หน้าแรก ตอบทุกคำถาม เกี่ยวกับเครดิตบูโร ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลเครดิต

ตอบทุกคำถาม

เกี่ยวกับเครดิตบูโร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลเครดิต

ตอบ :
บางครั้งคนที่เคยค้างชำระ อาจจะมีความสงสัยว่าเครดิตตัวเองเสียแล้วหรือเปล่า ในความเป็นจริง เครดิตบูโรไม่ได้เป็นคนตัดสินว่าใครเครดิตดีหรือเครดิตเสีย แต่สถานะ “ค้างชำระ” (20) ในรายงานข้อมูลเครดิต หมายความว่าเรามียอดหนี้คงค้างอยู่ในระบบ **ค้างชำระเกิน 90 วัน ซึ่งสถานะนี้สามารถบ่งชี้ถึงความสามารถและความตั้งใจในการชำระหนี้ได้ และอาจมีผลในเชิงลบต่อการพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เราไปขอกู้ด้วย

ตอบ :
Blacklist คือ บัญชีดำ ซึ่ง ในความเป็นจริงเครดิตบูโร ไม่ได้มีหน้าที่ติด Blacklist ใคร เครดิตบูโรเพียงแค่เก็บบันทึกประวัติการขอสินเชื่อและการผ่อนชำระหนี้จากการรายงานของสมาชิกเท่านั้น ดังนั้น “Blacklist ไม่มีจริง” ในรายงานข้อมูลเครดิต

ตอบ :
โดยปกติแล้วสถาบันการเงินจะมีหลักเกณฑ์พิจารณาหลายอย่างนอกเหนือจากข้อมูลเครดิต เช่น หน้าที่การงาน รายได้ที่แน่นอน หรือพิจารณาตามนโยบาย และหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของแต่ละสถาบันเอง แล้วจึงมาดูประวัติการชำระหนี้ประกอบการพิจารณา ซึ่งบางสถาบันจะดูจากประวัติการผ่อนชำระย้อนหลัง 6 เดือน, 9 เดือน, 12 เดือน หรือ 18 เดือน ว่าเรามีวินัย และความสามารถในการผ่อนชำระตรงต่อเวลามากน้อยขนาดไหน ซึ่งระยะเวลาการดูข้อมูลย้อนหลังก็ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ของแต่ละที่ และดูภาระหนี้รวมที่มีอยู่ทั้งหมดด้วย แต่หากเรามีรายได้น้อย รายได้ไม่แน่นอน หรือมีเครดิตที่ไม่ดี มีประวัติการค้างชำระหลายที่ และค้างเป็นเวลานานเกิน 3 งวด ก็มีสิทธิ์ที่จะถูกปฏิเสธสินเชื่อเช่นกัน

ตอบ :
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 บัญญัติให้สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องนำส่งข้อมูลของลูกค้าของตนแก่บริษัทข้อมูลเครดิตที่ตนเป็นสมาชิก โดยเมื่อได้นำส่งในครั้งแรกแล้วสถาบันการเงินนั้นต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นำส่งข้อมูล แต่ไม่ต้องขออนุญาตจากลูกค้า นอกจากนั้นสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกอาจต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบในกรณีอื่นๆ

ตอบ :
ถ้าสถาบันการเงินที่คุณได้รับการอนุมัติสินเชื่อเป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือสมาชิกเครดิตบูโร ข้อมูลของคุณก็จะถูกรายงานเข้ามาที่เครดิตบูโร เนื่องจากสมาชิกมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องนำส่งข้อมูลของลูกค้าของตนแก่บริษัทข้อมูลเครดิตที่ตนเป็นสมาชิก

ตอบ :
สถาบันการเงินจะนำรายการข้อมูลเครดิตมาเพื่อพิจารณาประวัติการขอสินเชื่อและพฤติกรรมการผ่อนชำระ โดยบางสถาบันอาจดูย้อนหลัง 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน หรือมากกว่านั้น เพื่อดูความตั้งใจในการผ่อนชำระ ประกอบกับข้อมูลบ่งชี้อื่นๆ เช่น สัดส่วนหนี้สินกับรายรับ เป็นต้น

ตอบ :
หากเราขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือสมาชิกเครดิตบูโร ข้อมูลการขอสินเชื่อหรือการประวัติการผ่อนชำระหนี้ก็จะไม่ถูกรายงานไปยังเครดิตบูโร ซึ่งจะทำให้เราพลาดโอกาสในการสร้างเครดิตของตัวเอง ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ หากจำเป็นจะต้องกู้แล้ว อยากให้เลือกสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือสมาชิกเครดิตบูโรมากกว่า เพราะประวัติการชำระหนี้ที่ดีจะทำให้เรามีเครดิตที่ดีต่อไปในอนาคตด้วย

