รีไฟแนนซ์รถยนต์มือสองทำได้ไหม รีไฟแนนซ์แล้วคุ้มค่าหรือไม่

รีไฟแนนซ์รถยนต์มือสองทำได้ไหม รีไฟแนนซ์แล้วคุ้มค่าหรือไม่
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

ปัจจุบันรถมือสองก็ยังคงได้รับความนิยมสำหรับคนที่วางแผนซื้อรถใหม่ หรือกำลังมองหารถเป็นของตัวเองสักคัน แต่ก็กังวลเรื่องจะผ่อนไม่ไหวบ้าง ซึ่งวิธีรีไฟแนนซ์รถยนต์ช่วยลดยอดผ่อนชำระต่อเดือนและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้จริง แต่หลายคนก็ไม่แน่ใจว่ารถมือสองรีไฟแนนซ์ได้ไหม จะคุ้มค่าหรือได้วงเงินตามที่ต้องการหรือไม่ เงินติดล้อจะมาตอบคำถามที่คุณกังวลใจ พร้อมแนะนำการรีไฟแนนซ์รถยนต์มือสองต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

รีไฟแนนซ์รถยนต์มือสองได้ไหม?

การรีไฟแนนซ์รถยนต์มือสองสามารถทำได้เช่นกันไม่ต่างจากรถยนต์มือหนึ่ง เพียงคุณต้องตรวจสอบเงื่อนไขของสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการสินเชื่อรีไฟแนนซ์แต่ละเจ้า โดยเฉพาะเรื่องยี่ห้อรถ รุ่นรถ และปีที่ผลิตรถ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาวงเงินและผลการอนุมัติสินเชื่อของคุณ

รีไฟแนนซ์รถมือสองดีอย่างไร?

สถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการสินเชื่อรีไฟแนนซ์ต่างต้องมีเงื่อนไขเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการทำธุรกิจเช่นกัน ถึงแม้การรีไฟแนนซ์รถยนต์มือสองจะสามารถทำได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ดังนี้

  • รถมือสองที่นำมารีไฟแนนซ์จะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรือขึ้นอยู่กับสถาบันการเงิน
  • รถมือสองต่างประเทศนำเข้า หรือสั่งประกอบ บางรุ่นจะไม่สามารถรีไฟแนนซ์ได้

รีไฟแนนซ์รถยนต์มือสองดีอย่างไร?

คำว่ารีไฟแนนซ์ หมายถึง การที่ผู้กู้ทำนิติกรรมเช่าซื้อใด ๆ ก็ตาม หรือการทำสัญญาเพื่อผ่อนชำระทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ หรือรถมือสอง ได้เริ่มต้นทำสัญญาใหม่กับสถาบันการเงินอื่น เพื่อนำเงินก้อนมาปิดยอดค้างชำระให้กับสถาบันการเงินเดิม หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การไปกู้เงินจากอีกสถาบันการเงินหนึ่งมาโปะหนี้ของสถาบันการเงินเดิมนั่นเอง

ส่วนใหญ่การรีไฟแนนซ์ก็เพื่อให้ได้รับเงื่อนไขหรือสิทธิประโยชน์ใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเดิม เช่น อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ระยะเวลาในการผ่อนชำระที่ยาวนานกว่าเดิม หรือค่างวดที่ลดต่ำลง ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินที่เลือกใช้บริการ ซึ่งนับเป็นข้อดีของผู้กู้ที่จะได้ลดภาระทางการเงินลงบ้าง นอกจากนี้ ยังสามารถยื่นกู้ในจำนวนที่มากกว่าหนี้เดิมที่ต้องการปิด เพื่อนำเงินส่วนต่างไปเสริมสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองได้อีกด้วย

ตรวจสอบให้ดี! รถมือสองที่คุณมีรีไฟแนนซ์ได้หรือไม่

สำหรับการรีไฟแนนซ์รถยนต์มือสอง โดยมากจะมีจุดประสงค์เพื่อนำเงินส่วนต่างไว้ใช้จ่าย หรือลดค่างวดลงในคราวเดียวกัน ทำให้สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงเป็นอันดับแรกนั่นก็คือ อัตราดอกเบี้ยคงเหลือจากสถาบันการเงินเดิม และอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินใหม่ว่ามีส่วนต่างมากแค่ไหน และคุ้มค่าต่อการรีไฟแนนซ์หรือไม่

ตัวอย่าง การคำนวณความคุ้มค่ารีไฟแนนซ์รถมือสอง

ขั้นตอนแรกก่อนจะคำนวณว่าการรีไฟแนนซ์รถยนต์มือสองจะคุ้มค่ามากแค่ไหน ให้คำนวณก่อนว่าในสัญญาเช่าซื้อรอบแรกนั้นเป็นไปอย่างไร มียอดคงค้างเท่าไหร่ โดยเริ่มต้นจากการคำนวณยอดผ่อนต่อเดือนด้วยสูตร ดังนี้

วงเงินกู้ (ยอดจัดไฟแนนซ์) x ดอกเบี้ยต่อปี (%) = ดอกเบี้ยต่อปี

ดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลาผ่อน (ปี) = ดอกเบี้ยตลอดสัญญา

