หน้าแรก บทความ ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง ภาษีขายของออนไลน์ที่แม่ค้าออนไลน์ควรรู้

ภาษีขายของออนไลน์ที่แม่ค้าออนไลน์ควรรู้

ภาษีขายของออนไลน์ที่แม่ค้าออนไลน์ควรรู้
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
ผ่อนอยู่ก็กู้ได้ ถ้าทำสินเชื่อกับบริษัทต่อไปนี้
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน), บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน), บริษัท เวิลด์ลีส จำกัด, บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท ไฮเวย์ จำกัด
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้งาน ทำให้อาชีพของใครหลายคนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น บางอาชีพอาจถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี หรือบางอาชีพอาจกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น และหนึ่งในอาชีพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากก็คือการขายของออนไลน์ หากร้านค้าขายดีมีเงินหมุนเวียนในระบบเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้ทางภาครัฐต้องเข้ามาควบคุมดูแล ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าภาษีขายของออนไลน์เกิดขึ้น

รู้จักกับภาษีออนไลน์

การจ่ายภาษีคือหน้าที่ของประชาชนทุกคนทุกประเทศ ทว่าในปัจจุบันหลายคนยังเข้าใจว่าหากทำการขายของผ่านช่องทางออนไลน์นั้นไม่จำเป็นต้องเสียภาษี ซึ่งคงต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าอย่างไรก็ต้องเสียภาษีในรูปแบบของภาษีเงินได้

ภาษีของการขายของออนไลน์นับเป็นภาษีเงินได้จากการค้าขาย ซึ่งจะมีการแบ่งการคำนวณเป็นสองประเภท คือ

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : กรณีเป็นพ่อค้าแม่ค้าธรรมดา
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล : กรณีที่ร้านค้านั้น ๆ มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท
รู้จักกับภาษีออนไลน์

การคำนวณอัตราภาษีนั้นไม่ได้แตกต่างกับการจ่ายภาษีตามปกติ คือคิดตามอัตราขั้นบันไดตามกฏหมายกำหนด และมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักภาษีได้ดังนี้

  1. หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% ของเงินได้ สำหรับร้านที่ดำเนินการแบบซื้อมา ขายไป ไม่มีการผลิตภายในร้าน
  2. หักตามค่าใช้จ่ายจริง สำหรับบ้านที่มีการผลิตภายในร้าน
  3. หักแบบเหมา กรณีที่มีรายได้จากช่องทางออนไลน์เกิน 1,000,000 บาท โดยคิดภาษีเป็น 0.5% ของเงินได้

ซึ่งคนทั่วไปก็สามารถคิดภาษีได้ด้วยตัวเอง หรือใช้โปรแกรมในการคำนวณด้วยสูตร (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) และแน่นอนว่าหากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็มีโอกาสที่จะไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน

ข้อควรรู้ของภาษีออนไลน์

ทางกรมสรรพากรจะรู้ได้อย่างไรว่ามีการขายของออนไลน์เกิดขึ้น ในปัจจุบันมีกฎหมายออกมารองรับทำให้ทางสถาบันการเงินต้องมีการส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า (e-Payment) ให้กับทางกรมสรรพากรตรวจสอบ แต่ไม่ได้ตรวจสอบทุกบัญชี ลองมาดูเงื่อนไขกันว่ากรมสรรพากรจะตรวจสอบอย่างไร

  • เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่าจะมียอดรวมทั้งหมดกี่บาทก็ตาม

  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท

ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๘)

ในส่วนนี้ขอขยายความว่า กรณีซื้อของออนไลน์หรือการโอนออกเพื่อใช้จ่ายจะไม่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทางกรมสรรพากรต้องการคือ การรับโอน ดังนั้นสำหรับคนที่จำเป็นต้องโอนเงินเพื่อใช้จ่ายจึงไม่ต้องกังวลกับการเสียภาษีตรงนี้

ข้อมูลที่กรมสรรพากรจะได้

  • เลขประจำตัวประชาชน
  • ชื่อ สกุล
  • เลขบัญชีเงินฝาก
  • จำนวนครั้งของการฝากหรือโอน
  • ยอดรวมจากการฝากหรือโอน

