หน้าแรก บทความ ไลฟ์สไตล์ ทำธุรกรรมผ่าน E-payment อย่างไรให้ปลอดภัย

ทำธุรกรรมผ่าน E-payment อย่างไรให้ปลอดภัย

ทำธุรกรรมผ่าน E-payment อย่างไรให้ปลอดภัย
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
ผ่อนอยู่ก็กู้ได้ ถ้าทำสินเชื่อกับบริษัทต่อไปนี้
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน), บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน), บริษัท เวิลด์ลีส จำกัด, บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท ไฮเวย์ จำกัด
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

ปัจจุบันยุคของอินเทอร์เน็ตทำให้พฤติกรรมการใช้จ่ายเริ่มเปลี่ยนไป การซื้อของหรือจ่ายบิลด้วยเงินสดอาจลดน้อยลง และหันไปพึ่งระบบการจ่ายเงินแบบออนไลน์มากขึ้น เพราะทำได้สะดวกรวดเร็วและสามารถทำจากที่ไหนก็ได้

หลายคนที่กำลังตัดสินใจมาใช้ระบบ E-payment หรือระบบทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต ก็อาจมีข้อกังวลใจถึงความปลอดภัยในการใช้งาน ทำให้รู้สึกกังวลใจเมื่อต้องทำเรื่องจ่ายเงินบนช่องทางออนไลน์

แต่จริงๆ แล้วระบบ E-payment นั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะผู้ให้บริการได้สร้างระบบการจ่ายเงินออนไลน์ที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานเอาไว้ ในบทความนี้มาดูกันว่าจะทำธุรกรรมออนไลน์อย่างไรให้ปลอดภัย และธุรกรรมแบบไหนบ้างที่รองรับการจ่ายเงินออนไลน์

คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับ E-payment

  • E-payment (Electronic Payment System) : ระบบการชำระเงินและทำธุรกรรมบนระบบออนไลน์ เช่น อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน
  • Internet Banking : ช่องทางการทำธุรกรรมการเงินบนออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูง ให้บริการโดยธนาคารที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งทำได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์หรือบนแอพพลิเคชั่น
  • Mobile Banking : ช่องทางการทำธุรกรรมต่างๆ ที่สามารถทำผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคารบนสมาร์ทโฟน
  • OTP (One Time Password) : รหัสแบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งระบบการทำธุรกรรมมักจะขอเลข OTP เมื่อมีการกรอกบัตรจ่ายเงินออนไลน์ โดยรหัสจะเข้ามาทางเบอร์โทรศัพท์ที่เชื่อมกับบัตรใบนั้น
  • Debit Cards : บัตรที่ออกโดยธนาคารที่ผูกไว้กับบัญชีเงินฝาก โดยสามารถใช้กดเงินสดหรือทำธุรกรรมออนไลน์ได้ การใช้จ่ายผ่านบัตรจะหักเงินออกจากบัญชีเงินฝากโดยตรง
  • Credit Cards : เป็นบัตรสินเชื่อบุคคลธรรมดาที่สามารถนำมาใช้จ่ายออนไลน์ได้ โดยธนาคารที่ออกบัตรจะเป็นผู้กำหนดวงเงินการใช้งาน เมื่อนำบัตรไปใช้จ่ายเท่าไหร่ต้องจ่ายคืนตามจำนวนแก่ธนาคารในระยะเวลาที่กำหนด
  • CVV : รหัส 3 ตัวบนบัตรเครดิตและเดบิท ใช้สำหรับยืนยันตัวตนของเจ้าของบัตรเมื่อทำธุรกรรมออนไลน์
  • Payment Gateway : ช่องทางการชำระเงินออนไลน์ที่คุณสามารถชำระค่าบริการ หรือจ่ายเงินซื้อของได้อย่างรวดเร็ว โดยมีช่องทางให้เลือกทั้งผ่านธนาคารโดยตรงและตัวกลางชำระเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

จะใช้งาน E-payment อย่างไรให้ปลอดภัย

การใช้บริการธุรกรรมออนไลน์หรือ E-payment ให้ปลอดภัยมีข้อสังเกตและวิธีปฏิบัติดังนี้

Online Banking

ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ดี
เมื่อต้องทำธุรกรรมออนไลน์บนมือถือ (Mobile Banking) การเชื่อมต่อ Wifi สาธารณะนั้นมีความปลอดภัยน้อยมาก โดยเฉพาะ Wifi ที่ปล่อยให้คนเข้าใช้งานได้ฟรีหลายคนอาจถูกมิจฉาชีพขโมยข้อมูลบนบัตรไปใช้งาน ทางที่ดีควรใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นเครือข่ายมือถือจะปลอดภัยกว่า

อีเมลเรียกเก็บเงินอาจมีหลุมพลางซ่อนอยู่
หลายคนที่มีอีเมลส่วนตัวจะพบว่ามีอีเมลหลายฉบับที่ไม่รู้จักส่งเข้ามาทางกล่องรับจดหมาย หลายคนเลือกที่จะมองข้ามแล้วลบทิ้งไป แต่บางคนอาจเปิดเข้าไปดูแล้วพบว่ามีการเรียกเก็บเงินจากธนาคารหรือจากแอพพลิเคชั่นต่างๆ

