เอาเช็คไปขึ้นเงินอย่างไร ให้ได้เงินเร็วที่สุด

เอาเช็คไปขึ้นเงินอย่างไร ให้ได้เงินเร็วที่สุด
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

ในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ทำธุรกรรมต่างๆ กับธนาคารผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้หลายคนไม่คุ้นเคยกับการใช้เช็คเงินสด (Cheque) ไม่รู้ว่าเมื่อได้เช็คเงินสดมาแล้วจะต้องเอาไปขึ้นเงินอย่างไร​ หรือไม่รู้วิธีตรวจสอบเช็คเงินสดที่ได้รับมาว่า เป็นของแท้ หรือของปลอมเพื่อให้คุณสามารถใช้เช็คเงินสดได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และไม่โดนโกง ในบทความนี้ เงินติดล้อจะพาไปทำความรู้จักกับวิธีเอาเช็คไปขึ้นเงินให้ได้เงินสดเร็วที่สุด พร้อมแนะนำวิธีตรวจสอบเช็คเงินสดของแท้ และของปลอม และตอบคำถามที่พบบ่อยอย่างเอาเช็คไปขึ้นเงินแล้วกี่วันถึงจะถอนได้ หรือต้องเอาเช็คไปขึ้นเงินภายในกี่วัน ใครที่กำลังต้องเอาเช็คเงินสดไปขึ้นเงินในเร็ว ๆ นี้ ห้ามพลาดบทความนี้เลย!

วิธีเอาเช็คไปขึ้นเงิน

เอาเช็คเงินสดไปขึ้นเงินได้ที่ไหน?

เพื่อให้คุณเข้าใจภาพรวมของการใช้เช็คเงินสดได้ง่ายขึ้น คุณควรที่จะรู้ก่อนว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับเช็คมีใครบ้าง โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับเช็คจะมีอยู่ 4 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

  • ผู้สั่งจ่ายเช็ค : ผู้ที่เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร และเซ็นสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระเงินแก่ผู้รับเงิน
  • ผู้รับเงิน : หรือที่เรียกว่า “ผู้ทรงเช็ค” เป็นผู้ที่ได้รับเช็คจากผู้สั่งจ่าย และนำเช็คที่ได้ไปฝากเรียกเก็บเงินที่ธนาคาร เพื่อเบิกเป็นเงินสด หรือนำเงินเข้าบัญชีธนาคารตนเอง
  • ธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บ (Sending Bank) : เป็นธนาคารที่ผู้รับเงินได้เปิดบัญชีไว้ โดยเมื่อผู้รับเงินนำเช็คไปฝากเรียกเก็บเงิน หากเป็นเช็คของธนาคารอื่น ทางธนาคารก็จะส่งข้อมูลและภาพเช็คไปเรียกเก็บเงินกับธนาคารผู้จ่าย และเมื่อทราบผลการเรียกเก็บเงินแล้ว ก็จะนำเงินเข้าบัญชีของผู้รับเงิน
  • ธนาคารผู้จ่าย (Paying Bank) : เป็นธนาคารที่ผู้สั่งจ่ายเช็คได้เปิดบัญชีไว้ มีหน้าที่ตรวจสอบลายเซ็นเช็ค เงื่อนไขการสั่งจ่ายที่ผู้สั่งจ่ายได้ทำข้อตกลงไว้ และหักเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายเช็ค เพื่อจ่ายเงินให้แก่ธนาคารของผู้รับเงิน หรือธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บนั่นเอง

จากข้อมูลผู้ที่เกี่ยวข้องกับเช็คจึงสรุปวิธีการใช้เช็คได้ว่า ผู้สั่งจ่ายจะมอบเช็คให้กับผู้รับเงิน หลังจากนั้นผู้รับเงินจะเอาเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร โดยจะเป็นธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บ ซึ่งเป็นธนาคารที่ผู้รับเงินได้เปิดบัญชีไว้ หรือธนาคารอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องก็ได้ หลังจากนั้นธนาคารจะแจ้งเรื่องไปที่ธนาคารผู้จ่ายเพื่อให้ตรวจสอบ และหักเงินจากบัญชีผู้สั่งจ่ายเช็คมาให้แก่ธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บ และโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับเงินนั่นเอง

ดังนั้นคำถามที่ว่าเอาเช็คไปขึ้นเงินได้ที่ไหน คำตอบก็คือ สามารถเอาเช็คไปขึ้นเงินได้ทุกธนาคาร อย่างไรก็ตาม เราแนะนำให้เอาเช็คไปขึ้นเงินกับธนาคารที่เปิดบัญชีไว้ เพื่อที่จะได้เสียค่าธรรมเนียมน้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม เช็กมีหลายประเภท บางประเภทจะมีข้อกำหนดอยู่ เช่น 

  • เช็คเงินสดที่จะต้องไปขึ้นเงินที่ธนาคารเดียวกับบัญชีธนาคารผู้สั่งจ่ายเช็คเท่านั้น แต่จะมีข้อดีตรงที่ได้รับเงินสดทันที 
  • เช็คระบุตามคำสั่งที่จะต้องนำฝากเช็คเข้าบัญชีผู้รับเงินที่ระบุไว้ในเช็คเท่านั้น เป็นต้น
  • การเซ็นเช็คแบบ A/C Payee Only ผู้รับเงินจะต้องเป็นคนที่ระบุตามหน้าเช็คและรับเป็นเงินโอนเข้าบัญชีได้อย่างเดียวเท่านั้น และไม่สามารถโอนสิทธิ์ให้คนอื่นได้

เอาเช็คไปขึ้นเงินต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ผู้ที่ต้องการเอาเช็คไปขึ้นเงิน จะต้องเตรียมสมุดบัญชี บัตรประชาชน และค่าธรรมเนียม (ถ้ามี) ให้เรียบร้อย

วิธีเอาเช็คไปขึ้นเงิน มีขั้นตอนอย่างไร?

หลังจากที่เราได้รับเช็คมาแล้ว ให้ตรวจสอบประเภทของเช็คก่อน หากเป็นเช็คเงินสดจะต้องนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารเดียวกับบัญชีธนาคารผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ส่วนเช็คทั่วไปที่ต้องให้ธนาคารโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของตัวเอง สามารถเอาเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารไหนก็ได้ โดยในระหว่างที่เอาเช็คไปขึ้นเงิน จะต้องดูแลรักษาเช็คให้ดี ห้ามไม่ให้มีรอยพิมพ์ เขียน ขูด ลบ หรือประทับตราบริเวณแถบว่างส่วนล่างสุดของเช็ค และห้ามเจาะ พับเช็ค หรือทำให้เช็คเปียกโดยเด็ดขาด

สำหรับขั้นตอนการเอาเช็คไปขึ้นเงิน มีดังนี้

  • นำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร โดยแต่ละธนาคารจะมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ การเอาเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารที่เปิดบัญชีไว้ จะเสียค่าธรรมเนียมน้อยที่สุด
  • เขียนใบนำฝากเช็คให้เรียบร้อย แล้วนำไปยื่นให้เจ้าหน้าที่ของทางธนาคารสาขา
  • ทำการชำระค่าธรรมเนียม ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะตัดจากการโอนเงินเข้าบัญชี หรือจ่ายสดในที่ตอนที่ขึ้นเช็ค (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร)
  • ทางธนาคารจะส่งข้อมูลไปที่ธนาคารผู้จ่ายเพื่อให้ตรวจสอบเช็ค แล้วทำการหักเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายเช็ค เพื่อนำมาจ่ายให้แก่ธนาคารของผู้รับเงิน
  • หลังจากนั้นธนาคารของผู้รับเงินจะโอนเงินเข้าบัญชีของผู้รับเงิน

เคล็ดลับเอาเช็คไปขึ้นเงินให้ได้เงินไวที่สุด

การเอาเช็คไปขึ้นเงินให้ได้เงินไวที่สุดนั้นหลายท่านอาจสงสัยว่าต้องเอาเช็คขึ้นเงินภายในกี่วัน แนะนำให้นำไปเช็คไปขึ้นเงินก่อนเวลา 14.00 น. เพื่อที่จะได้ไม่ถูกตัดรอบในวันใหม่ และถ้าหากเช็คไม่มีปัญหาอะไร ยอดเงินก็จะถูกโอนเข้าบัญชีปลายทางภายในเวลา 13.00 น. ทั้งนี้จะต้องเป็นระยะเวลาทำการเท่านั้น หากติดวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดธนาคาร หรือวันอาทิตย์ ก็อาจจำเป็นต้องเลื่อนไปอีก

เอาเช็คไปขึ้นเงินให้ได้เงินไวที่สุด ทำอย่างไร? เงินติดล้อสรุปให้!

เราสามารถเอาเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารไหนก็ได้ (ในกรณีที่ไม่ใช่เช็คระบุให้ทำตามคำสั่ง) แต่แนะนำให้ใช้บริการธนาคารที่เราเปิดบัญชีไว้ เพราะจะมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า และควรเอาเช็คไปขึ้นเงินก่อนเวลา 14.00 น. ในวันจันทร์ - วันพฤหัสบดี โดยเงินจะถูกโอนเข้าบัญชีภายในเวลา 13.00 น. ของวันถัดไป ในส่วนของเช็คเงินสดจะต้องเอาไปขึ้นเงินที่ธนาคารเดียวกับบัญชีของผู้สั่งจ่ายเช็ค (สาขาไหนก็ได้) เท่านั้น

 

เราสามารถเอาเช็คไปขึ้นเงินออนไลน์ได้ไหม?

ในปัจจุบันยังไม่มีบริการเอาเช็คไปขึ้นเงินออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Internet Banking, Mobile Banking หรือ Online Banking อื่น ๆ ได้ เพราะจะต้องมีการตรวจสอบเช็คก่อน อย่างไรก็ตาม หากไปไม่ทันในช่วงระยะเวลาที่ธนาคารเปิดทำการ สามารถทำรายการผ่านเครื่องรับฝากเช็คเข้าบัญชีอัตโนมัติ โดยใช้บัตรเดบิต หรือบัตรเอทีเอ็มได้

ทั้งนี้ในกรณีที่เช็คมีการแก้ไขข้อความ จะต้องทำรายการผ่านเครื่องรับฝากเช็คเข้าบัญชีอัตโนมัติของธนาคารผู้สั่งจ่ายเช็คเท่านั้น แต่ถ้าไม่สะดวก จะต้องติดต่อผู้สั่งจ่ายเพื่อออกเช็คใหม่

หลังจากเอาเช็คไปขึ้นเงินแล้ว กี่วันถึงจะถอนได้?

เอาเช็คไปขึ้นเงินแล้ว กี่วันถึงจะถอนได้

หากเอาเช็คไปขึ้นเงินก่อน 14.00 น.​ โดยส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเช็คไม่มีปัญหาอะไร ผู้รับเงินจะสามารถถอนเงินได้ภายในเวลา 13.00 น. ของวันถัดไป ยกเว้นติดวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดธนาคาร หรือวันอาทิตย์ ซึ่งจะถูกเลื่อนออกไปในวันทำการถัดไป เช่น เอาเช็คไปขึ้นเงินวันเสาร์ จะสามารถถอนเงินได้ในวันจันทร์ เป็นต้น

เช็คเด้งคืออะไร?

เช็คเด้ง คือ เช็คที่ไม่สามารถขึ้นเงินสดได้ เกิดจากเงินในบัญชีกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายเช็คไม่พอกับเงินที่ระบุไว้ในเช็ค เมื่อเจอเช็คเด้ง ผู้รับเงินจะต้องติดต่อไปที่ผู้สั่งจ่ายเช็ค เพื่อให้ผู้สั่งจ่ายเช็คตรวจสอบเงินในบัญชี และฝากเงินให้พอกับจำนวนเงินที่เขียนในเช็ค และจะต้องเสียค่าปรับเช็คคืนให้กับธนาคารผู้จ่ายด้วย

วิธีตรวจสอบเช็คของแท้ ของปลอม

เราสามารถตรวจสอบเช็คของแท้ ของปลอม ในเบื้องต้นได้ โดยการดูข้อมูลบนเช็คดังนี้

  • มีข้อความบอกว่าเป็นเช็ค
  • มีคำสั่งปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
  • มีชื่อ หรือยี่ห้อ และสำนักของธนาคาร
  • มีชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
  • มีสถานที่ใช้เงิน ในกรณีที่เป็นดราฟต์ หรือเช็คของขวัญ
  • มีจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรที่ตรงกัน
  • มีวันและสถานที่ออกเช็ค
  • มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็ค

การใช้เช็คเงินสดอันตรายไหม?

การใช้เช็คเงินสดมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เพราะต้องทำธุรกรรมผ่านตัวกลางอย่างธนาคาร สามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังได้ จึงสามารถป้องกันการทุจริต และมีความปลอดภัยมากกว่าการถือเงินสด

การใช้เช็คเงินสดอันตรายไหม

อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับเช็คมา จะต้องตรวจสอบข้อมูลเช็คให้ครบถ้วน ต้องมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายบนหน้าเช็ค จำนวนเงินตัวหนังสือและตัวเลขต้องตรงกัน นอกจากนี้จะต้องใช้เช็คก่อนหมดอายุด้วย โดยเช็คจะมีอายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่สั่งจ่ายบนหน้าเช็ค

 

สรุปเรื่องการเอาเช็คไปขึ้นเงิน

เป็นอย่างไรกันบ้างกับวิธีเอาเช็คไปขึ้นเงินให้ได้เงินไวที่สุดที่เงินติดล้อเอามาฝากในบทความนี้ หวังว่าจะช่วยให้คุณเข้าใจภาพรวมของการใช้เช็ค และสามารถเอาเช็คไปขึ้นเงินได้อย่างถูกต้อง ได้รับเงินอย่างราบรื่นที่สุด และสำหรับท่านใดที่กำลังมองหาตัวช่วยดี ๆ ที่จะช่วยให้การเงินคล่องตัว สามารถมาทำสินเชื่อรถยนต์พร้อมบัตรติดล้อจากเงินติดล้อได้เลย สินเชื่อที่ช่วยให้คุณสามารถกดเงินมาใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้ตลอดเวลา แค่ 500 บาทก็กดได้เลย! ขอสินเชื่อครั้งเดียวก็สามารถใช้ยาว ๆ ไม่ต้องขอสินเชื่อใหม่ทุกครั้ง ที่สำคัญดอกเบี้ยไม่แพง ใช่เท่าไหร่คิดดอกเบี้ยเท่านั้น รับรองว่าไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน!

ขอบคุณข้อมูลจาก: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.), Wongnai, ธนาคารกรุงศรี

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น