หน้าแรก บทความ การเงินน่ารู้ การบริหารหนี้ พิษโควิดทำธุรกิจเจ๊งจนต้องเซ้งกิจการ ควรสู้ต่อหรือพอแค่นี้?

พิษโควิดทำธุรกิจเจ๊งจนต้องเซ้งกิจการ ควรสู้ต่อหรือพอแค่นี้?

พิษโควิดทำธุรกิจเจ๊งจนต้องเซ้งกิจการ ควรสู้ต่อหรือพอแค่นี้?
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

โควิด-19 คงจะอยู่กับพวกเราไปอีกนาน แต่สิ่งหนึ่งที่กำลังล่มสลายหายไปคือ “ธุรกิจร้านค้า” ที่ไม่สามารถแบกรับรายจ่ายอันหนักอึ้งได้ต่อไปอีกแล้ว จากที่เคยรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้นกลับต้องปิดกิจการหรือเซ้งกิจการเพราะไม่สามารถสร้างกำไรได้เลยสักบาท แต่ก็ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ เพราะใจหนึ่งก็นึกเสียดายกว่าจะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ แต่อีกใจก็ไม่ไหวแล้วจริงๆ ถ้าเป็นเช่นนี้ควรสู้ต่อหรือพอแค่นี้ดีกว่ากัน?

close covid19

โควิด-19 ทำพิษปิดกิจการเพราะแบกรับการขาดทุนไม่ไหว

เงินติดล้อ เคารพทุกการตัดสินใจของคุณทุกคนครับ เพราะเข้าใจดีว่าการขาดทุน เงินขาดมือ ไม่มีเงินหมุนต่อในธุรกิจแล้วมันเดือดร้อนขนาดไหน เลือกที่จะปิดกิจการ ให้เซ้งกิจการไปเลยยังจะดีเสียกว่า ฝืนต่อไปก็มีแต่จะได้รับบาดแผลจากโควิด-19 ไปเรื่อยๆ ลองตรวจสอบดูว่านี่เป็นสิ่งที่คุณคิดอยู่ จึงอยากปิดกิจการหรือไม่

  1. ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนเลยคิดปิดกิจการ

    ทำธุรกิจก็ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนหรือมีกำไรเพิ่มขึ้น แต่ในเมื่อโควิดทำพิษเข้าให้เลยตัดสินใจปิดกิจการ ขาดเงินทุนก็เหมือนไม่มีเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจให้มีชีวิตต่อไปได้เลยตัดสินใจปิดการไปเลย ไม่คิดจะหาแหล่งทุนกู้เงินเพิ่มเติมอีกเพราะใจไม่สู้อีกต่อไปแล้ว

  2. สินค้าไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเลยเซ้งกิจการ

    จะบอกว่าเป็นแบบนั้นก็ไม่ใช่ 100% เพราะเมื่อในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ซบเซาเช่นนี้ ก็ยังสามารถขายสินค้าออกไปได้ เพียงแต่ยอดสั่งซื้ออาจไม่เท่าสินค้าอื่นๆ ที่แมสหรือเป็นที่นิยมกว่า แต่เป็นเพราะเศรษฐกิจซบเซาคนเลยขาดกำลังซื้อ ทำให้สินค้าที่ไม่แมสขายไม่ออกนั่นเอง เลยถอดใจและเลือกเซ้งกิจการในที่สุด

  3. ทรัพย์สินมีน้อยกว่าหนี้สินเลยต้องยอมให้ธุรกิจเจ๊ง

    เมื่อก่อนตอนที่สถานการณ์ยังดีกว่านี้ ยังมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าหลายบาทเป็นของตัวเอง แต่เมื่อโควิด-19 เข้ามากลายเป็นว่าหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ทรัพย์สินลดน้อยลง การที่เคยได้กำไรจากการค้าขายตอนนี้แทบหากำไรไม่เจอ แต่หนี้สินก็ยังต้องจ่ายเรื่อยๆ เลยตัดสินใจยอมให้ธุรกิจเจ๊ง ซ้ำยังนำทรัพย์สินไปขาย เพื่อให้มาซึ่งเงินก้อน

นี่เป็นเพียง 3 เหตุผลเบื้องต้น ที่ทำให้คิดอยากปิดกิจการเพราะไปต่อไม่ไหวแล้ว ทั้งที่ใจจริงก็ยังอยากสู้ต่อไป แต่ชีวิตมันยังมีวันพรุ่งนี้ ยังมีความหวังให้เดินต่อไปได้เรื่อยๆ ถ้ายังไม่ถอดใจ ลองฮึดสู้อีกสักครั้งก่อนดีไหมครับ

แหล่งกู้เงินทำธุรกิจ

กู้เงินเฮือกสุดท้ายก่อนปิดกิจการแล้วเข้าสู่สถานะ “ธุรกิจเจ๊ง”

กว่าธุรกิจจะเติบโตมาได้เท่านี้ก็เสียอะไรไปหลายอย่าง จะให้ตัดสินใจเซ้งกิจการไปเลยก็ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ ที่ดื้อดึงเพราะเข้าใจดีว่ามีค่าใช้จ่ายอีกเยอะ ใช่ว่าเลิกกิจการแล้วจะจบ เพราะมีค่าใช้จ่ายอีกเพียบ เลยตัดสินใจสู้เฮือกสุดท้ายว่าเป็นไงเป็นกัน เพราะไม่อยากก้าวไปสู่สถานะ “ธุรกิจเจ๊ง” ซึ่งสิ่งที่เงินติดล้อกำลังจะนำเสนอต่อไปนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์แก่เจ้าของกิจการทุกคนครับ

