หน้าแรก บทความ การเงินน่ารู้ การบริหารหนี้ 5 ขั้นตอนเตรียมพร้อมก่อนการกู้เงิน ทำอย่างไรให้ผ่านฉลุย

5 ขั้นตอนเตรียมพร้อมก่อนการกู้เงิน ทำอย่างไรให้ผ่านฉลุย

5 ขั้นตอนเตรียมพร้อมก่อนการกู้เงิน ทำอย่างไรให้ผ่านฉลุย
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าการขอ “กู้เงิน” ทำไมมันถึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ขอดูเอกสารต่าง ๆ มากมาย ใช้เวลานานในการตรวจสอบจนละเอียด แต่สุดท้าย “ไม่อนุมัติ” ทำให้ เสียทั้งเวลา เสียทั้งความรู้สึก ภาระค่าใช่จ่ายที่จำเป็นต้องรับนำเงินไปชำระก็ยังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

เราจะทำอย่างไรกับปัญหานี้ดี? เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียความรู้สึกและเสียเวลาในการขอกู้เงิน บทความนี้เรามี 5 ขั้นตอนในการเตรียมตัวก่อนกู้เงินเพื่อสร้างเครดิต สร้างความน่าเชื่อถือให้คุณขอกู้เงินได้ผ่านฉลุย

เดินบัญชีต้องเอาให้สวย
  1. เดินบัญชีให้ดูดีเหมาะกับการกู้ยืม

    ที่กล่าวว่า เดินบัญชีให้ "ดูดี" นั้น จริง ๆ หมายถึง การสร้างความน่าเชื่อถือจากรายการเดินบัญชีหรือ Statement เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สถาบันการเงินจะขอดู เพื่อพิจารณาว่าพฤติกรรมการใช้เงินของเราเป็นอย่างไร ใช้เงินมาก-น้อยแค่ไหน มีเงินเข้าประจำไหม แล้วถอนเงินหมดภายในครั้งเดียวหรือเปล่า หรือมีเงินเก็บแค่ไหน เพราะหากมองในมุมของผู้ปล่อยกู้ เขาก็ต้องอยากแน่ใจว่าที่คนที่กู้เงินเราไปจะสามารถคืนเงินได้

    ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะขอดูรายการเดินบัญชีของผู้ยื่นกู้ย้อนหลังถึง 6 เดือน นั่นหมายความว่า เราต้องเดินบัญชีให้สวยก่อนกู้เงินตลอด 6 เดือน

    วิธีเดินบัญชีสำหรับกู้เงิน

    1. มีรายได้เข้าบัญชีเป็นประจำ

      ข้อแรก สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนอาจไม่มีปัญหา เพราะมีรายได้เข้าต่อเดือนแน่นอนตามวันที่ที่ระบุชัดเจน นั่นจะช่วยยืนยันกับสถาบันการเงินว่าเรามีที่มาของรายได้จริง ๆ และมีรายได้อย่างสม่ำเสมอ แต่สำหรับเจ้าของกิจการ ค้าขาย หรือรับจ้างทั่วไป ที่ไม่มีบริษัทจ่ายเงินเดือนให้ ก็จะต้องนำเงินไปฝากไว้เพื่อทำรายการเดินบัญชีด้วยตัวเอง โดยที่กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการฝากเงิน เช่น 15,000 บาท ต่อเดือน และกำหนดวันฝากเงินที่แน่นอน เช่น ทุกวันที่ 1 ของเดือน

    2. โอนเงินหรือถอนเงินน้อยกว่ารายรับ

      แน่นอนว่า ถ้าเราถอนเงินมากกว่าที่เราฝาก เงินในบัญชีของเราก็จะค่อย ๆ ลดลงไป ๆ แต่ที่ตั้งใจจะบอก คือ ต่อให้เราไม่ได้ใช้จ่ายเงินมากกว่ารายรับ แต่เราก็ควรมีเงินเหลือในแต่ละเดือนที่คงที่หรือมากขึ้น เพราะหากบางเดือนเราถอนเงิน (ผู้ปล่อยกู้มองว่าเป็นรายจ่าย) มากกว่าจำนวนเงินที่ฝากเข้ามา สถาบันการเงินจะพิจารณาว่าเรามีพฤติกรรมการใช้เงินที่ขาดการวางแผน ไม่ออมเงิน และไม่มีความสามารถที่จะรับผิดชอบหนี้ได้