วงเงินกู้ + ดอกเบี้ยตลอดสัญญา = วงเงินกู้รวมทั้งหมด

วงเงินกู้รวมทั้งหมด ÷ ระยะเวลาผ่อน (เดือน) = ยอดผ่อนต่อเดือน

ตัวอย่าง: คุณ A ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถมือสองคันหนึ่งในราคา 600,000 บาท ชำระเงินดาวน์ไปแล้วจำนวน 100,000 บาท ทำให้เหลือยอดที่ต้องผ่อนชำระทั้งหมด 500,000 บาท หากสถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ในอัตรา 4% ต่อปี โดยมีระยะเวลาการผ่อนชำระอยู่ 6 ปี หรือ 72 เดือน จากสูตรข้างต้นคำนวณได้ ดังนี้

  • วงเงินกู้ 500,000 x ดอกเบี้ย 4% = 20,000 บาท
  • จำนวนดอกเบี้ย 20,000 x ระยะเวลาผ่อนชำระ 6 ปี = 120,000 บาท
  • เมื่อรวมเข้ากับเงินต้น 500,000 + 120,000 = 620,000 บาท
  • เท่ากับว่าในแต่ละเดือนคุณ A จะต้องผ่อนชำระเป็นจำนวน 620,000 ÷ 72 เดือน = 8,612 บาท

หากว่าคุณ A ทำการผ่อนชำระค่างวดไปแล้ว 40 งวด จะเหลือยอดเงินค้างอยู่กับสถาบันการเงินเดิมที่ 

  • 620,000 – (8,612 x 40) = 275,520 บาท

หากคุณ A ได้ยื่นเรื่องต่อสถาบันการเงินใหม่เพื่อทำการรีไฟแนนซ์ โดยทางสถาบันการเงินนั้นได้ให้ราคาประเมินรถของคุณ A ที่ราคา 400,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยใหม่เพียง 3% ต่อปี และปรับระยะเวลาการผ่อนชำระใหม่เป็น 72 งวดหรือ 6 ปี สามารถคำนวณดอกเบี้ยครั้งใหม่โดยใช้สูตรข้างต้นเหมือนเดิม ดังนี้

  • ยอดใหม่ 400,000 x ดอกเบี้ย 3% = 12,000 บาท
  • จำนวนดอกเบี้ย 12,000 x ระยะเวลาผ่อนชำระ 6 ปี = 72,000 บาท
  • เมื่อรวมเข้ากับเงินต้น 400,000 + 72,000 = 472,000 บาท
  • เท่ากับว่าในแต่ละเดือนคุณ A จะต้องผ่อนชำระเป็นจำนวน 472,000 ÷ 72 เดือน = 6,556 บาท

สรุป หมายความว่าค่างวดที่คุณ A จะต้องจ่ายจะเหลือเพียง 6,556 บาทเท่านั้น ถือว่าลดภาระทางการเงินลงไปได้อีกมากเลยทีเดียว อีกทั้งเมื่อนำเงินไปปิดยอดเก่าแล้วยังเหลือเงินส่วนต่างมากถึง 124,480 บาทไว้ใช้จ่ายอีกด้วย

เมื่อได้รับการอุมัติแล้ว ทางสถาบันการเงินจะนับว่านี่เป็นการทำสินเชื่อใหม่อีกครั้งหนึ่ง และกรณีนี้ไม่ถือว่าผู้ยื่นขอสินเชื่อมีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดีใดๆ ทั้งสิ้น

เอารถเข้าไฟแนนซ์ ใช้อะไรบ้าง? 5 ​​เอกสารรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ต้องเตรียม

5 ​​เอกสารรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ต้องเตรียม

หากคุณเห็นความคุ้มค่าของการรีไฟแนนซ์รถยนต์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อยากจะรีไฟแนนซ์รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง เตรียมตัวให้พร้อม เพราะยิ่งคุณเตรียมเอกสารและนำส่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อเร็วเท่าไหร่ ก็มีโอกาสได้รับการอนุมัติเร็วเท่านั้น ต่อไปนี้เป็นเอกสารรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่จำเป็นต้องเตรียม

  1. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมกับนำบัตรประชาชนตัวจริงมาด้วย
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน ไม่จำเป็นต้องนำทะเบียนบ้านฉบับจริงมา
  3. สำเนาทะเบียนรถยนต์ ฉบับจริง
  4. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร เพื่อแสดงหลักฐานการเดินบัญชีย้อนหลัง 3-6 เดือนขึ้นอยู่กับแต่ละที่
  5. หลักฐานแสดงที่มาของรายได้ ได้แก่ Statement จากธนาคาร หรือหนังสือรับรองเงินเดือนย้อนหลังอายุไม่เกิน 2 เดือน (ถ้ามี)

สรุป การรีไฟแนนซ์รถยนต์มือสอง

นอกจากข้อดีแล้ว การรีไฟแนนซ์ก็มีข้อเสียเหมือนกัน เนื่องจากระยะเวลาที่ต้องผ่อนชำระยาวนานขึ้น แต่หากคุณพิจารณาแล้วว่าเป็นการกู้สถานการณ์ทางการเงินได้ดีที่สุด ก็ขอให้คุณตรวจสอบรายละเอียดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์เสมอ หากคุณกำลังมองหาแหล่งรีไฟแนนซ์รถมือสองไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใดก็ตาม สินเชื่อรีไฟแนนซ์เงินติดล้อพร้อมให้บริการ ให้อัตราประเมินสูง พร้อมอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมต่อลูกค้าทุกคน อนุมัติไว รับรองว่ามีเงินสดฉุกเฉินไว้ใช้ทันใจอย่างแน่นอนครับ

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น