ตอบ :
สถาบันการเงินส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือสมาชิกเครดิตบูโร มีหน้าที่ในการรายงานและนำส่งข้อมูลขอสินเชื่อและประวัติการชำระหนี้เป็นประจำทุกเดือนตามที่กฏหมายกำหนด ดังนั้นก่อนขออนุมัติ เราสามารถสอบถามหรือตรวจเช็กว่าสถาบันการเงินที่เราต้องการขอสินเชื่อเป็นสมาชิกหรือไม่

ตอบ :
จริงๆ เราควรจะชำระสินเชื่อทุกงวดให้ตรงตามกำหนดในสัญญา แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน พยายามหาทางผ่อนชำระหนี้ไม่ให้ค้างชำระนานเกิน 3 งวด หรือเกิดการติดสถานะ “ค้างชำระ” (20) **ค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน ในรายงานข้อมูลเครดิต เนื่องจากจะเข้าข่ายของการเป็นหนี้เสีย (NPL) ซึ่งเป็นสถานะที่เป็นผลลบต่อตัวเรา

ตอบ :
หากเป็นการค้างชำระไม่เกิน 90 วัน รายการชำระนั้นจะถือว่าเป็นสถานะปกติ และขึ้นตัวเลขกำกับสถานะดังกล่าวเป็น “สถานะปกติ” (10) แต่หากมีการปล่อยให้ค้างชำระไปเรื่อยๆ จนเกินกว่า 90 วัน หรือเกิน 3 งวด สถานะในรายงานจะเปลี่ยนเป็น “ค้างชำระ” (20) สถาบันการเงินจะมองว่าเราเริ่มขาดความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ และอาจส่งผลลบต่อโอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อในอนาคต

ตอบ :
หากมีการชำระหนี้เข้ามาภายใน 1-30 วันหลังครบกำหนดชำระ สถานะในรายงานข้อมูลเครดิตจะยังคงขึ้นเป็น “สถานะปกติ” (10) อยู่ ทั้งนี้เราอาจใช้วิธีตั้งแจ้งเตือนเพื่อจ่ายค่างวดให้ตรงเวลา เพื่อลดโอกาสการเกิดสถานะค้างชำระหนี้ในอนาคต

ตอบ :
กรณีที่ค้างชำระค่างวด 2 งวด ข้อมูลในรายงานของเครดิตบูโรจะยังขึ้นว่าเป็น “สถานะปกติ” (10) อยู่ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของประวัติการชำระหนี้ในรายละเอียดจะปรากฎข้อมูลที่บ่งชี้ว่าเรามีการผ่อนชำระหนี้คืนล่าช้ากว่ากำหนด หากเราค้างชำระค่างวดสองเดือนบ่อยๆ สถาบันการเงินอาจมองว่าเรามีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้น้อยก็เป็นไป

ตอบ :
หากมีการค้างชำระค่างวด 3 งวด หรือมากกว่า 90 วัน ข้อมูลในรายงานของเครดิตบูโรจะขึ้นว่าเป็น “ค้างชำระ” (20) และจะเข้าข่ายของการเป็นหนี้เสีย (NPL) ซึ่งเป็นสถานะที่เป็นผลลบต่อตัวเรา

ตอบ :
หากเราจ่ายค่างวดแบบเดือนเว้นเดือน ค่างวดที่เราผ่อนชำระเข้าไปจะไล่ตัดจากงวดเก่าที่สุดที่เราคงค้างไว้ ดังนั้นเมื่อเราจ่ายเดือนเว้นเดือนไปเป็นเวลา 6 งวด จะเท่ากับว่าเรามียอดหนี้คงค้างมากกว่า 3 งวดทันที ซึ่งสถานะในรายงานจะเปลี่ยนเป็น “ค้างชำระ” (20) และสถาบันการเงินจะมองว่าเราเริ่มขาดความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ และอาจส่งผลลบต่อโอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อในอนาคต

ตอบ :
มาตรการผ่อนปรนให้สามารถพักหรือเลื่อนชำระหนี้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด 19) ที่ไม่สามารถชำระค่างวดได้เต็มตามสัญญา ไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ และไม่ทำให้เสียประวัติการผ่อนชำระในฐานข้อมูลเครดิตบูโร นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่อนปรนประชาชนจะมีสภาพคล่องไว้สำหรับใช้จ่ายเพิ่มเติม

ตอบ :
ปัจจุบันนี้ประวัติการชำระค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์มือถือยังไม่ถูกนำส่งมาที่บริษัทข้อมูลเครดิต จึงไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ แต่ทางที่ดีควรจะไปชำระค่าสาธารณูปโภคและค่าโทรศัพท์ที่ค้างไว้

ตอบ :