  1. นำทรัพย์สินที่มีอยู่เข้าสู่โรงรับจำนำจะได้ไม่ต้องปิดกิจการ

    โรงรับจำนำมีให้เลือกหลายประเภททั้งของรัฐบาลและเอกชน ซึ่งรับทรัพย์สินทุกอย่างที่เป็นของเก่าใช้แล้ว หรือของใหม่ใช้ไม่ได้นาน ซึ่งเงินก้อนหมุนเวียนที่ได้จะถูกตีมูลค่าจากทรัพย์สินที่นำไปจำนำ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องซักผ้า หรือของชิ้นเล็กอย่างครกหินก็สามารถทำได้ ซึ่งในส่วนนี้ต้องยอมโดนยึดทรัพย์สินไป แล้วค่อยไถ่คืนเมื่อมีเงิน หมายถึงคุณจะไม่สามารถใช้ทรัพย์สินนั้นทำมาหากินได้

    อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ : โรงรับจำนำ

  2. กู้เงินสินเชื่อส่วนบุคคลมาหมุนไม่ให้ธุรกิจเจ๊ง

    สินเชื่อส่วนบุคคล คือสินเชื่ออเนกประสงค์ที่เหมาะกับผู้กู้สินเชื่อที่ต้องการเงินก้อนมาใช้จ่าย โดยไม่ได้จำกัดครับว่าต้องนำไปทำสิ่งสิ่งเดียว ผู้กู้อาจจะนำไปเรียนต่อต่างประเทศ ซ่อมบ้าน หรือมาหนุนธุรกิจก็ย่อมได้ นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเรียกแรงใจให้กลับมาฮึดสู้อีกครั้งไม่ต้องปล่อยให้ธุรกิจเจ๊ง ซึ่งสินเชื่อส่วนบุคคลจะให้เงินสูงสุด 5 เท่าจากรายได้ทั้งหมด แปลว่า การขอสินเชื่อส่วนบุคคลต้องมีฐานรายได้และสลิปเงินเดือน

  3. ขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์เพื่อเป็นทุนไม่ให้เซ้งธุรกิจ

    สืบเนื่องจากข้อที่ 1 ได้บอกไว้ว่าให้นำทรัพย์สินไปเข้าโรงรับจำนำใช่ไหมครับ สำหรับรถยนต์ก็มีการจำนำทะเบียนรถยนต์ หรือขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์เช่นกัน ที่ทำให้คุณได้เงินก้อนไว ไม่ต้องรอนาน ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน ถึงชื่อจะบอกว่าจำนำทะเบียนรถ แต่ไม่ต้องจอดรถทิ้งเอาไว้ คุณสามารถใช้งานรถยนต์เพื่อทำมาหากินได้ต่อเลย สำหรับสินเชื่อทะเบียนรถเงินติดล้อรับรถยนต์เก่าสุดที่อายุ 20 ปีครับ

  4. กู้สินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ยังไงให้ไม่ต้องเซ้งกิจการ

    สำหรับธุรกิจรายเล็กที่ทำเป็นร้านค้าหรือร้านกับข้าว ก็ได้รับความลำบากเหมือนกัน เพราะไม่มีลูกค้ามาซื้อของเลยไม่สามารถทำกำไรได้ หากกำลังฮึดสู้ต่ออยากให้นึกถึงสินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์เงินติดล้อ ที่ให้คุณกู้เงินก้อนได้เลยโดยไม่ต้องมีคนค้ำประกัน ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบคือ สินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ทั่วไป และสินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์พร้อมบัตรติดล้อครับ เป็นอีกหนึ่งพลังที่ทำให้ธุรกิจร้านค้าหมุนต่อไปได้

นี่เป็น 4 วิธีในการกู้เงินด่วนเงินก้อนสำหรับเจ้าของธุรกิจร้านค้าที่ฮึดสู้ต่ออีกครั้ง โดยแต่ละประเภทก็มีข้อดีแตกต่างกันออกไป แต่ถ้ามีทรัพย์สินที่เป็นรถมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์อยู่แล้ว อาจจะคิดว่าขายทิ้งเป็นรถมือสองดีกว่าไหม คำตอบคือไม่ดี เพราะวิธีที่ดีกว่ากู้เงินสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ และสินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ คุณจะยังมีรถไว้ใช้งาน เช่น ไปตลาด ขนส่งสินค้า แล้วได้เงินก้อนจากการกู้ไปคู่กัน!

สรุป

พิษโควิดทำให้หลายธุรกิจต้องคิดหนักว่าจะเซ้งกิจการดีไหม สำหรับคนที่ฮึดสู้ต่อก็สามารถหาเงินทุนจากการขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ หรือสินเชื่อประเภทอื่นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินก้อนที่จะหมุนให้ธุรกิจต่อไปได้ แต่ถ้าคนกำลังจะหมดใจไม่สู้ต่อก็เคารพการตัดสินใจจริงๆ ครับ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

  • ติดต่อโดยตรงได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาใกล้บ้านท่าน
  • Facebook Inbox เงินติดล้อ: facebook.com/messages/t/ngerntidlor
  • โทรเข้า Call Center เงินติดล้อ: 088-088-0880
  • หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

เราพร้อมบริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง!

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น