หน้าแรก บทความ การเงินน่ารู้ ออมเงิน 10 วิธีวางแผนการเงิน สำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่อยากเริ่มมีเงินเก็บ

10 วิธีวางแผนการเงิน สำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่อยากเริ่มมีเงินเก็บ

10 วิธีวางแผนการเงิน สำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่อยากเริ่มมีเงินเก็บ
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

ไม่ว่าใครต่างก็คิดว่าการเก็บเงินนั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่หากวางแผนการเงินดีๆ รีบออมเงินตั้งแต่วันนี้ เราจะมีเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินในอนาคตได้อย่างแน่นอน

ความจริงแล้วการเก็บเงินอาจไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิดหากคุณเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตัวเอง เงินติดล้อขอแนะนำ 10 วิธีวางแผนการเงินสำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่อยากจะเริ่มต้นเก็บเงิน มาดูกันเลยว่าทั้ง 10 วิธีนั้นมีอะไรบ้าง

10 วิธีวางแผนการเงินสำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือน
  1. ทบทวนความจำเป็นก่อนใช้จ่าย

    การจะมีเงินเหลือเก็บได้หรือไม่นั้น การหักห้ามใจตัวเองไม่ให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากคุณสามารถกลั้นใจ วางแผนการเงิน และทบทวนถึงความจำเป็นก่อนที่จะนำเงินไปใช้จ่ายได้ ไม่ว่าอย่างไรคุณก็จะมีเงินเก็บอย่างแน่นอน

    โดยในระยะแรกอาจใช้วิธีในการตั้งเป้าหมาย เช่น เก็บออมไว้เพื่อดาวน์รถ ซื้อโทรศัพท์ใหม่ ใช้เป้าหมายเหล่านี้ในการเตือนตัวเองว่าต้องออมเงินเอาไว้เพื่ออะไร แล้วคุณจะสามารถกลั้นใจไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้ และสร้างนิสัยในการเก็บออมขึ้นมาเอง

  2. กำหนดเงินใช้เป็นรายวัน

    ลองวางแผนการเงินดูว่า หลังจากหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือนอย่างค่าเช่าบ้าน หรือค่าเดินทางออกไปแล้ว ใน 1 วันคุณควรใช้เงินเท่าไหร่ แล้วกำหนดให้ในแต่ละวันคุณพกเงินไปใช้แค่จำนวนนั้น เพื่อป้องกันการใช้เงินเกินตัวในแต่ละวัน

    ยกตัวอย่างเช่น คุณมีเงินเดือน 20,000 บาท หักค่าที่พักและค่าเดินทางไป 8,000 บาท เหลือเงิน 12,000 บาท

    หากคำนวณแล้วใน 1 วันสามารถอยู่ได้ด้วยเงินเพียง 200 บาท หรือ 6,000 บาทต่อเดือน

    สรุปแล้ว ในเดือนนั้นคุณจะมีเงินเก็บทั้งหมด 6,000 บาทเลยทีเดียว

    แต่ทั้งนี้จำนวนเงินที่ใช้ และภาระค่าใช้จ่ายของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่หากคุณสามารถเปิดใจกำหนดเงินใช้เป็นรายวันได้ รับรองว่ามีเงินเหลือเก็บทุกเดือนอย่างแน่นอน

  3. งดการออกไปเดินห้างสรรพสินค้า

    ในเวลาว่างไม่มีอะไรทำ หลายๆ คนมักมีงานอดิเรกในการไปเดินเล่นที่ห้างสรรพสินค้า แม้ว่าในทีแรกจะไม่ได้ตั้งใจซื้ออะไร แต่ผ่านไปสักพักหนึ่งก็พบว่าเสียเงินไปกับสิ่งล่อตาล่อใจเข้าเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นขนมหวาน ร้านอาหาร หรือเสื้อผ้าจัดโปรโมชั่น

    หากคุณไม่สามารถวางแผนการเงินเพื่อซื้อสิ่งเหล่านี้ได้ แต่อย่างน้อยก็ควรชักจูงตัวเองให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในภาวะเสี่ยงที่ดึงดูดให้เราต้องใช้เงิน ดังนั้น การงดออกไปเดินห้างสรรพสินค้าในช่วงที่ต้องการจะเก็บออมเงินจึงเป็นการดีที่สุด

  4. ลดการใช้บัตรเครดิต

    มนุษย์เงินเดือนจำนวนมากเผลอตัวก่อหนี้ไปโดยไม่รู้ตัวผ่านสิ่งที่เรียกว่าบัตรเครดิต

    แม้ว่าบัตรเครดิตจะช่วยเพิ่มความสะดวกเหมือนกับการนำเงินในอนาคตมาใช้ในการผ่อนสินค้า และยังมีคะแนนสะสมให้แลกสิทธิพิเศษอีกมากมาย ทำให้หลายๆ คนเผลอตัวเผลอใจใช้ไปโดยไม่ทันวางแผนการเงินให้ดีๆ สุดท้ายก็กลายเป็นหนี้บัตรเครดิตก้อนโต จ่ายได้เพียงขั้นต่ำ แถมยังมีดอกเบี้ยตามมาอีก

    เพราะฉะนั้น แนะนำว่าให้ใช้บัตรเครดิตแต่พอดี หรือจ่ายด้วยเงินสดไปเลย จะช่วยลดโอกาสก่อหนี้ลงไปได้มาก