หากข้อมูลที่ปรากฎในรายงานข้อมูลเครดิตไม่ถูกต้อง สามารถยื่นคำร้องได้ที่
สถาบันการเงินที่เราขอสินเชื่อ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องสถาบันการเงินจะแจ้งให้เครดิตบูโรแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องตามความเป็นจริงและแจ้งผลการตรวจสอบให้ทราบภายใน 30 วัน

หรือติดต่อศูนย์ตรวจเครดิตบูโรโดยตรง โดยกรอกแบบคำขอแก้ไขข้อมูลพร้อมยื่นสำเนาบัตรประชาชน สำเนา รายงาน เครดิตบูโร ที่ต้องการแก้ไข และหลักฐานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นเครดิตบูโรจะแจ้งสถาบันการเงินผู้ส่งข้อมูลให้ตรวจสอบความถูกต้องและแจ้งผลการตรวจสอบให้ทราบภายใน 30 วันเช่นกัน

แต่ถ้าสถาบันการเงินยืนยันว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว เราจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลตามที่ร้องขอได้ แต่เรามีสิทธิขอให้เครดิตบูโรบันทึกโต้แย้งไว้ในระบบข้อมูลเครดิตและสามารถยื่นอุทธรณ์ ข้อโต้แย้งต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครติตเพื่อพิจารณาได้

หรือสามารถ Download แบบคำขอได้ที่ https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/form_download และส่งเอกสารคำขอพร้อมหลักฐาน มาทางไปรษณีย์ ถึง บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด

ตอบ :
เมื่อเราจ่ายหนี้ที่ค้างหมดแล้ว ข้อมูลในรายงานของเครดิตบูโรจะยังไม่ได้รับการปรับสถานะบัญชีและยอดหนี้ในทันที แต่จะเปลี่ยนแปลงและแสดงผลในรายงานข้อมูลเครดิตในเดือนถัดไป เพราะระบบข้อมูลของเครดิตบูโรเป็นการรายงานข้อมูลแบบรายเดือน คือข้อมูลความเคลื่อนไหวของเดือนนี้ จะรายงานหรือแสดงผลในเดือนหน้า เช่น ข้อมูลที่จ่ายหนี้หมดเดือนตุลาคม สถาบันการเงินจะส่งหรือรายงานข้อมูลเดือนตุลาคมให้เครดิตบูโรในเดือนพฤศจิกายน เป็นยอดหนี้ ศูนย์บาท สถานะบัญชี ปิดบัญชี เป็นต้น ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงสถานะอย่างเร่งด่วน สามารถนำใบปิดบัญชีไปแจ้งที่เครดิตบูโรได้ ตรวจสอบที่ทำการได้ที่ https://www.ncb.co.th/contact

ตอบ :
การค้างชำระเกิน 90 วัน แสดงถึงว่าเคยค้างชำระในอดีต และปัจจุบันก็ยังค้างอยู่ ซึ่งเป็นสถานะที่เป็นผลลบต่อตัวเจ้าของบัญชีนี้ สถานะผิดชำระหนี้จะหายไปเมื่อเจ้าของบัญชีชำระหนี้ครบหมดแล้ว จากนั้นต้องรอให้ครบ 3 ปี ประวัติทางการเงินทั้งหมดจึงจะถูกลบ และกลับมาอยู่ใน “สถานะปกติ” (10)

ตอบ :
รายงานข้อมูลเครดิตเปรียบเสมือนรายงานผลการศึกษา คือจะรายงานตามผลจริงที่เกิดขึ้น และไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขประวัติเดิมได้ ดังนั้น หากเราเคยค้างชำระ ข้อมูลที่ถูกบันทึกในเดือนนั้นจะเป็น “ค้างชำระ” และถ้าเราจะชำระหนี้แล้ว จะมีข้อมูลใหม่ขึ้นมาว่า ชำระเรียบร้อยแล้วหรือปิดบัญชีแล้ว แต่ข้อมูลการค้างชำระเดิมจะไม่ได้ถูกลบออกไป จนกว่าจะครบตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 3 ปีหรือ 36 เดือน

ตอบ :
กรณีที่เราเป็นหนี้กับบริษัทสินเชื่อที่มีหลักประกัน เช่น สินเชื่อทะเบียนรถ แต่ไม่สามารถผ่อนชำระได้ บริษัทจึงจำเป็นต้องนำหลักทรัพย์ ในที่นี่คือ รถ ขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาจัดการหนี้สินที่ค้างอยู่ อย่างไรก็ตามหากหลักทรัพย์ขายได้ในจำนวนเงินที่น้อยกว่าหนี้คงค้าง เราจำเป็นจะต้องนำเงินมาชำระหนี้ส่วนต่างเพื่อปิดบัญชี มิฉะนั้นจะมีรายการหนี้คงค้าง และขึ้นสถานะค้างชำระต่อไป

