หน้าแรก ตอบทุกคำถาม เกี่ยวกับเครดิตบูโร ความเข้าใจเกี่ยวกับเครดิตบูโร

ตอบทุกคำถาม

เกี่ยวกับเครดิตบูโร

ความเข้าใจเกี่ยวกับเครดิตบูโร

ตอบ :
เครดิตบูโร (Credit Bureau) หรือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (“NCB”) เป็นบริษัทกลางที่ทำหน้าที่จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลของคนเป็นหนี้ เปรียบเสมือน “สมุดพกของคนเป็นหนี้” ที่จะรวบรวมข้อมูลและประวัติการผ่อนชำระสินเชื่อทุกประเภท เช่น ข้อมูลการมีสินเชื่อกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ รวมไปถึงการผ่อนชำระสินเชื่อ

ตอบ :

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าที่ขอสินเชื่อ ดังนี้

  1. ข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ถึงตัวลูกค้าและคุณสมบัติของลูกค้าที่ขอสินเชื่อ เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรส อาชีพ เลขที่บัตรประชาชน และกรณีที่เป็นนิติบุคคล จะเป็น ชื่อ สถานที่ตั้ง เลขที่ทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น 
  2. ประวัติข้อมูลเครดิต ได้แก่ ประวัติการขอและการได้รับอนุมัติสินเชื่อ และ การชำระสินเชื่อของลูกค้าที่ขอสินเชื่อ รวมทั้งประวัติการชำระราคาสินค้าหรือบริการโดยบัตรเครดิต และสถานะบัญชี

ตอบ :
รายงานข้อมูลเครดิต (Credit Report) คือ รายงานที่บริษัทข้อมูลเครดิตจัดทำขึ้นและให้สิทธิสถาบันการเงินที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเรียกดู หรือเจ้าของข้อมูลเรียกดูได้ โดยรายงานข้อมูลเครดิตจะแสดงข้อมูลสินเชื่อ ประวัติการชำระสินเชื่อ สถานะทุกบัญชีที่เจ้าของข้อมูลมีอยู่กับสถาบันการเงินทุกแห่งที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือสมาชิกเครดิตบูโร

ตอบ :
ข้อมูลเครดิตจะแสดงถึงประวัติการชำระหนี้ที่สะท้อนถึงพฤติกรรมและวินัยทางการเงินของเจ้าของข้อมูล แสดงถึงความตั้งใจในการชำระหนี้และความน่าเชื่อถือหรือที่เราเรียกกันว่า “เครดิต” ที่มีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจ สถาบันการเงินจึงใช้ประโยชน์จากรายงานข้อมูลเครดิตเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เช่น ความสามารถในการหารายได้ ความเป็นไปได้ของธุรกิจ หลักประกัน เป็นต้น ดังนั้น ย่อมกล่าวได้ว่าผู้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีมีโอกาสได้รับสินเชื่อในอัตราที่เหมาะสม

ตอบ :

เครดิตบูโรจะจัดเก็บข้อมูลเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 

  1. ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรส อาชีพ เลขที่บัตรประชาชน และในกรณีนิติบุคคลจะเป็นชื่อ ที่ตั้ง เลขทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น 
  2. ข้อมูลสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระสินเชื่อ เช่น ประวัติการกู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ ผ่อนบัตรเครดิตอยู่กี่ใบ มีสินเชื่อทั้งหมดกี่บัญชี และสถานะของแต่ละบัญชีว่าเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงประวัติการผ่อนชำระ ไม่ว่าจะจ่ายตรง จ่ายช้า ค้างนานขนาดไหน

ตอบ :
ข้อมูลบัญชีเงินฝากหรือข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัวจะไม่ได้ถูกรวบรวมอยู่ในรายงานข้อมูลเครดิต เนื่องจากสถาบันการเงินจะรายงานเฉพาะข้อมูลสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติและประวัติการชำระหนี้เท่านั้น

ตอบ :
รายงานข้อมูลเครดิตจะรายงานเฉพาะข้อมูลสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติ และประวัติการชำระหนี้เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีประวัติการชำระค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์มือถือรวมอยู่ในรายงานข้อมูลเครดิต

ตอบ :
ข้อมูลต่าง ๆ ที่เครดิตบูโร จัดเก็บ ได้มาจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือสมาชิกเครดิตบูโร ซึ่งมีหน้าที่รายงานและนำส่งข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าแต่ละรายให้แก่เครดิตบูโรเป็นประจำทุกเดือน ไปจนกว่าสินเชื่อนั้นจะได้รับการชำระเสร็จสิ้น

ตอบ :
ไม่ทุกที่ ซึ่งสถาบันการเงินส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือสมาชิกเครดิตบูโร เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ บริษัทลีสซิ่งเช่าซื้อ บริษัทผู้ออกบัตรเครดิตที่เรียกกันว่า Non bank เป็นต้น โดยทางเงินติดล้อก็เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิตด้วยเช่นกัน