  5. เคลียร์หนี้สินให้หมด

    หนี้สินคั่งค้างก็เป็นอีกหนึ่งตัวการให้เราวางแผนการเงินได้ยาก เพราะเงินที่ได้มาต้องนำไปจ่ายหนี้ก่อนเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตที่มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่มักจะมีกัน

    เงินติดล้อแนะนำว่าให้รีบโปะเคลียร์หนี้สินที่มีทั้งหมด เพื่อที่ในแต่ละเดือนจะได้มีเงินเหลือเก็บไว้ใช้ได้ในอนาคต

  6. งดใช้เงินโบนัส

    สิ่งที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนทุกคนต่างก็ตั้งหน้าตั้งตาคอยนั่นก็คือโบนัสรายปีนั่นเอง แต่อย่าเพิ่งดีใจเผลอใช้ไปจนหมดเด็ดขาด เพราะนี่คือโอกาสที่คุณจะได้มีเงินก้อนโตเก็บเอาไว้ใช้ เผื่อในอนาคตมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินฉุกเฉิน เงินก้อนนี้อาจจะช่วยคุณได้เป็นอย่างดีในอนาคต

    งดใช้เงินโบนัส
  7. ทำรายรับรายจ่าย

    การทำบัญชีรายรับรายจ่ายแม้จะดูเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ก็เป็นวิธีวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพรูปแบบหนึ่งเลยทีเดียว

    หากคุณจดบันทึกการใช้จ่ายทุกอย่างลงในรายรับรายจ่าย เมื่อได้กลับมาอ่านทบทวนอีกที จะทำให้คุณสามารถมองเห็นภาพรวมได้ว่า มีค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ดูไม่จำเป็น หรือปรับลดลงได้บ้าง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการใช้เงินฟุ่มเฟือยในแต่ละเดือนลงได้

    โดยปัจจุบันมีแอปพลิเคชันบัญชีรายรับรายจ่ายบน Smartphone เป็นจำนวนมากให้คุณเลือกใช้อย่างสะดวก ไม่ต้องคอยจดใส่กระดาษเหมือนสมัยก่อนแล้ว

  8. เปิดบัญชีเงินฝากประจำ

    บัญชีเงินฝากประจำนั้นจะคล้ายกับบัญชีเงินฝากธนาคารแบบทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่คุณจะไม่สามารถถอนเงินออกมาได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็แลกกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีเงินฝากธรรมดาหลายเท่าตัว

    โดยปกติแล้วบัญชีเงินฝากประจำจะบังคับให้ฝากเงินติดต่อกันเรื่อยๆ โดยห้ามถอนออกมาเป็นระยะเวลา 12 เดือน 18 เดือน หรือ 24 เดือน โดยให้ดอกเบี้ยตั้งแต่ 1% ไปจนถึง 3% ตามแต่เงื่อนไขของแต่ละธนาคาร

    ยกตัวอย่าง บัญชีเงินฝากประจำของธนาคาร A ให้ดอกเบี้ย 3% ต่อปี โดยมีระยะเวลาในการฝาก 24 เดือน

    หากคุณฝากประจำเดือนละ 5,000 จนครบระยะเวลา คุณจะได้รับเงินก้อนมากถึง 123,750 บาทเลยทีเดียว

  9. ห้ามใช้แบงก์ 50

    อีกหนึ่งวิธีเก็บเงินยอดฮิตที่ใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย นั่นก็คือทุกครั้งที่มีแบงก์ 50 บาท จะต้องเก็บเอาไว้ห้ามนำไปใช้นั่นเอง ซึ่งปกติแล้วแบงก์ 50 นั้นมีโอกาสเจอได้ยาก จึงไม่เป็นภาระต่อค่าใช้จ่ายรายวันมากนัก

    หากลองคิดดูเล่นๆ ว่าแต่ละใน 1 สัปดาห์ได้รับแบงก์ 50 เฉลี่ยสัปดาห์ละ 4 ใบ ใน 1 ปี (52 สัปดาห์) คุณจะมีเงินเก็บมากถึง 10,400 บาทเลยทีเดียว

    ห้ามใช้แบงก์ 50
  10. เก็บก่อนใช้

    ทำอย่างไรก็ไม่สามารถวางแผนเพื่อเก็บเงินเอาไว้ได้จริงๆ วิธีที่หักดิบที่สุดก็คือชิงเก็บเงินเอาไว้ก่อนจะนำไปใช้นั่นเอง โดยเมื่อรับเงินเดือนมาแล้ว ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่จำเป็น กำหนดจำนวนเงินที่ต้องการจะเก็บแล้วรีบจัดการทันที

    อาจใช้เป็นการถอนเงินออกมาหยอดไว้ในกระปุก หรือนำไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากประจำ เพื่อป้องกันการเผลอนำเงินออกไปใช้ หากสามารถทำแบบนี้ได้ทุกเดือน รับรองว่าวินัยในการออมเงินของคุณจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก

สรุป

การวางแผนการเงินเพื่ออนาคตนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เพราะไม่มีใครรู้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง แต่สิ่งที่ใช้แก้ปัญหาส่วนใหญ่ได้ก็คือเงิน

แม้ว่าการออมเงินจะทำได้ยาก และต้องมีวินัยในตัวเองค่อนข้างสูง แต่ถ้าหากคุณกลั้นใจบังคับตัวเองไปสักระยะหนึ่ง คุณจะพบว่าสิ่งที่คุณทำไปนั้นคุ้มค่าอย่างแน่นอน

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น