รวมมาตรการเงินเยียวยาจากรัฐบาลในช่วง โควิด-19

รวมมาตรการเงินเยียวยาจากรัฐบาลในช่วง โควิด-19

ขณะนี้รัฐบาลได้มีมาตรการดูแลเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในระยะที่ 3 แล้ว โดยใช้งบประมาณเพื่อจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงช่วยเหลือภาคธุรกิจและครัวเรือนให้มีสภาพคล่องชั่วคราว

ในบทความนี้ได้รวบรวมมาตรการเยียวยาจากรัฐบาล ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจนทำให้ขาดรายได้ในช่วงวิกฤติ มาดูกันว่ามีมาตรการไหนบ้างที่คุณสามารถรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลได้

มาตรการช่วยเหลือแรงงานจากผลกระทบ โควิด-19

รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตนที่อยู่ในประกันสังคม ได้แก่

  • มาตรา 33 = พนักงานเอกชน และลูกจ้างในสถานประกอบการที่ทำงานให้นายจ้าง
  • มาตรา 39 = ผู้ประกันตนภาคสมัครใจที่มีเหตุให้ออกจากงาน หรือผู้ที่ออกจากงานมาเป็นผู้ประกอบการเอง แต่ยังคงสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมเอาไว้ โดยต้องสมัครในระยะเวลา 6 เดือนหลังออกจากงาน และเคยประกันตนตามมาตรา 33 อย่างน้อย 12 เดือน
  • มาตรา 40 = ผู้ประกอบอาชีพอิสระและแรงงานนอกระบบ เช่น ค้าขาย วินมอเตอร์ไซค์ รับจ้างอิสระเกษตรกร

ลดอัตราเงินสมบทประกันสังคม

 

  1. “เราไม่ทิ้งกัน” มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท

    ผู้ที่สามารถรับเงินเยียวยาจากมาตรการนี้ ต้องเป็นผู้ประกันตนที่อยู่ในประกันสังคมตามมาตรา 39 และ 40 เท่านั้น โดยผู้ที่เข้าเงื่อนไขจะได้รับเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน

    เราไม่ทิ้งกัน

    เงื่อนไขของผู้ที่จะได้รับเงินเยียวยา

    • ประกันสังคม ประกันตนตามมาตรา 39 และ 40
    • ผู้ที่เข้าเงื่อนไขได้แก่ ผู้ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล, คนขับแท็กซี่, วินมอเตอร์ไซต์, มัคคุเทศก์, รับจ้างอิสระ
    • อายุ 18-60 ปีที่ยังทำงานรับจ้างหรือค้าขาย และได้รับผลกระทบจากโควิด-19
    • สำหรับอาชีพเกษตรกรจะไม่เข้าเงื่อนไขรับเงินเยียวยา แต่จะมีมาตรการสำหรับช่วยเหลือเกษตรกรโดยเฉพาะ เร็วๆ นี้

    วิธีการลงทะเบียนสำหรับผู้ที่เข้าเงื่อนไข

    • เข้าไปที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
    • เลือกลงทะเบียนมาตรการฯ
    • กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
    • รอ SMS ยืนยันผลการลงทะเบียน
  2. ยืดระยะเวลาการเสียภาษี

    ขยายเวลาให้จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา (ภงด 90 และ ภงด 91) ออกไปถึงเดือนสิงหาคม 2563

  3. ลดอัตราเงินสมบทประกันสังคม

    จ่ายประกันสังคมในเดือน มีนาคม - พฤษภาคม 2563 ในอัตราที่ถูกลงทั้งนายจ้างและลูกจ้าง โดยนายจ้างลดจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 4 ของค่าจ้าง และผู้ประกันตนลดจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 1

โครงการสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราว

สำหรับมาตรการรับเงินเยียวยา 5 พันบาท บางอาชีพไม่เข้าข่ายที่สามารถรับเงินได้ จึงมีโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือให้มีสภาพคล่องชั่วคราวจากสถาบันการเงิน ที่ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 40 สำหรับนำไปประคับประคองธุรกิจหรือรายได้ที่ขาดหายไป

สินเชื่อฉุกเฉิน

สินเชื่อฉุกเฉินโดยธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวสำหรับการดำรงชีวิตแก่บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ประกอบอาชีพอิสระมีรายได้ไม่เกินเดือนละ 30,000 บาท เช่น ค้าขาย คนขับรถโดยสาร คนนำเที่ยว

  • วงเงินไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย
  • ไม่ต้องมีหลักประกัน
  • อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.1 ต่อเดือน
  • ระยะเวลาผ่อนชำระ 2 ปี 6 เดือน
  • มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป

สินเชื่อพิเศษ

สินเชื่อพิเศษเพิ่มเติมจากธนาคารออมสิน ที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวกับบุคคลที่มีรายได้ประจำ เช่น ผู้ประกอบการ ผู้มีอาชีพอิสระและลูกจ้าง ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

  • วงเงินรายละ 50,000 บาท
  • มีหลักประกันเป็นบุคคลหรือสินทรัพย์
  • อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน
  • ผ่อนชำระคืนใน 3 ปี
  • มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป

จำนำดอกเบี้ยต่ำ

สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับสำนักงานธนานุเคราะห์หรือโรงรับจำนำรัฐบาล คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกิน 0.125 ต่อเดือนเป็นเวลา 2 ปี

มาตรการอื่นๆ สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19

นอกจากนี้ยังมีมาตรการที่ช่วยสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในด้านสาธารณูปโภค ทั้งปรับลดอัตราค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า 3% เป็นเวลา 3 เดือน และคืนเงินจากประกันการใช้ไฟฟ้าตามขนาดมิเตอร์ สำหรับบ้านที่อยู่อาศัยหรือกิจการขนาดเล็ก

เงินคืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้านครหลวง

เงินคืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้านครหลวง

ประกันมิเตอร์ไฟฟ้านครหลวงสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ และนนทบุรี สามารถตรวจสอบสิทธิ์และลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง https://www.mea.or.th/

โดยใช้ข้อมูล

  • ชื่อ - นามสกุล ของผู้วางหลักประกัน
  • หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
  • หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
  • อีเมล
  • หมายเลขบัญชีแสดงสัญญา 9 หลัก (CA) ดูได้จากใบแจ้งค่าไฟฟ้า
ตรวจสอบสิทธิ์และลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง

เงินคืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

เงินคืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ตรวจสอบสิทธิ์และลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค https://www.pea.co.th/

โดยใช้ข้อมูล

  • ชื่อ - นามสกุลของผู้ใช้ไฟฟ้า
  • หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า ดูได้จากบิลค่าไฟ
  • หมายเลขบัตรประชาชน
  • เลขบัญชีธนาคาร หรือเลขบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ตรวจสอบสิทธิ์และลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ขอเงินคืนประกันใช้น้ำประปาของ การประปาส่วนภูมิภาค

ขอเงินคืนประกันใช้น้ำประปาของ การประปาส่วนภูมิภาค

สำหรับผู้ที่ใช้น้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค ตรวจสอบสิทธิ์และลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.pwa.co.th โดยกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วรอ SMS ตอบกลับเพื่อแจ้งผล

ฟรีอินเทอร์เน็ต 10 GB จาก กสทช.

การขอรับฟรีอินเทอร์เน็ตบนมือถือมีเงื่อนไขคือ

  • เบอร์มือถือจดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย
  • รับสิทธิ์ได้ทุกเครือข่ายมือถือ
  • ขอรับได้ทั้งมือถือแบบเติมเงินและรายเดือน
  • ยกเว้นเบอร์ที่จดทะเบียนแบบนิติบุคคล และผู้ที่ใช้แพคเกตอินเทอร์เน็จแบบไม่อั้น

ซึ่งผู้ที่เข้าเงื่อนไขสามารถลงทะเบียนขออินเทอร์เน็ตมือถือฟรี 10 GB ระยะเวลา 30 วัน โดยขอได้ 1 คนต่อ 1 สิทธิ์เท่านั้น

ฟรีอินเทอร์เน็ต 10 GB จาก กสทช.
  • กด *170* รหัสบัตรประชาชน 13 หลัก # แล้วโทรออก
  • รอ SMS ยืนยันการรับสิทธิ์

ขอรับการเยียวยาได้ง่ายด้วยตนเอง

จะเห็นได้ว่าหลายมาตรการคุณสามารถทำได้เองที่บ้านผ่านบนเว็บไซต์หรือแอพลลิเคชั่นบนมือถือ เพียงคุณเข้าเงื่อนไขและทำตามขั้นตอนก็ได้รับเงินเยียวยาเช่นเดียวกัน

แต่สำหรับใครที่ใช้มือถือไม่คล่องหรือลงทะเบียนไม่เป็น ทางเงินติดล้อยินดีช่วยสอนและให้คำแนะนำในการลงทะเบียน โดยสามารถเข้ามาติดต่อได้ที่เงินติดล้อสาขาที่อยู่ใกล้คุณ แล้วเราจะผ่านเหตุการณ์นี้ไปด้วยกันครับ

มีปัญหาปรึกษาฟรี
เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น