ตอบ :
หากไม่เคยกู้เงินที่ไหนมาก่อนเลย และไม่เคยใช้บัตรเครดิตด้วย จะไม่มีข้อมูลเครดิต จัดเก็บที่เครดิตบูโร

ตอบ :
สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกจะสรุปข้อมูล ณ สิ้นเดือน และ นำส่งรายงานประวัติการชำระของเราเข้ามาที่เครดิตบูโร ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป โดยข้อมูลจะได้รับการอัพเดทและตรวจเช็กสถานะล่าสุดได้ในเดือนถัดไป เช่น ข้อมูลการชำระปิดบัญชีของเดือน สิงหาคม 2565 จะสามารถตรวจสอบเครดิตบูโรได้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2565

ตอบ :
นอกจากเจ้าของข้อมูลแล้ว สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือสมาชิกเครดิตบูโร เป็นผู้เรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ขอสินเชื่อ ทั้งนี้ในการสมัครขอสินเชื่อสถาบันการเงินจะให้เราทำหนังสือให้ความยินยอมให้บริษัทข้อมูลเครดิตเปิดเผยข้อมูล เพื่อประกอบการพิจารณาการให้สินเชื่อตามที่ได้ให้ความยินยอมไว้

ตอบ :
สถานะบัญชีคือ ข้อมูลที่แสดงสถานะของบัญชีสินเชื่อแต่ละบัญชีที่แสดงในรายงานข้อมูลเครดิต เช่น สินเชื่อปกติ สินเชื่อที่ปิดบัญชีแล้ว สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน สินเชื่อที่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย เป็นต้น

ตอบ :

ตัวเลขดังกล่าวคือรหัสสถานะบัญชี โดยมีคำอธิบายดังนี้
เลข 10 หรือ 010 หมายถึง บัญชีสถานะปกติ คือ มีการผ่อนชำระหนี้ตรงเวลา จ่ายครบ ไม่เคยค้าง ไม่เคยผิดนัดชำระเกิน 90 วัน 
เลข 11 หรือ 011 หมายถึง สถานะปิดบัญชี คือ มีการชำระหนี้ครบตามจำนวน และปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว หรือ อาจจะเคยมีการค้างชำระในอดีตบ้างเป็นบางงวด หรือ ค้างชำระเป็นเวลานาน แต่ภายหลังกลับมาชำระหนี้ทั้งหมด และปิดบัญชีเรียบร้อย
เลข 12 หรือ 012 หมายถึง มีการขอพักชำระหนี้ตามนโยบายของสมาชิก จึงทำให้สถานะไม่เป็นการค้างชำระ
เลข 13 หรือ 013 หมายถึง มีการขอพักชำระหนี้ตามนโยบายของรัฐ จึงทำให้สถานะไม่เป็นการค้างชำระ
เลข 14 หรือ 014 หมายถึง มีการขอพักชำระหนี้เกษตรกรตามนโยบายของรัฐ จึงทำให้สถานะไม่เป็นการค้างชำระ

นอกจากนี้ยังมีตัวเลขสถานะอื่นๆ ที่อาจจะส่งผลลบต่อตัวเจ้าของบัญชี อาทิ
เลข 20 หรือ 020 หมายถึง มีการค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน เข้าข่ายเป็นหนี้เสีย (NPL)
เลข 21 หรือ 021 หมายถึง มีการค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน เนื่องจากลูกหนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ไม่ปกติ 
เลข 30 หรือ 030 หมายถึง อยู่ในกระบวนการทางกฏหมาย
เลข 31 หรือ 031 หมายถึง อยู่ในระหว่างชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
เลข 32 หรือ 032 หมายถึง ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากขาดอายุความ
เลข 33 หรือ 033 หมายถึง ปิดบัญชี เนื่องจากตัดเป็นหนี้สูญ
เลข 40 หรือ 040 หมายถึง อยู่ระหว่างชำระสินเชื่อ เพื่อปิดบัญชี
เลข 41 หรือ 041 หมายถึง เจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบรายการ
เลข 42 หรือ 042 หมายถึง โอนหรือขายหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน
เลข 43 หรือ 043 หมายถึง โอนหรือขายหนี้และชำระหนี้เสร็จสิ้น
เลข 44 หรือ 044 หมายถึง โอนหรือขายหนี้ที่เป็นสถานะบัญชีปกติ

ตอบ :
เครื่องหมายหรือตัวเลขที่เป็นผลรวมความน่าเชื่อถือจากการประเมินทางสถิติของลูกค้าว่ามีโอกาสที่จะไม่ผิดชำระหนี้ที่ก่อไว้ จากประวัติการก่อหนี้และการชำระหนี้ในอดีต โดยช่วงคะแนนของเครดิตสกอริ่งนิยมใช้จะอยู่ที่ 300-900 คะแนน คะแนนยิ่งสูง (AA) ยิ่งหมายถึงมีโอกาสได้รับชำระหนี้คืนมาก ในทางตรงกันข้ามหากคะแนนยิ่งน้อย (HH) หมายความว่าบุคคลนั้นมีโอกาสที่จะค้างชำระหนี้สูง

