได้มาตรฐาน สายยางอยู่สภาพที่ดี ไม่บวม ไม่แข็ง ไม่มีรอยแตกหรือรั่ว ข้อต่อมีความแน่นหนา
    • เพลา โซ่ - ไม่มีเสียงติดขัดในจังหวะที่รถเคลื่อนตัว ไม่สึกหรอหรือสนิมขึ้น
    • ท่อไอเสีย – ควรเป็นของเดิมตามรุ่นของรถ ไม่มีการดัดแปลงทั้งภายนอกและภายใน ระดับของเสียงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่มีคราบของเหลออกมาจากท่อ

    การตรวจสอบภายนอกเบื้องต้นนี้พอจะช่วยให้เราได้ทราบว่า รถคันนี้ผ่านการใช้งานมามากน้อยแค่ไหน และได้รับการบำรุงรักษาที่ดีหรือเปล่า จากนั้นเราก็จำเป็นต้องตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ

  4. ตรวจดูเครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ ภายใน

    เครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ นั้นมีการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าการทำงานของเครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ นั้นถูกต้องหรือไม่ หากไม่สตาร์ทเครื่องยนต์

    • เครื่องยนต์ - นอกจากการตรวจสอบการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแล้ว ก็ควรตรวจสอบการเปลี่ยนอุปกรณ์อื่นด้วย เช่น หัวเทียน หรืออื่น ๆ ที่มีอายุการใช้งาน หลังจากสตาร์ท เครื่องยนต์ต้องเดินเรียบ ไม่สะดุด ไม่มีเสียงแปลก ๆ ขณะเครื่องยนต์ทำงาน
      ตัวเครื่องภายนอกไม่มีคราบน้ำมัน สนิม ขอบยางตามจุดต่าง ๆ อยู่ในสภาพดี ไม่มีการรั่วซึม
    • ระบบไฟ - ต้องสามารถใช้งานได้ทุกจุด ทั้งไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรค ไฟเลี้ยว กรอบไฟต่าง ๆ ใส สามารถมองเห็นได้ชัดเจน การทำงานของไฟสัญญาณบนหน้าปัดถูกต้อง ถ้าหน้าจอการแสดงผลเป็นแบบอิเล็คทรอนิค การแสดงผลต้องครบถ้วน
    • ระบบเบรก - ระบบเบรคนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่โดยตรง
    ตรวจดูระบบเบรก

    ก้านเบรค (มือ) และแป้นเบรค (เท้า) ควรอยู่ในสภาพดี ไม่คดงอ ในการบีบ หรือที่เหยียบนั้นต้องไม่ลึกเกินไป เนื่องจากอาจจะเบรคไม่ทันได้ ระดับของน้ำมันเบรคมีเพียงพอ ไม่ขาด และไม่มีร่องรอยของการรั่วซึม

    นอกจากเครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการทดลองขับขี่ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยตัดสินใจได้ว่ารถคันนั้น “เหมาะ” กับเรา หรือการใช้งานมากน้อยขนาดไหน

  5. ทดสอบขับขี่จริง

    ผู้ขายที่ดีควรอนุญาตให้มีการทดลองขับขี่ในระยะทางสั้น ๆ ได้ เพื่อเป็นการให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบการทำงานโดยรวมของรถอย่างละเอียดอีกครั้ง

    ในการขับขี่ ล้อหน้าควรจะหันไปในทิศทางเดียวกับแฮนด์ ไม่มีบิดเบี้ยวหรือแกว่ง ระบบเบรคทำงานได้ดี ไม่มีเสียงขณะเบรค

    หากมีข้อสงสัยหลังจากการทดลองขับขี่ ควรสอบถามจากผู้ขายในทันที เพราะการซื้อรถมือสองนั้นก็ถือว่าเป็นการลงทุนก้อนใหญ่เช่นกัน เราควรได้รับในสิ่งที่ดีและคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

เห็นไหมครับ วิธีการเลือกซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือสองนั้น ไม่ได้ยากอย่างที่ทุกคนคิดเลย เพียงแค่เรารู้จุดสังเกตต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะทำให้ได้รถที่ดี คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวผู้ขับขี่เองด้วยครับ

หากคุณสนใจจะซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือสองซักคัน ลองปรึกษากับทางเงินติดล้อได้ครับ เพราะเรามีรถมอเตอร์ไซค์มือสองสภาพนางฟ้าในราคาที่จับต้องได้ คอยให้บริการ สามารถสอบถามเพิ่มเติมหรือติดตามพวกเราได้ที่เว็บไซต์เงินติดล้อ หรือเงินติดล้อทุกสาขาทั่วประเทศ พวกเรายินดีให้บริการครับ!

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
ผ่อนอยู่ก็กู้ได้ ถ้าทำสินเชื่อกับบริษัทต่อไปนี้
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน), บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน), บริษัท เวิลด์ลีส จำกัด, บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท ไฮเวย์ จำกัด
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น