    3. วางแผนการกดเงิน

      วิธีที่จะทำให้รายการเดินบัญชีของเราสวยที่สุดนั้นมาจากรายได้และรายจ่ายที่เป็นระบบ หมายความว่า คุณควรมีแผนการใช้จ่ายที่แน่นอนกับตัวเอง เริ่มตั้งแต่กำหนดรายได้เข้าบัญชี และการถอนเงินมาใช้ แนะนำว่าให้คุณวางแผนการกดเงินเพียงเดือนละ 2-3 ครั้ง ในจำนวนเท่าเดิมหรือใกล้เคียงกัน และทำอย่างนั้นในทุก ๆ เดือน คุณจะได้รายการเดินบัญชีในแต่ละเดือนเท่ากัน เช่น รายได้ 15,000 บาท กดเงิน 3 ครั้ง/เดือน ครั้งละ 4,000 บาท จะเห็นว่าเหลือเงินติดบัญชีอีก 3,000 บาท

      หากคุณทำตามวิธีเดินบัญชีทั้ง 3 ข้อข้างต้น รับรองเลยว่าบัญชีของคุณจะน่าเชื่อถือแบบที่สถาบันการเงินปฏิเสธไม่ได้เลยล่ะครับ

    ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติเครดิตให้แน่ใจ
  2. ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติเครดิตให้แน่ใจ

    การขอกู้เงินกับแต่ละสถาบันการเงิน แน่นอนว่า ผู้ปล่อยกู้ก็จะมีเกณฑ์ในการเลือกอนุมัติเงินกู้ของแต่ละที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเภทสินเชื่อด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการกู้สินเชื่อทะเบียนรถ สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือรถ โดยต้องศึกษาข้อมูลดูว่ารถที่เขาต้องการคือรถประเภทใดบ้าง หรือคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น อายุ รายได้ อาชีพ เป็นต้น

    นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกสิ่งที่สถาบันการเงินจะตรวจสอบเรา ซึ่งหากข้อนี้ไม่ผ่าน โอกาสได้เงินก็แทบจะไม่มี สิ่งนั้นคือ “เครดิตบูโร” หรือประวัติเครดิตของเราที่บริษัทข้อมูลเครดิต (National Credit Bureau) รวบรวมจากสถาบันการเงินหลาย ๆ แห่ง และเมื่อเราไปขอกู้เงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน เขาก็จะขอข้อมูลตรงนี้ของเรามาพิจารณา ดังนั้นใครที่ติดค้างชำระหนี้จากที่อื่นอยู่ โอกาสได้รับการอนุมัติเงินกู้ก็จะลดลง

    ดังนั้นเมื่อจะขอกู้เงินก้อนใหม่ ก็ควรชำระภาระหนี้สินเดิมก่อน โดยเฉพาะหนี้ก้อนเล็กก้อนน้อยที่อาจจะมีเยอะเกินไป

    ประเมินความสามารถในการผ่อนก่อน
  3. ประเมินความสามารถในการผ่อนก่อน

    หลังจากที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ดูแล้วว่าเราผ่านเกณฑ์ และตรวจสอบแน่ใจแล้วว่าประวัติเครดิตของเราไม่แย่ ไม่มีหนี้สินมากเกินไป ดังนั้นก่อนจะขอกู้เงิน เราต้องรู้จักประเมิน “ความสามารถในการชำระหนี้สิน” ของเราก่อน ซึ่งโดยทั่วไปสถาบันการเงินจะไม่ให้เราเป็นหนี้เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน ซึ่งหมายถึงหนี้สินทั้งหมดนะครับ ไม่ใช่แค่หนี้ใหม่

    ยกตัวอย่างเช่น

    (รายได้ต่อเดือน 20,000 บาท - รายการผ่อนชำระอื่น ๆ 4,000) x 40% = 6,400 บาท

    ยอดชำระต่อเดือนของนายเงิน คือ 6,400 บาท และสถาบันการเงินจะให้วงเงินสินเชื่อที่เมื่อคิดมาแล้วภาระผ่อนของนายเงินจะต้องไม่เกิน 6,400 บาท (ทั้งนี้ เกณฑ์การพิจารณาวงเงินขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันและประเภทสินเชื่อ เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ ฯลฯ ที่อาจได้วงเงินเพิ่มจากมูลค่าสินทรัพย์ที่นำมาค้ำ)

