หน้าแรก บทความ ไลฟ์สไตล์ เงินประกันสังคมที่จ่ายทุกเดือน ให้สิทธิอะไรแก่เราบ้าง

เงินประกันสังคมที่จ่ายทุกเดือน ให้สิทธิอะไรแก่เราบ้าง

เงินประกันสังคมที่จ่ายทุกเดือน ให้สิทธิอะไรแก่เราบ้าง
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
ผ่อนอยู่ก็กู้ได้ ถ้าทำสินเชื่อกับบริษัทต่อไปนี้
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน), บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน), บริษัท เวิลด์ลีส จำกัด, บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท ไฮเวย์ จำกัด
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

สำหรับใครที่เป็นพนักงานประจำต่างก็ต้องรู้จักกับประกันสังคมอย่างแน่นอน เพราะในทุก ๆ เดือนส่วนหนึ่งของเงินเดือนจะถูกหักออกไปเป็นเงินประกันสังคมนั่นเอง แต่สงสัยกันหรือไม่ว่าเงินที่ถูกหักออกไปนั้น ถูกนำไปใช้เพื่ออะไร และให้สิทธิอะไรแก่เราบ้างนะ?

มาดูกันว่าเงินประกันสังคมที่เราจ่ายไปในทุก ๆ เดือนนั้น ให้สิทธิพิเศษและการคุ้มครองใดกับเราบ้าง หาคำตอบได้ภายในบทความนี้เลยครับ!

ไขข้องสงสัย! เงินประกันสังคมที่จ่ายไป มอบสิทธิพิเศษอะไรแก่เราบ้าง

มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าเงินประกันสังคมที่ถูกหักไปนั้น มีไว้เพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองจากรัฐบาลเพื่อสร้างมั่นคงให้กับประชาชน โดยจะหักเป็นจำนวนทั้งหมด 5% ของเงินเดือน แต่สูงสุดไม่เกิน 750 บาท

จำนวนเงินที่จ่ายไป 750 บาทนั้น จะถุกแบ่งออกเป็น 3 สิทธิคุ้มครอง ได้แก่

  • ส่วนที่ 1: 225 บาท จะถูกนำไปคุ้มครองในแง่ของสุขภาพ การคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต แต่ถ้าสิทธินี้ไม่เคยถูกใช้ เงินจำนวนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้รับคืน
  • ส่วนที่ 2: 75 บาท จะถูกนำมาใช้เป็นเงินสมทบกรณีว่างงาน หรือตกงาน แต่ถ้าสิทธินี้ไม่เคยถูกใช้ เงินจำนวนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้รับคืนเช่นเดียวกัน
  • ส่วนที่ 3: 450 บาท จะถูกเก็บเป็นเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ หรือเรียกว่า “กองทุนชราภาพ” โดยจะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

ซึ่งแต่ละสิทธินั้นมีรายละเอียดการคุ้มครองด้วยกัน ดังนี้

สิทธิคุ้มครองด้านสุขภาพ

  • กรณีเจ็บป่วย

    เงื่อนไข: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเข้ารับการรักษา

    คุ้มครองกรณีเจ็บป่วยจนต้องเข้ารับบริการทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา รวมถึงค่าอุปกรณ์การบำบัดรักษาโรค บริการด้านทันตกรรม การปลูกถ่ายไขกระดูก เปลี่ยนอวัยวะกระจกตา และเงินทดแทนขาดรายได้ขณะเจ็บป่วยอีกด้วย

    เบิกค่าคลอดบุตร
  • เบิกค่าคลอดบุตร

    เงื่อนไข: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนคลอดบุตร

    ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายได้ 13,000 บาทต่อการคลอด 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง) สามารถเบิกเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน (เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)

    เงินสมทบกรณีทุพพลภาพ
  • เงินสมทบกรณีทุพพลภาพ

    เงื่อนไข: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นทุพพลภาพ

    สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง (เฉพาะสถานพยาบาลของรัฐ) และได้รับเงินทดแทนขาดรายได้เป็นอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างเฉลี่ยในทุก ๆ เดือนตลอดชีวิต

    รวมถึงค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายของผู้ทุพพลภาพ ทั้งร่างกาย จิตใจ เป็นจำนวนไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย ค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์ และค่าพาหนะเดินทางรับ - ส่งผู้ทุพพลภาพ 500 บาทต่อเดือน

  • เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต

    เงื่อนไข: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนเสียชีวิต

    ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท และเงินสงเคราะห์จากการเสียชีวิตเป็นจำนวนดังนี้

    1. กรณีที่ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
    2. กรณีที่ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน

เงินสมทบกรณีว่างงาน

  • กรณีถูกเลิกจ้าง

    เงื่อนไข: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนถูกเลิกจ้าง โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ www.empui.doe.go.th

    ได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วันต่อปี

  • กรณีลาออก

    เงื่อนไข: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนลาออก โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ www.empui.doe.go.th

    ได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วันต่อปี

กองทุนชราภาพ

กองทุนชราภาพ

เงินสมทบที่ได้รับจากกองทุนชราภาพนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 4 กรณีตามแต่จำนวนเดือนที่ได้ทำการจ่ายเงินประกันสังคม โดยแต่ละกรณีจะมีรายละเอียดดังนี้

  • กรณีที่จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือน: ได้รับบำเหน็จชราภาพคืนตามจำนวนที่จ่ายจริง
  • กรณีที่จ่ายเงินสมทบเกิน 12 เดือนแต่ไม่ถึง 180 เดือน: ได้รับบำเหน็จชราภาพตามจำนวนที่จ่ายจริง รวมกับส่วนที่นายจ้างจ่ายสมทบมาให้ด้วย
  • กรณีที่จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน: ได้รับบำนาญชราภาพคืนในทุก ๆ เดือน เป็นจำนวนเท่ากับอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

    ยกตัวอย่างเช่น 60 เดือนสุดท้ายได้รับเงินเดือนอยู่ที่ 20,000 บาท จะได้รับเงินบำนาญร้อยละ 20 หรือเท่ากับ 4,000 บาทต่อเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต

  • กรณีที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน: ได้รับบำนาญชราภาพคืนในทุก ๆ เดือน เป็นจำนวนเท่ากับอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย บวกเพิ่มอีก 1.5% ต่อปีจากส่วนที่เกินมา

    ยกตัวอย่างเช่น 60 เดือนสุดท้ายได้รับเงินเดือนอยู่ที่ 20,000 บาท จะได้รับเงินบำนาญร้อยละ 20 หรือเท่ากับ 4,000 บาท บวกเพิ่มอีก 1.5% ต่อปี หากผู้ประกันตนจ่ายเพิ่มอีก 5 ปี (1.5% x 20,000 บาท x 5 ปี = 1,500 บาท)

    เท่ากับว่าผู้ประกันตนจะได้รับบำนาญชราภาพเป็นจำนวน 5,500 บาทต่อเดือนไปจนกว่าจะเสียชีวิต

หมายเหตุ: หากผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อน แต่ได้รับเงินบำนาญจากกองทุนชราภาพยังไม่ถึง 60 เดือน (5 ปี) จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญที่ได้รับเป็นงวดล่าสุด (เช่น งวดล่าสุดได้รับมา 6,000 บาท จะได้รับเงิน 60,000 บาท)

สรุป

เพียงเท่านี้หลาย ๆ คนคงทราบถึงประโยชน์ของเงินประกันสังคมที่เรานั้นจ่ายไปทุก ๆ เดือนแล้วว่าไม่ได้สูญเปล่าอย่างแน่นอน แต่เป็นสิทธิในการประกันตนพื้นฐานที่ทุก ๆ คนควรมี เพื่อป้องกันการเกิดเหตุด่วนเหตุร้ายฉุกเฉิน รวมไปถึงการใช้ชีวิตในยามที่เราแก่เกษียณ ช่วยให้คุณหมดห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายไปได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

แต่นอกเหนือจากประกันสังคมที่เป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานแล้ว อย่าลืมใส่ใจความปลอดภัยบนท้องถนนจากอีกหนึ่งประกันจากรัฐบาล นั่นก็คือ พ.ร.บ. รถยนต์นั่นเองครับ

เลือกช่องทางที่ง่ายกว่า ด้วยการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน “เงินติดล้อ” จัดการได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก เพียง 5 ขั้นตอน ไม่เกิน 5 นาทีรถของคุณก็สามารถต่อ พ.ร.บ. ใหม่เอี่ยมได้เรียบร้อย!

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
ผ่อนอยู่ก็กู้ได้ ถ้าทำสินเชื่อกับบริษัทต่อไปนี้
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน), บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน), บริษัท เวิลด์ลีส จำกัด, บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด, บริษัท ไฮเวย์ จำกัด
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น