ถ่ายรูปลูกค้าลงเพจร้านค้า จะผิดกฎหมายถ่ายรูป PDPA ไหม?

ถ่ายรูปลูกค้าลงเพจร้านค้า จะผิดกฎหมายถ่ายรูป PDPA ไหม?
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

พ่อค้าแม่ค้าที่เปิดเพจร้านค้าออนไลน์ก็อยากมีรูปรีวิวสินค้าไปลงในเพจ เพราะเป็นอีกวิธีที่สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้ารู้ว่าร้านค้าออนไลน์ของคุณมีลูกค้าจริง ขายจริง ส่งของจริง ไม่ได้จะโกงใคร แต่ในตอนนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องราวของกฎหมาย PDPA กำลังมาแรง ทำให้ร้านค้าออนไลน์ต้องคิดหนักเวลาถ่ายรูปรีวิวสินค้าแล้วติดหน้าคนอื่นๆ ว่าจะลงในเพจดีหรือเปล่า เพราะไม่รู้ว่าถ่ายรูปคนอื่นจะผิดกฎหมาย PDPA ไหม กลัวโดนฟ้องเป็นเรื่องราวแล้วเสียชื่อร้านค้าจนเสียลูกค้า ดังนั้น เงินติดล้อจึงนำเรื่องราวของกฎหมาย PDPA มาฝากกัน!

พ.ร.บ.PDPA คืออะไร เริ่มใช้กฎหมาย PDPA เมื่อไหร่

กฎหมาย PDPA คืออะไร เมื่อไหร่บังคับใช้ พ.ร.บ.PDPA?

กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act) คือกฎหมายควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ทางภาคเอกชนและภาครัฐจะเก็บรวบรวมข้อมูลของเจ้าของข้อมูลเอาไว้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว ซึ่งก่อนที่ภาคเอกชนและภาครัฐจะเก็บข้อมูลในส่วนนั้นได้ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน หากเจ้าของข้อมูลไม่สะดวกใจ รู้สึกไม่ปลอดภัยต่อการเก็บข้อมูลครั้งนั้นสามารถปฏิเสธได้ ซึ่งในส่วนของเจ้าของข้อมูล เมื่อถูกเก็บข้อมูลไปแล้ว มีสิทธิ์กระทำการต่างๆ ดังนี้

  • สิทธิ์ในการรับแจ้งให้ทราบถึงรายละเอียดต่างๆ
  • สิทธิ์ในการขอระงับใช้ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ
  • สิทธิ์ในการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว
  • สิทธิ์ในการยกเลิกการให้ข้อมูลส่วนตัว
  • สิทธิ์ในการเข้าถึงสำเนาของข้อมูลส่วนตัว
  • สิทธิ์ในการไม่ยินยอมให้เก็บข้อมูล ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
  • สิทธิ์ในการขอลบหรือทำลายข้อมูลส่วนตัวที่ถูกเก็บไป

ทั้งนี้ กฎหมาย PAPD เริ่มประกาศใช้ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านนี่เอง

แล้วทำไมร้านค้าออนไลน์เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ด้วย?

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์อาจสงสัยว่าแล้วกฎหมาย PDPA เกี่ยวอะไรกับการทำธุรกิจออนไลน์ ในเมื่อก็แค่ค้าขายของออนไลน์​ ตอบแชท จ่ายเงิน ส่งของแล้วก็จบกัน แต่อย่าลืมว่าการส่งของลูกค้าก็ต้องได้รับข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าก่อน หรือในกรณีที่ร้านค้าออนไลน์มีการจ่ายเงินผ่านบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ลูกค้าก็ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไป เงินติดล้อถึงบอกว่ากฎหมาย PDPA เกี่ยวข้องกับร้านค้าออนไลน์โดยตรง ซึ่งร้านค้าจะถูกเรียกว่าผู้ควบคุมข้อมูลส่วนตัวและผู้ประมวลข้อมูลส่วนตัวตามกฎหมาย PDPA นั่นเอง

ข้อมูลส่วนตัวตาม กฎหมาย PDPA มีอะไรบ้าง

ข้อมูลส่วนตัวที่ร้านค้าจะได้รับตามกฎหมาย PDPA มีอะไรบ้าง?

เมื่อคุณได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลส่วนตัวให้เก็บรักษาก็ควรที่จะทำตามเงื่อนไขของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วย ซึ่งข้อมูลส่วนตัวที่ว่าที่ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐมีสิทธิ์เข้าถึง คือ

  • ชื่อและนามสกุล
  • ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล
  • ข้อมูลทางการเงิน
  • เชื้อชาติ ศาสนา และปรัชญา
  • พฤติกรรมทางเพศ
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลสุขภาพ

ซึ่งเงินติดล้อคิดว่าในฐานะที่คุณเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เปิดร้านขายของออนไลน์ไม่ว่าจะผ่านเพจร้านค้า Facebook หรือเว็บไซต์ขายของออนไลน์ อย่างน้อยต้องได้ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไปประมาณ 5 อย่างแน่นอน ดังนั้น เมื่อคุณมีข้อมูลส่วนตัวลูกค้าก็ควรเก็บรักษาให้ดี ห้ามเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตเด็ดขาด

ถ่ายรูปรีวิวสินค้าแล้วติดหน้าคนอื่นจะผิดกฎหมาย PDPA ไหม?

