หน้าแรก ติดล้อสตอรี่ วัฒนธรรมเงินติดล้อ “ภูมิคุ้มกัน” ในยุคโควิด-19

วัฒนธรรมเงินติดล้อ “ภูมิคุ้มกัน” ในยุคโควิด-19

29 พฤศจิกายน 2564
วัฒนธรรมเงินติดล้อ “ภูมิคุ้มกัน” ในยุคโควิด-19

ในหลายองค์กร การโถมกระหน่ำของโควิดอาจส่งผลสะเทือนให้ยากต่อการยืนหยัด แต่สำหรับเงินติดล้อ วิกฤติจากโควิดคือบททดสอบที่เป็นรูปธรรมในการวัดระดับความแข็งแกร่งของ “ภูมิคุ้มกัน” ที่พัฒนามาจากความแข็งแรงของวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรของเงินติดล้อ ทำไมเงินติดล้อสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งได้แบบทุกวันนี้…ตามมาดูคำตอบกัน

การสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรเงินติดล้อเริ่มต้นสร้างอย่างไร

ทีม Culture Gangster ของเงินติดล้อเล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์กรเงินติดล้อว่าเกิดจากแนวคิดของ “คุณหนุ่ม” ปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) ที่อยากให้พนักงานทุกคนมีความเชื่อ และมีแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องไปในทางเดียวกัน เพื่อให้การมุ่งไปสู่เป้าหมายหรือการหมุนไปสู่ความสำเร็จมีความชัดเจนและมีโอกาสเป็นไปได้สูงขึ้น เราจึงเริ่มต้นจากการลงมือปฏิบัติ ผ่านการเวิร์คช้อปและการศึกษาผ่านหนังสือมากมาย เพื่อให้เข้าใจ และค้นหา Why และ How ที่ใช่และเหมาะสมกับองค์กรจริงๆ

กระทั่งนำมาสู่การร่วมกันสร้างค่านิยมองค์กรของเงินติดล้อ โดยรวบรวมจากตัวอย่างการประพฤติปฏิบัติ และวิถีการทำงานของคนในองค์กรที่มีอยู่แล้ว และคัดเลือกในสิ่งที่ทุกคนในองค์กรเห็นร่วมกันว่าคือพฤติกรรมที่ใช่ และสะท้อนความเป็นชาวเงินติดล้อได้อย่างเด่นชัด

และยังมีทีม Culture Hero ที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมของเงินติดล้อ ที่เป็นผลมากจากเกมออนไลน์ ‘ยิ่งรู้จักยิ่งรักกัน’ เครื่องมือที่ใช้วัดความสัมพันธ์ของชาวเงินติดล้อ พวกเขาคือกลุ่มคนที่เพื่อนร่วมทีม หรือเพื่อนร่วมงานจากแผนกและฝ่ายต่างๆ รู้จักและไว้ใจ เป็นคนที่สามารถสร้างแรงจูงใจและนำกิจกรรมต่างๆ ของการสร้างวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงกิจกรรม Culture Bootcamp ที่จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมของเงินติดล้อ โดยแนวทางกิจกรรมในแต่ละช่วงเวลาจะเกิดขึ้นจากการประเมินผลของผลลัพธ์ก่อนหน้านี้ หากมีค่านิยมในข้อไหนที่ควรได้รับการปรับปรุง ทุกคนก็จะระดมกำลังและความคิดเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ขึ้นมาเพื่อสื่อสาร และถ่ายทอดให้ชาวเงินติดล้อได้ร่วมกันทำ เพื่อตอกย้ำถึงวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรของเงินติดล้อข้อนั้นๆ ให้เข็มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่ง Culture Hero ในแต่ละรุ่นก็จะส่ง-รับไม้ต่อในการเป็นผู้นำของกิจกรรม Culture Bootcamp รวมถึงช่วยทำหน้าที่สื่อสารถ่ายทอดวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรให้กับชาวเงินติดล้ออย่างเหนียวแน่นจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป

อุปสรรคที่ต้องข้ามผ่าน

ก่อนที่วัฒนธรรมและค่านิยมเงินติดล้อจะกลายมาเป็น ‘ภูมิคุ้มกัน’ ที่แข็งแกร่งอย่างวันนี้ได้ แน่นอนว่าทุกอย่างไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างราบรื่น เพราะการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่เหมือนมาม่าที่ฉีกซองแล้วกินได้ทันที

