วิธีเช็คยอดเงินชราภาพประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39

วิธีเช็คยอดเงินชราภาพประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

นอกจากการลงทะเบียนคนว่างงานจะเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่โดดเด่นของผู้ประกันตนแล้ว เงินประกันสังคมชราภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งในสวัสดิการสำคัญที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตวัยเกษียณ เงินชราภาพส่วนนี้เป็นหนึ่งในวิธีเก็บเงินที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีรายได้ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ไม่ต้องเป็นภาระของลูกหลานหรือสังคม นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างวินัยการออมเงินในระยะยาวให้กับผู้ประกันตนทุกคนด้วย

วิธีเช็คยอดเงินชราภาพประกันสังคม

เว็บไซต์เช็คยอดเงินชราภาพประกันสังคม

สำหรับวิธีเช็คเงินบํานาญประกันสังคมมาตรา 33 และวิธีเช็คเงินบํานาญประกันสังคมมาตรา 39 สามารถเช็คผ่านเว็บไซต์ของประกันสังคมได้ดังนี้

  1. เข้าเว็บไซต์ sso.go.th/wpr/ 
  2. เลือก ‘ผู้ประกันตน’
  3. ถ้าไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน เลือก ‘สมัครสมาชิก’ 
  4. เข้าสู่ระบบด้วยการกรอก ‘เลขบัตรประจำตัวประชาชน’ และ ‘รหัสผ่าน’ 
  5. เข้าสู่หน้าตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน เลือก ‘ข้อมูลการส่งเงินสมทบ’
  6. จากนั้นระบบจะแสดงข้อมูลของแต่ละคน ทั้งงวดเงินสมทบ, วันที่ชำระเงิน, % เงินสมทบ และจำนวนเงินที่ผู้ประกันตนนำส่ง
  7. สำหรับการเช็คยอดเงินชราภาพประกันสังคม เลือก ‘การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ’ 
  8. จากนั้นระบบจะแสดงข้อมูลจำนวนเงินสมทบของผู้ประกันตน, จำนวนเงินสมทบของนายจ้าง, จำนวนเงินสมทบของรัฐ, ยอดเงินรวม (รายปี)

เอกสารที่ต้องเตรียมขอรับเงินชราภาพประกันสังคม

เมื่อเช็คสิทธิประกันสังคมชราภาพเป็นไปตามเงื่อนไข สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด พร้อมเตรียมเอกสาร ดังนี้

  • บัตรประชาชนตัวจริง
  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส. 2-01)
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ สำหรับรับโอนเงินชราภาพประกันสังคม
  • สำหรับผู้ที่มีบัญชีพร้อมเพย์ที่ใช้เลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีออมทรัพย์ สามารถแจ้งขอรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ได้ โดยไม่ต้องใช้สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (สำหรับบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขโทรศัพท์จะไม่สามารถใช้ได้)

ประกันสังคมชราภาพมาตรา 33 และมาตรา 39 ต่างกันยังไง

ประกันสังคมชราภาพมาตรา 33 และ 39

ความแตกต่างระหว่างเงินชราภาพประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39 มีดังนี้

  • ฐานเงินเดือนที่ใช้คำนวณ

- มาตรา 33 ใช้ฐานเงินเดือนตามฐานที่มีการนำส่งเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

- มาตรา 39 ใช้ฐานเงินเดือนคงที่ที่ 4,800 บาท

  • จำนวนเงินที่ได้รับ

- มาตรา 33 ได้รับบำนาญรายเดือนตลอดชีวิตในอัตรา 20% ของฐานค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ไม่เกิน 15,000 บาท) ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ก่อนสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

- มาตรา 39 ได้รับบำนาญรายเดือนตลอดชีวิตในอัตรา 20% ของฐานค่าจ้างคงที่ 4,800 บาท

  • เงื่อนไขการได้รับ

ทั้งมาตรา 33 และ 39 ต้องจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปีขึ้นไป จึงจะได้รับเงินบำนาญตลอดชีพ ถ้าจ่ายไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเป็นเงินบำเหน็จแทน โดยผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญ สามารถเลือกขอรับเป็นบำเหน็จ หรือเงินก้อนแทนได้

สรุปคือ มาตรา 33 จะได้รับเงินชราภาพที่คำนวณจากฐานเงินเดือนจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท แต่มาตรา 39 จะได้รับเงินชราภาพคำนวณจากฐานเงินเดือนคงที่ 4,800 บาท ทำให้ผู้ประกันตนทั้งสองมาตราได้รับเงินชราภาพไม่เท่ากัน