ตอบ :
ปัจจัยที่มีผลต่อเครดิตสกอริ่งของบุคคลธรรมดา ประกอบไปด้วย ยอดหนี้คงเหลือ/ ยอดวงเงินที่ใช้เปรียบเทียบกับวงเงินสินเชื่อ ยอดหนี้รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ จำนวนบัญชีที่เพิ่งเปิดแต่ละประเภทสินเชื่อ จำนวนเงินคงค้างล่าสุด ความยาวของประวัติสินเชื่อตามแต่ละประเภทสินเชื่อ จำนวนบัญชีที่มีประวัติการชำระเงินที่ดี ความยาวของบัญชีสินเชื่อที่มี และความถี่ในการสมัครสินเชื่อใหม่

ตอบ :
เครดิตบูโรจัดเก็บข้อมูลไม่เกิน 3 ปี เช่น ถ้าเจ้าของข้อมูลมีบัตรเครดิตที่ค้างชำระในเดือนสิงหาคมและต่อมาได้จ่ายหนี้และปิดบัญชีในเดือนกันยายน ข้อมูลเครดิตของเดือนกันยายนจะแสดงยอดหนี้เป็น 0 มีสถานะบัญชีเป็น “ปิดบัญชี” และแสดงข้อมูลอยู่ในเครดิตบูโรอีกไม่เกิน 3 ปีนับจากวันที่ได้รับรายงานข้อมูลการปิดบัญชีจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก หลังจากนั้น เมื่อครบกำหนด 3 ปี บัญชีบัตรเครดิตดังกล่าวก็จะถูกลบออกไปจากฐานข้อมูลเครดิตบูโร โดยอัตโนมัติ เครดิตบูโรไม่สามารถลบข้อมูลบัญชีได้ในทันทีที่ได้ ชำระหนี้เสร็จสิ้นตามที่เข้าใจ ในขณะเดียวกันหากเจ้าของบัญชีผิดชำระหนี้และมีสถานะบัญชีเป็น “ค้างชำระ” เกินกว่า 90 วัน และไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการจ่ายค่างวดเข้ามา สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลต่อเนื่องอีกเป็นเวลา 5 ปี และหลังจากนั้นเครดิตบูโรจะจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวต่อเนื่องไปอีก 3 ปี

ตอบ :

สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สามารถยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตและรอรับได้เลยภายใน 15 นาที

  1. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า
  2. เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก 
  3. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี)
  4. Bureau Lab (บูโรแล็บ) ท่าเรือวังหลัง 
  5. Bureau Lab (บูโรแล็บ) สถานีรถไฟฟ้า BTS ชิดลม (ภายในสถานี) 
  6. Bureau Lab (บูโรแล็บ) สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต (ภายในสถานี) 
  7. ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร)

สำหรับผู้ที่อาศัยต่างจังหวัด สามารถยื่นขอตรวจข้อมูลเครดิตได้เช่นกัน โดยจะได้รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ 

  1. เคาน์เตอร์ธนาคาร (ทุกสาขา) กรุงศรี, กรุงไทย, ธอส., แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และ ธ.ก.ส. 
  2. ตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงไทยและธนาคารไทยพาณิชย์ 
  3. ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์

หรือสามารถทำรายการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่

  1. โมบายแอปพลิเคชั่น ของธนาคารเกียรตินาคิน (ได้รับรายงานทันที) ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน (ได้รับรายงานภายใน 24 ชั่วโมง) และธนาคารทหารไทยธนชาต (ได้รับรายงานภายใน 3 วันทำการ) โดยจะได้รับรายงานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  2. ธนาคารออนไลน์บนเว็บไซต์ของธนาคารกรุงศรีและธนาคารกรุงไทย (ได้รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน 7 วันทำการ)

ตอบ :
หากต้องการขอรายงานข้อมูลเครดิต เจ้าของข้อมูลสามารถใช้เพียงบัตรประชาชนยื่นขอ ณ ที่ทำการ หรือขอผ่านทางโมบายแอปพลิเคชั่นของธนาคารได้เลย

ตอบ :
NPL หรือ Non-Performing Loan คือ เงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระเงินต้นเกิน 90 วัน หรือที่เรียกกันว่า “หนี้เสีย” โดย NPL เกิดจากเงินให้สินเชื่อ หรือเงินที่ธนาคารให้กู้ ที่ค้างชำระเงินต้นจนลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินได้ หรือเรียกง่ายๆ ว่า “จ่ายหนี้ไม่ไหว” และมีผลต่อการตัดสินใจปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงิน