เรื่องของการทำสัญญาขอสินเชื่อหรือสัญญากู้เงินต่างๆ ทางเจ้าหนี้หรือผู้ให้กู้มักต้องการ คนค้ำประกัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าถ้าหากลูกหนี้ผิดนัดชำระค่างวดเกินระยะเวลาที่กำหนด จะมีคนที่ต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้แทน
บทความนี้มารู้สิทธิ์ของคนค้ำประกัน ก่อนไปเซ็นสัญญาค้ำประกันให้กับคนอื่นจะต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง และมีสิทธิ์อะไรบ้างที่คนค้ำทำได้ ก่อนจดปากกาเซ็นลงในสัญญา
ทำไมต้องมีการค้ำประกันรถยนต์?
คุณอาจเคยได้ยินคำว่า ค้ำประกันรถยนต์ มาแล้วบ้าง แต่ไม่รู้ว่าการค้ำประกันนั้นมีรายละเอียดอะไรที่ต้องรู้บ้าง
สำหรับการค้ำประกันรถยนต์ เกิดขึ้นเมื่อมีการทำสัญญาการกู้เงินจากการเอารถไปเข้าไฟแนนซ์ โดยเจ้าของรถที่เอารถไปขอสินเชื่อกับบริษัทจะเรียกว่า ลูกหนี้ ส่วนผู้ให้สินเชื่อจะเรียกว่า เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทีนี้การทำสัญญาขอสินเชื่อในบางที่อาจจะต้องการ คนค้ำประกัน เพื่อให้เป็นหลักประกันว่าจะมีผู้ที่รับผิดชอบหนี้แทน ถ้าหากว่าลูกหนี้ทำผิดสัญญาไม่ยอมจ่ายหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนด คนค้ำประกันกลายเป็น ลูกหนี้ชั้นที่สอง แต่อาจจะไม่ต้องรับภาระทั้งหมดซึ่งแล้วแต่ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินที่ทำร่วมกัน
คนค้ำประกันเป็นใครได้บ้าง?
สำหรับคนที่สามารถค้ำประกันจะเป็นใครก็ได้โดยต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
- โดยอาจเป็น เพื่อน คนในครอบครัว ญาติ คนรู้จัก
- มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่มั่นคง
- มีที่อยู่อาศัยที่สามารถติดต่อได้แน่นอน
- ไม่มีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี
อ่านสัญญาให้ดีก่อนเซ็นค้ำประกัน
ส่วนนี้สำคัญมากหากคุณต้องค้ำประกัน ในสัญญาของการกู้เงินมีรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่เจ้าหนี้จะเป็นคนเขียนขึ้น หากต้องการค้ำประกันหนี้ส่วนหนึ่งก็สามารถทำได้ เพียงแค่เขียนกำกับให้ชัดเจน
อีกส่วนหนึ่งที่ต้องพิจารณา คือ ความประสงค์ในการรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในฐานะลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้จนเกินกำหนด และทางเจ้าหนี้ทำการฟ้องร้องจะทำให้คนค้ำถูกฟ้องร่วมไปด้วย ดังนั้นไม่ถ้าอยากรับผิดชอบในส่วนนี้ก็ต้องดูให้ดีว่าในสัญญาได้ระบุข้อนี้ไว้หรือไม่
สิทธิ์ของคนค้ำประกันที่ควรรู้
คนค้ำประกันจะเริ่มรับผิดชอบตามสัญญา เมื่อลูกหนี้ผิดนัดจ่ายค่างวดล่วงเลยระยะเวลาที่กำหนด หรือจนกว่าเจ้าหนี้จะเรียกเก็บจากลูกหนี้จนสุดความสามารถแล้ว
แต่เจ้าหนี้จะไม่สามารถไปเรียกเก็บหนี้จากทางคนค้ำได้ทันที ซึ่งทางเจ้าหนี้ต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าให้กับทางคนค้ำก่อนเป็นเวลา 60 วัน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับปรับปรุงใหม่ 2558 ได้ให้สิทธิ์กับทางคนค้ำประกันมากขึ้น โดยสามารถ
-
การจำกัดวงเงินหนี้
คนค้ำประกันสามารถกำกัดวงเงินสูงสุดที่ต้องจ่าย และระยะเวลาในการค้ำประกันได้ด้วยการตกลงกันคนที่เป็นลูกหนี้ ว่าต้องการชำระสูงสุดเท่าไหร่ แล้วให้ทำการเซ็นสัญญากับลูกหนี้ให้เป็นลายลักษณ์อักษร
-
ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
สำหรับการกู้เงินแต่ละประเภทจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องจ่ายอยู่ในแต่ละงวด ซึ่งในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระเงินค่างวดแล้วทางเจ้าหนี้มาเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากคนค้ำประกัน ทางคนค้ำประกันสามารถจ่ายเพียงส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ ตามส่วนที่ทำสัญญาไว้ได้
โดยหลังจากที่ชำระหนี้ส่วนที่รับผิดชอบให้กับเจ้าหนี้แล้ว คนค้ำประกันสามารถฟ้องเอาส่วนที่จ่ายไปคืนกลับมาจากคนที่เป็นลูกหนี้ได้ตามจำนวน พร้อมกับเรียกเก็บดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายส่วนอื่นๆ ได้
-
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากการค้ำประกันได้
คนค้ำมีสิทธิ์ในการหลุดพ้นจากการค้ำประกันได้ 2 กรณีคือ
- เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด แต่ทางลูกหนี้และเจ้าหนี้สามารถตกลงเลื่อนระยะเวลาการจ่ายออกไปได้ จะทำให้คนค้ำไม่ต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้
- เมื่อลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายหรือหนีหนี้ไปแล้ว ทางคนค้ำประกันขอชำระหนี้แทนลูกหนี้ แต่ทางเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ จะถือว่าผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากการค้ำประกันในสัญญา
คิดให้ดีก่อนตัดสินใจค้ำประกัน
ก่อนเซ็นสัญญาค้ำประกันอะไรก็ตาม ควรอ่านสัญญาให้ดีก่อน เพราะสิ่งนี้จะเป็นหลักฐานที่อาจย้อนกลับมาทำให้คนที่ค้ำประกันถูกฟ้องร้องค่าเสียหายแทนได้ ในกรณีที่ลูกหนี้ทิ้งความรับผิดชอบไป แม้ว่าจะสนิทกับคนที่เป็นลูกหนี้แค่ไหนก็ควรระวังตัวเองเอาไว้ให้ดีที่สุด
สำหรับการขอสินเชื่อทะเบียนรถกับเงินติดล้อ คุณไม่ต้องกังวลเรื่องการค้ำประกัน เพราะสามารถขอสินเชื่อแบบไม่ต้องมีคนค้ำได้ (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนด)
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอสินเชื่อรถยนต์ รถจักรยานยนต์แบบไม่มีคนค้ำกับเงินติดล้อ ติดต่อขอสินเชื่อกับเงินติดล้อสาขาใกล้คุณ หรือกรอกข้อมูลได้ที่กล่องด้านล่าง