“เราลองผิดลองถูกกันมาเยอะ ตั้งแต่เริ่มต้นที่เราปรึกษาเอเจนซี่ให้เขามาช่วยคิด Core Values ให้ แต่มันยังไม่สุด เพราะไม่สามารถทำให้พนักงานของเราเข้าใจได้มากพอ ถึงแม้จะมีแนวทางจากการศึกษาค้นคว้ามาช่วย แต่เราก็ยังต้องทำเวิร์คช้อปร่วมกันหลายครั้งมาก และจนกระทั่งตกผลึกเป็นค่านิยม 7 ข้อ ในที่สุด แต่เมื่อลองวัดผลครั้งแรกก็พบว่าชาวเงินติดล้อเข้าใจวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรอย่างชัดเจนเพียงแค่ 6% เท่านั้น จึงเป็นที่มาของความพยายาม ความตั้งใจที่จะสื่อสาร ตอกย้ำความเข้าใจในวัฒนธรรมและค่านิยมเงินติดล้ออย่างเข้มข้นและอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ด้านความเข้าใจในวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรเงินติดล้อดีขึ้นเรื่อยๆ”

โควิด: บททดสอบ “ภูมิคุ้มกัน” ของเงินติดล้อ

ในสถานการณ์โควิดที่ทุกคน ทุกองค์กรต่างถูกท้าทายให้ต้องปรับตัว วัฒนธรรมและค่านิยมเงินติดล้อก็ยิ่งได้รับการพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่าเป็น ‘ภูมิคุ้มกัน’ และ ‘เครื่องนำทาง’ ที่นำพาชาวเงินติดล้อ ลูกค้า และองค์กรให้สามารถหมุนต่อและผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

เพราะเมื่อชาวเงินติดล้อทุกคน ทุกทีม ต่างร่วมกันดึงค่านิยมทั้ง 7 ข้อออกมาใช้อย่างสุดพลังในช่วงสถานการณ์โควิด ก็ทำให้สิ่งที่ ‘ไม่น่าจะเป็นไปได้’ หลายอย่างเกิดขึ้นและ ‘เป็นไปได้’ ที่เงินติดล้อ

เช่น ความพยายามช่วยเหลือลูกค้าด้วยความจริงใจ แม้รู้ว่าจะต้องสูญเงินไปเกือบ 500 ล้านบาท จากการยกเว้นดอกเบี้ยให้กับลูกค้า นอกเหนือไปจากมาตรการของรัฐในการพักชำระหนี้ และการระดมพลังเพื่อร่วมมือกันของทีมหน้าบ้านและหลังบ้าน ทีมสาขา ทีม Collections ทีม IT และทีม Operations เพื่อช่วยเหลือลูกค้าตามแนวทางของบริษัทอย่างเต็มกำลัง จนพนักงานทุกคนแทบไม่มีเวลาได้หยุดพัก ความทุ่มเทของทีมงานในการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น แอปพลิเคชั่นเงินติดล้อ แชทบอท เพื่อมาช่วยอำนวยความสะดวกและตอบคำถามให้กับลูกค้าได้ทันเวลา ในช่วงที่โควิดทำให้การเข้าไปติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านสาขาทำได้ยากขึ้น

และรวมถึงการร่วมมือร่วมใจของทีมงานทุกคนเพื่อผลักดันภารกิจ IPO ให้สำเร็จแข่งกับเวลาและสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด พร้อมสถิติการใช้เวลาเพื่อเข้า IPO น้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ และยังเป็นการ IPO ที่สร้างสถิติใหม่หลายอย่างในตลาดหลักทรัพย์

นอกจากความทุ่มเทเพื่อช่วยเหลือลูกค้า ชาวเงินติดล้อยังได้แสดงออกถึงหัวใจที่เสียสละ เพื่อนำพาเพื่อนชาวเงินติดล้อให้รอดไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการรวมพลังของทีม Happy People (HP) เพื่อช่วยเหลือหาเตียงให้กับเพื่อนชาวเงินติดล้อและครอบครัวที่ติดเชื้อโควิด-19 ตลอด 24 ชั่วโมง การตั้งทีมอาสาเฉพาะกิจ ‘Hotline สายแคร์” เพื่อคอยช่วยเหลือดูแลจิตใจให้กับชาวเงินติดล้อ และมีบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิตโดยนักจิตวิทยามืออาชีพ ทั้งนี้เพื่อทำให้ชาวเงินติดล้อทุกคนรู้สึกคลายกังวลจากเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของโควิด-19 ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ล้วนสะท้อนค่านิยมร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันของชาวเงินติดล้อ

“ในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิดยังคงหนักหน่วง แม้แต่ทีมผู้บริหารซึ่งมีภาระงานเต็มมือ ก็พร้อมให้กำลังใจชาวเงินติดล้อทุกคนว่าให้ สู้... อีกไม่นานจะได้กลับมาทำงานด้วยกัน รวมถึงยังมีการส่ง Disney Plus ไปให้ชาวเงินติดล้อทุกๆ คนและครอบครัวเพื่อให้ได้ผ่อนคลายในช่วงที่ต้องทำงานแบบ Work From Home ด้วย”

เนื่องจากโควิดได้กลายเป็นโจทย์ใหม่สำหรับสังคมและองค์กรต่าง ๆ ให้ต้องปรับตัว เปลี่ยนวิธีการสื่อสารและวิธีการทำงาน ชาวเงินติดล้อที่มีค่านิยมพร้อมที่เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ก็สามารถปรับตัวและนำจุดแข็งเช่นเรื่องเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานแบบ Work From Home ได้ 100 เปอร์เซ็นต์โดยไม่มีอุปสรรค ขณะเดียวกันสาขาเองก็ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ แต่ทางผู้บริหารก็ไม่ได้ละเลยเรื่องมาตรการความปลอดภัยของพนักงาน มีการสนับสนุนอุปกรณ์ในการดูแลและป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่ ซึ่งความดูแลเอาใจใส่และเห็นคุณค่าของพนักงานถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรยังคงหมุนได้ต่อไป

จากสถานการณ์นี้ ทำให้เห็นชัดเจนว่าแม้โควิดอาจจะแยกให้ทุกคนต้องทำงานห่างกัน แต่วัฒนธรรมองค์กรเงินติดล้อยังคงเชื่อมชาวเงินติดล้อให้เข้ามาใกล้ชิดกันได้ ผ่านการจัดกิจกรรม Culture ต่างๆ โดยทีม Culture Gangster และแรงสนับสนุนอย่างเต็มที่จากพี่ๆ ผู้บริหาร

วัฒนธรรมที่แข็งแกร่งที่เป็น“ภูมิคุ้มกัน” สำคัญของเงินติดล้อนี้ ได้รับการการันตีจากเวที นายจ้างดีเด่น ที่จัดขึ้นโดย World HRD Congress ถึง 2 ปีซ้อน และปีนี้เงินติดล้อได้รับถึง 2 รางวัล คือ Best Employer Brand Awards 2021 และ Dream Employer of the year 2021 เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยยืนยัน ‘คุณภาพ’ ของชาวเงินติดล้อ การใช้ชีวิต การทำงาน ตามวิถีของความเชื่อจากวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร ที่ทุกคนต่างมีส่วนร่วมช่วยกันสร้างได้เป็นอย่างดี

และนี่คือเรื่องราวของ ‘วัฒนธรรมองค์กร’ ซึ่งไม่เพียงเป็น“ภูมิคุ้มกัน” ให้กับเงินติดล้อ แต่ยังเป็นที่พึ่งให้กับลูกค้าและมีส่วนช่วยให้สังคมได้หมุนผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

TIDLOR wins Asia's Best Employer Brand Awards 2021

คำแนะนำเพื่อสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร

  • ค้นหา Why และ How ขององค์กรให้เจอ เพื่อค้นหาทิศทางที่เหมาะสมกับองค์กร
  • ศึกษาความรู้จากหนังสือและองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้างวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง เพื่อหาแนวคิดมาปรับใช้
  • กล้าที่จะคิดลองผิด ลองถูก เพราะวัฒนธรรมองค์กรไม่มีสูตรสำเร็จ
  • เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคน ทุกฝ่ายในองค์กรได้มีส่วนร่วม เพราะวัฒนธรรมขององค์กรไม่ได้เกิดขึ้นจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
  • เอาใจใส่ และให้คุณค่ากับพนักงานทุกคน เพื่อทำให้องค์กรเดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคง
  • ความสม่ำเสมอในการสื่อสารและจัดกิจกรรมที่ตอกย้ำวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ทุกคนเห็นเป้าหมายเดียวกัน
  • เครื่องมือวัดผลที่เหมาะสมและการวัดผลเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อนำไปปรับปรุงและต่อยอดอย่างสม่ำเสมอ
เงินติดล้อ

ติดล้อสตอรี่โดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น