เงื่อนไขเงินบำนาญชราภาพ

กรณีเงินบำนาญชราภาพ เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย. 2565 มีเงื่อนไขดังนี้

  1. ถ้าจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นบำนาญรายเดือนไปตลอดชีวิต โดยจ่ายให้ในอัตรา 20% ของฐานค่าจ้าง เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยไม่เกิน 15,000 บาท) ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  2. ถ้ามีการจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพ จากอัตรา 20% เพิ่มขึ้นอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
  3. กรณีผู้ประกันตนรับบำนาญชราภาพ ต่อมาเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่รับบำนาญชราภาพ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เป็นจำนวนเท่ากับเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย คูณด้วยจำนวนเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
  4. กรณีผู้ประกันตนถูกงดจ่ายเงินบำนาญชราภาพ เนื่องจากกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน และต่อมาถึงแก่ความตาย ถ้าบุคคลนั้นได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้วไม่เกิน 60 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวนเท่ากับเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน คูณด้วยจำนวนเดือนที่เหลือหลังจากผู้รับเงินบำนาญชราภาพกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนจนครบ 60 เดือน
  5. ให้ผู้รับบำนาญชราภาพอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ และรับบำนาญชราภาพมาแล้วยังไม่ครบ 60 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจนครบ 60 เดือน และในกรณีรับเงินบำนาญชราภาพมาแล้ว และจำนวนเดือนเหลือน้อยกว่า 10 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

เงื่อนไขเงินบำเหน็จชราภาพ

กรณีบำเหน็จชราภาพจะเป็นการจ่ายครั้งเดียว มีเงื่อนไขดังนี้

  1. ถ้าจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพมาไม่ครบ 12 เดือน จะได้รับเฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่าย
  2. ถ้าจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับส่วนของผู้ประกันตน ส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี

วิธีคำนวณเงินบำนาญชราภาพประกันสังคม

ในขั้นตอนการเช็คยอดเงินชราภาพประกันสังคมข้างต้น ระบบจะทำการคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพของแต่ละคนมาให้แบบอัตโนมัติ สำหรับผู้ที่ต้องการคำนวณด้วยตัวเอง จะแบ่งวิธีคำนวณเป็น 2 กรณี ดังนี้

  • กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเป็นบำนาญรายเดือนในอัตรา 20% ของฐานค่าจ้าง เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท คำนวณได้ดังนี้ 

20 x 15,000 / 100 = 3,000 บาท ต่อเดือน

  • กรณีจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพจากอัตรา 20% เพิ่มขึ้นอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน คำนวณได้ดังนี้ 

[20 + (1.5 x จำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบเกิน 15 ปีขึ้นไป)] x 15,000 / 100 

*ตัวอย่างการคำนวณจากเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท

ระยะเวลาที่ส่ง

เงินสมทบ (ปี)

เงินบำนาญที่จะได้รับ

ร้อยละของค่าจ้าง

เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (%)

จำนวนเงินบำนาญ

ที่จะได้รับ (บาท/เดือน)

15 - 20 ปี

20.00 - 27.50

3,000 - 4,125

21 - 25 ปี

29.00 - 35.00

4,350 - 5,250

26 - 30 ปี

36.50 - 42.50

5,475 - 6,375

31 - 35 ปี

44.00 - 50.00

6,600 - 7,500

สรุป การเช็คยอดเงินชราภาพประกันสังคมมาตรา 33 และ 39

สำหรับการเก็บเงินชราภาพประกันสังคม เริ่มมีมาตั้งแต่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ดังนั้น อย่าลืมเช็คยอดเงินชราภาพประกันสังคมของตัวเอง และเช็คสิทธิประกันสังคมอื่นๆ เพื่อไม่ให้พลาดสิทธิ์ที่เราควรจะได้รับ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว แต่ถ้าอายุยังไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ ก็ยังไม่สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินชราภาพส่วนนี้ได้ แต่ถ้าคุณต้องการใช้เงินด่วน เงินติดล้อมีบริการสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ เปลี่ยนรถทุกประเภทเป็นเงินก้อนได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องรอเงินชราภาพ ให้คุณมีเงินทันใช้จ่ายฉุกเฉินอย่างแน่นอน

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น