ซึ่งกรมสรรพากรจะไม่เพียงตรวจสอบผู้ที่เป็นร้านค้าเท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ที่มีการโอนเงินมากผิดปกติจนน่าสงสัยอีกด้วย

แต่ไม่ต้องกังวลไป แม้ว่าคุณเพิ่งทำธุรกิจขายของออนไลน์หรือทำมานานแล้วก็สามารถเตรียมตัวได้ไม่ยาก

พ่อค้าแม่ค้าต้องทำอย่างไรบ้าง

สำหรับการเตรียมตัวไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด โดยปกติแล้วการค้าขายออนไลน์จะต้องมีการบันทึกข้อมูลลูกค้า การใช้จ่าย ลงทุน รวมถึงการรับเงินอยู่แล้ว สิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าทุกคนต้องทำเพิ่มขึ้นมาก็คือ

  1. บันทึกทุกอย่าง ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อสามารถตรวจสอบได้ว่าเรามีรายรับรายจ่ายประเภทใด อย่างไรบ้าง

  2. ไม่ทิ้งหลักฐานที่เกี่ยวกับการค้าให้หายไป เมื่อทางกรมสรรพากรมีคำถามเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย นอกจากจะได้เห็นบันทึกรายรับรายจ่าย ยังมีหลักฐานทางธุรกรรมเพื่อยืนยันว่าเราได้ดำเนินการโอนรับ จ่าย หรือลงทุนตามจริงด้วย

  3. ติดตามข่าวการเงิน โดยเฉพาะด้านภาษีที่มีการอัปเดตในแต่ละปีตามการไหลเวียนของเงินในประเทศและต่างประเทศ แต่หากไม่มีความรู้ด้านการเงินอาจทำให้พลาดเสียเงินมากเกินความจำเป็นหรือจ่ายภาษีซ้ำซ้อนได้

  4. หาความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถจัดการรายรับรายจ่ายในแต่ละปี รู้ว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ลดหย่อนภาษีได้ด้วยวิธีใดบ้าง

พ่อค้าแม่ค้าต้องทำอย่างไรบ้าง

สะดวกกว่าด้วยการยื่นภาษีออนไลน์

นอกจากการตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ ในโลกออนไลน์แล้ว ทางกรมสรรพากรเองก็ยังดำเนินการอำนวยความสะดวกให้เหล่าผู้เสียภาษีเงินได้ โดยสามารถเข้าไปยื่นแบบภาษีตามกำหนดการรายปีได้ที่ ยื่นแบบ-ชำระภาษีออนไลน์ ซึ่งภายในจะมีรายละเอียดต่าง ๆ ระบุไว้อย่างครบถ้วน พร้อมให้ประชาชนยื่นแบบภาษีเงินได้ในเวลาไม่กี่นาที ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ซึ่งปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนก็ยังพยายามขายสินค้า รวมถึงขยายกิจการของตัวเองอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีคนที่รายได้มากพอที่จะเสียภาษีบ้าง ยังไม่ถึงบ้าง แต่อย่างไรทุกสิ่งก็ต้องก้าวไปข้างหน้า

หากคุณมีความต้องการเงินเพิ่มเติมเพื่อขยายกิจการ ลองปรึกษาทางเงินติดล้อดูครับ เพราะเงินติดล้อมีสินเชื่อหลากหลายรูปแบบ เพื่อรองรับพ่อค้าแม่ค้าทุกคน สามารถกู้ได้ในวงเงินสูง เลือกที่จะผ่อนระยะสั้นหรือระยะยาวได้ตามสะดวก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์เงินติดล้อ หรือสอบถามพวกเราได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาทั่วประเทศ พวกเรายินดีให้บริการครับ!

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
ผ่อนอยู่ก็กู้ได้ ถ้าทำสินเชื่อกับบริษัทต่อไปนี้
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน), บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน), บริษัท เวิลด์ลีส จำกัด, บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท ไฮเวย์ จำกัด
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น