หากคุณสงสัยว่าทำไมการถ่ายรูปถึงมีเอี่ยวในกฎหมาย PDPA ด้วย หรือทำไมการถ่ายรูปติดคนอื่นถึงผิดกฎหมาย คำตอบคือรูปถ่ายเป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่สามารถสืบค้นไปยังตัวตนของผู้อื่นได้ การที่ร้านค้าออนไลน์หลายร้านๆ กำลังวิตกกังวลเรื่องถ่ายรูปรีวิวสินค้าแล้วติดหน้าคนอื่นแล้วจะผิดกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ถูกแล้ว

เพื่อไขข้อสงสัยและคลายความกังวลแก่การถ่ายรูปติดหน้าคนอื่นแล้วจะผิดกฎหมาย ทาง Facebook ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPC Thailand ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายรูปติดหน้าคนอื่นเอาไว้ด้วยครับ ซึ่งระบุข้อมูลเรื่องการถ่ายรูปติดหน้าคนอื่นตามกฎหมาย PDPA เอาไว้ คือ

ถ่ายรูปรีวิวสินค้า ติดหน้าคนอื่น ผิดกฎหมายถ่ายรูปไหม?

ถ่ายคลิปหรือรูปติดหน้าคนอื่นจะผิดกฎหมาย PDPA ไหม?

การถ่ายคลิปหรือรูปแล้วติดหน้าคนอื่นด้วยความไม่เจตนาและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับบุคคลที่ 3 และนำไปใช้วัตถุประสงค์ส่วนตัวไม่ผิดกฎหมายถ่ายรูป PDPA แต่อย่างใด

คลิปหรือรูปติดหน้าคนอื่นแล้วนำไปโพสต์ผิดกฎหมาย PDPA ไหม?​

เวลาถ่ายรูปหรือคลิปมักจะติดหน้าคนอื่นๆ มาด้วย แต่ก็อยากจะโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ซึ่งจริงๆ ถ้าหากทำเพื่อส่วนตัวไม่ได้แสวงหากำไร และไม่ทำให้คนในรูปเสียหาย สามารถโพสต์ได้เลยไม่ผิดกฎหมาย PAPD

อ่านถึงตรงนี้เงินติดล้อเข้าใจมากๆ ว่าเวลาถ่ายรูปสินค้าหรือรีวิวอะไรสักอย่าง ก็อยากจะโพสต์ลง Facebook หรือโซเชียลมีเดียอื่นๆ ของร้านค้า เพราะลงทุนทำธุรกิจไปตั้งเยอะอยากได้รูปคุณภาพดีๆ ก็เลยไปซื้อมือถือใหม่เพื่อที่จะได้ถ่ายรูปสินค้าในมือถือให้สวยๆ เมื่อหมุนเงินในธุรกิจไม่ทันก็ไปกู้สินเชื่อทะเบียนรถยนต์มา แต่กลับโพสต์รูปสินค้าไม่ได้เพราะติดกฎหมาย PDPA อาจทำให้ขาดทุนได้ แต่เงินติดล้อคิดว่าเรื่องนี้มีทางออก เพียงคุณขออนุญาตบุคคลในรูปได้เลย ถ้าเขาอนุญาตก็โพสต์ลงเพื่อขายของได้เลย หรือถ้าเขาอนุญาตลงแต่มีทีท่าไม่ค่อยสะดวกใจคุณอาจยื่นข้อเสนอว่าเดี๋ยวจะใช้วิธีปิดบังใบให้ก่อนลงก็เป็นวิธีที่ดีเหมือนกัน

สรุป

กฎหมาย PDPA มีขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล โดยเจ้าของข้อมูลสามารถยินยอมหรือปฏิเสธการเก็บข้อมูลของภาครัฐและเอกชนได้ตามความสะดวกใจ ซึ่งร้านค้าออนไลน์ก็มีส่วนในเรื่องกฎหมาย PDPA เพราะต้องเก็บข้อมูลของลูกค้า เช่น ชื่อ นามสกุล เบอร์โทร เลขบัตรเครดิต และสำหรับการถ่ายรูปรีวิวสินค้าแล้วติดหน้าคนอื่นจะผิดกฎหมายไหม คำตอบคือ​ “ผิด” ถ้าไม่ได้รับการยินยอม ทางที่ดีเงินติดล้อคิดว่าคุณควรขออนุญาตบุคคลที่ 3 ในรูปถ่ายหรือคลิปก่อยเผยแพร่ลง Facebook ร้านค้าเป็นดีที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, PDPC Thailand

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น