สิ่งที่ต้องทำคือตรวจสอบที่มาให้ชัดเจนว่าน่าเชื่อถือหรือไม่

  • ผู้ส่งมาเป็นใคร
  • อีเมลของผู้ส่งน่าเชื่อถือหรือไม่
  • การสะกดคำในอีเมลน่าเชื่อถือหรือไม่
  • คุณเคยทำธุรกรรมหรือซื้อขายอะไรกับผู้ส่งอีเมลหรือไม่ ถ้าไม่เคยก็ควรกดลบทิ้งได้เลย

ทางที่ดีควรโทรตรวจสอบกับทางธนาคารที่ส่งมาโดยตรง หรือเอาชื่ออีเมลที่ส่งเข้ามานี้ค้นหาบน Google ซึ่งถ้าเป็นมิจฉาชีพก็จะต้องมีคนพูดถึงอย่างแน่นอน

รหัสผ่านสำคัญมาก
รหัสผ่านเข้าใช้งาน Internet Banking ควรเก็บเป็นความลับ รวมถึงข้อมูลบัตรที่ใช้จ่ายต่างๆ ก็ไม่ควรกรอกหรือส่งให้ใครถ้าไม่ใช่บนเว็บไซต์ทำธุรกรรม นอกจากนี้การใช้งานแบบเข้ารหัส OTP ก็ช่วยให้มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น หากมีคนนำข้อมูลบัตรของคุณไปใช้งาน จะไม่สามารถใช้ได้เพราะรหัสนั้นส่งเข้าทางเบอร์มือถือของคุณเท่านั้น

บริการที่สามารถทำได้ด้วยธุรกรรมออนไลน์

ข้อดีของการใช้งาน E-payment ช่วยให้คุณสะดวกสบายในการใช้จ่ายเงินมากขึ้น เพราะไม่ต้องไปกดเงินสดแล้วนำไปชำระที่เคาร์เตอร์บริการให้ยุ่งยาก โดยสามารถใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ได้เลย ซึ่งระบบรองรับการจ่ายได้ทั้ง

  • Debit Cards
  • Credit Cards
  • Internet Banking ที่เชื่อมกับแอพพลิเคชั่นโดยตรงกับธนาคาร
เชื่อม Credit Cards กับแอพพลิเคชั่น

บริการ 3 รูปแบบที่คุณสามารถทำได้เลยบนออนไลน์

  1. ซื้อของออนไลน์จากทั่วโลก

    ใช้สำหรับซื้อสินค้าออนไลน์ทั้งจากในไทยและต่างประเทศผ่านระบบ Payment Gateway แบ่งเป็น
    - Payment Gateway Bank : บริการชำระโดยตรงผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร
    - Payment Gateway Non Bank : บริการชำระผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคารโดยตรง เช่น
    • PayPal
    • Amazon Payments
    • Alipay
  2. บิลค่าสาธารณูปโภค

    จ่ายบิลรายเดือนผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร หรือแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการโดยตรง เช่น
    • ค่าน้ำ
    • ค่าไฟ
    • ค่าโทรศัพท์
    • ค่าอินเทอร์เน็ต
  3. ผ่อนชำระสินเชื่อและบัตรเครดิต

    ผ่อนชำระสินเชื่อและบัตรเครดิตได้ง่ายๆ เพียงใช้แอพพลิเคชั่นของธนาคารที่คุณผูกบัญชีเงินฝากเอาไว้ ให้ตัดยอดเงินผ่อนชำระได้ผ่านระบบออนไลน์
    • ผ่อนสินเชื่อบ้าน
    • ค่าบัตรเครดิต
    • ผ่อนสินเชื่อรถและเบี้ยประกัน

หลายคนอาจจะเริ่มรู้สึกไว้วางใจการชำระเงินผ่านระบบ E-payment หรือช่องทางออนไลน์มากขึ้น หากเราใช้อย่างระมัดระวัง ก็จะทำให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น

สำหรับลูกค้าของเงินติดล้อที่ไม่สะดวกเดินทางไปชำระเงินสินเชื่อและเบี้ยประกันที่สาขา ทางเงินติดล้อมีบริการสำหรับชำระสินเชื่อรถยนต์และเบี้ยประกันผ่านระบบออนไลน์แล้ว

โดยคุณสามารถชำระง่ายๆ ผ่านระบบ Mobile Banking ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพียง Add LINE : @Tidlor ของเงินติดล้อ เพื่อขอบาร์โค้ดชำระเงินและนำไปชำระบนแอพพลิเคชั่นของธนาคาร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
ผ่อนอยู่ก็กู้ได้ ถ้าทำสินเชื่อกับบริษัทต่อไปนี้
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน), บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน), บริษัท เวิลด์ลีส จำกัด, บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท ไฮเวย์ จำกัด
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น