ตอบ :
สถานะ 40 คือสถานะที่อยู่ระหว่างการชำระสินเชื่อ เพื่อปิดบัญชีหนี้คงค้างให้หมด ก่อนที่จะทำธุรกรรมทางการเงินด้านอื่น เพื่อให้กลับไปอยู่ที่ “สถานะปิดบัญชี” (11) เท่านั้น นอกจากนี้เครดิตบูโรเพียงแค่ทำหน้าที่เก็บบันทึกประวัติการขอสินเชื่อและการผ่อนชำระหนี้จากการรายงานของสมาชิกเท่านั้น ดังนั้น “แบล็กลิสต์ไม่มีจริง” ในรายงานข้อมูลเครดิต

ตอบ :
สถานะ 42 คือ การที่สถาบันการเงินต่าง ๆ โอนหรือขายหนี้ให้กับบริษัทอื่น แทนที่จะติดตามหนี้เอง

ตอบ :
ขึ้นอยู่กับว่าเราค้างชำระเป็นเวลากี่งวด หากเราค้างชำระไม่เกิน 90 วันหรือภายใน 3 งวด แล้วเราผ่อนชำระหนี้คืน 1-2 งวด สถานะที่ปรากฎในรายงานข้อมูลเครดิตจะกลับมาเป็น “สถานะปกติ” (10) แต่ถ้าหากเราค้างชำระนานเกินกว่า 90 วันหรือเกินกว่า 3 งวด และยอดชำระที่เราจ่ายคืนไม่เพียงพอในการตัดหนี้คงค้างให้ต่ำกว่า 3 งวด สถานะในรายงานข้อมูลเครดิตของเราจะยังคงเป็น “ค้างชำระ” (20) อยู่

ตอบ :
หากเคยค้างชำระหนี้ในอดีต และปัจจุบันยังคงค้างอยู่เกิน 90 วัน เข้าข่ายเป็นหนี้เสีย (NPL) ซึ่งเป็นสถานะที่มีผลลบต่อเจ้าของบัญชี ทำให้การขอสินเชื่อครั้งถัดไปเป็นไปได้ยาก และตราบใดที่เรายังไม่สามารถกลับมาชำระ หรือปิดบัญชีได้ ทางสถาบันการเงินจะต้องรายงานผลการค้างชำระหนี้นี้แก่เครดิตบูโรทุกเดือน จนครบกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ค้างชำระเกิน 90 วัน และข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในระบบของเครดิตบูโรไปอีก 3 ปี และเราอาจถูกดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป

ตอบ :
เครดิตบูโรไม่ได้จัดเก็บข้อมูลผู้ค้ำประกัน เพราะผู้ค้ำประกันไม่ใช่คนขอกู้เงินหรือคนที่ขอสินเชื่อ แต่ถ้าผู้ค้ำประกันเป็นผู้กู้ร่วมก็ถือว่าเป็นลูกค้าผู้ขอกู้เงินหรือขอสินเชื่อด้วย ดังนั้น เครดิตบูโรจะเก็บข้อมูลในฐานะที่เป็นผู้กู้ร่วม ไม่ใช่ในฐานะผู้ค้ำประกัน

ตอบ :
ไม่เสียเครดิต เพราะเครดิตบูโรจะไม่เก็บข้อมูลผู้ค้ำประกัน

ตอบ :
มีผลต่อคะแนน เพราะข้อมูลค่าธรรมเนียมจะถูกส่งเข้ามาที่เครดิตบูโรด้วย และในรายงานข้อมูลเครดิตจะไม่ได้แยกว่าเป็นหนี้จากสินเชื่อหรือหนี้จากค่าธรรมเนียม แต่ถ้ามีการขอยกเว้นในภายหลัง ก็ต้องแจ้งเรื่องให้สถาบันการเงินแก้ไขข้อมูลแล้วส่งมาที่บริษัทข้อมูลเครดิตอีกครั้ง

ตอบ :
สถาบันการเงินที่ให้บริการบัตรเครดิตทุกแห่งจะนำส่งข้อมูลบัตรเสริมในนามเจ้าของบัตรหลักเหมือนกันทุกแห่ง แต่จะไม่มีการนำส่งข้อมูลบัตรเสริม ในนามผู้ถือบัตรเสริม

ตอบ :
การจ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำและไม่เกินกำหนดชำระ ไม่ได้ทำให้เครดิตเสีย และขึ้นเทียบเท่ากับการจ่ายเต็ม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจ่ายขั้นต่ำ ยอดหนี้จะไม่หายไป และดอกเบี้ยยังเดินไปอยู่จนกว่าจะจ่ายครบวงเงิน หากมีการรูดใช้และจ่ายขั้นต่ำสะสมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีหนี้สินเพิ่มพูนไม่หยุด อาจส่งผลทำให้ความสามารถในการชำระลดลงและเกิดการผิดนัดชำระได้ในอนาคต