    จะกู้เงินอย่าลืมดูประวัติผู้ให้กู้
  4. จะกู้เงินอย่าลืมดูประวัติผู้ให้กู้

    มาถึงขั้นนี้ ความตั้งใจที่จะกู้เงินให้ผ่านฉลุยก็ใกล้ความจริงแล้วนะครับ แต่เราอยากเบรกคุณไว้ก่อนในข้อนี้ เพราะอยากให้คุณได้ลองศึกษา ลองพิจารณาสถาบันที่จะกู้ดูก่อนว่าสถาบันเหล่านั้น มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน เป็นใคร เพื่อที่ลดความเสี่ยงที่อาจถูกเอาเปรียบ

    สิ่งที่คุณควรตรวจสอบในเบื้องต้น คือ

    • สถาบันการเงินนั้นมีใบรับรองหรือไม่
    • สถาบันการเงินเป็นใคร อยู่ในสังกัดของธนาคารหรือเป็นธุรกิจเดี่ยว (Stand alone)
    • ประสบการณ์ของผู้ที่เคยขอกู้

    ทั้งนี้ คุณอาจลองสอบถามจากผู้ที่เคยขอกู้เงินจากสถาบันการเงินมาก่อน ว่าสถาบันนั้น ๆ อนุมัติให้ยาก-ง่ายแค่ไหน ใช้เวลานานหรือเปล่า

    เตรียมเอกสารให้พร้อมขอกู้เงิน
  5. เตรียมเอกสารให้พร้อมขอกู้เงิน

    ในขั้นตอนสุดท้าย คือ ขั้นตอนที่คุณได้ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารที่อยากจะเข้าไปขอกู้เงินแล้ว ทีนี้คุณก็เข้าไปศึกษากันดูนะครับว่า สถาบันการเงินเขาต้องการเอกสารอะไรบ้าง หากเราเตรียมเอกสารไปครบถ้วน ก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลากลับไปรวบรวมเอกสารใหม่อีกครั้ง ช่วยลดเวลาในการขอกู้เงินลงไปอีก

    เอกสารที่สถาบันการเงินต้องการโดยทั่ว ๆ ไป ก็มีดังนี้

    • เอกสารส่วนบุคคล
      • บัตรประชาชน
      • ทะเบียนบ้าน
    • เอกสารการเงิน/แสดงรายได้
      • สำเนาสมุดบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
      • สลิปเงินเดือน (สำหรับพนักงานเงินเดือน)
      • เอกสารการประกอบกิจการ/บริษัท
      • เอกสารประกอบ (อื่น ๆ) ที่สถาบันการเงินขอ
    • เอกสารหลักทรัพย์
      เช่น เอกสารยืนยันกรรมสิทธิ์อาคาร/ที่ดิน หรือเล่มทะเบียนรถ ตามแต่ประเภทหลักทรัพย์

เพื่อที่จะขอกู้เงินให้ผ่านฉลุย ไม่ว่าจะกู้สินเชื่ออะไร 5 ขั้นตอนเหล่านี้ คือ การเตรียมตัวหลัก ๆ ที่คุณสามารถทำตามได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วมีหลายขั้นตอนที่คุณควรเตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือทำให้เป็นปกติ คือ การใช้เงินให้เป็นระบบ แล้วเดินบัญชีธนาคารให้สวยงาม รวมทั้งสร้างประวัติเครดิตของเราให้ดี มีหนี้เท่าที่จำเป็น แล้วหลังจากนั้นค่อยมาเลือกสถาบันการเงินแล้วเตรียมเรื่องอื่น ๆ ต่อไป

ใครที่กำลังจะขอกู้ อย่าลืม! เอาวิธีเหล่านี้ไปใช้นะครับ และหากคุณต้องการบริการสินเชื่อรถที่เชื่อถือได้ เงินติดล้อมีบริการสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และรถบรรทุก คอยให้บริการทุกท่าน สามารถเลือกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.tidlor.com/autoloan/car

การกู้เงินกับบริษัทที่มีความหน้าเชื่อถือและถูกต้องตามกฎหมายนั้นจะคุ้มครองลูกหนี้ และไม่มีการเอาเปรียบลูกหนี้ แตกต่างจากพวกกู้เงินนอกระบบที่มักจะโฆษณาจากการส่ง SMS กู้เงินด่วน เงินด่วน 10 นาที หรือแม้แต่สินเชื่อด่วน โดยอ้างว่ามาจากบริษัทต่างๆ ซึ่งหากคุณหลวมตัวเข้าไปแล้วละก็ นอกจากจะไม่ได้รับเงินกู้ด่วนตามคำโฆษณาแล้ว กลุ่มมิจฉาชีพยังจะดูดเงินคุณออกไปแบบงงๆ อีกด้วย

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น