หน้าแรก ติดล้อสตอรี่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ สร้างวัฒนธรรมเปิดรับฟีดแบ็ก

3 ขั้นตอนง่ายๆ สร้างวัฒนธรรมเปิดรับฟีดแบ็ก

15 พฤษภาคม 2566
3 ขั้นตอนง่ายๆ สร้างวัฒนธรรมเปิดรับฟีดแบ็ก

การรับและให้ฟีดแบ็กอาจเป็นเรื่องที่ทำใจยากสำหรับใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองผ่านมุมมองของคนอื่น และเป็นวิธีการพัฒนาตัวเองที่มีประสิทธิภาพและง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง เพราะแบบนี้ Candid Feedback Culture จึงเป็นวัฒนธรรมที่องค์กรควรให้ความสำคัญ

 

Candid Feedback Culture คืออะไร?

Candid Feedback Culture คือวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการให้ฟีดแบ็กอย่างตรงไปตรงมา แบบมีวาทศิลป์ระหว่างทุกคนในองค์กรตั้งแต่พนักงานหน้าใหม่ไปจนถึงทีมผู้บริหาร เพราะการให้ฟีดแบ็กกันอย่างสม่ำเสมอจะช่วยปลูกฝัง Growth และ Agile Mindset ให้กับคนในองค์กร ซึ่งเป็นแนวคิดที่ช่วยให้พนักงานเป็นคนใฝ่รู้และมองหาความท้าทายใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

 

สร้าง Candid Feedback Culture ใน 3 ขั้นตอน

1. ฝึกตั้งคำถาม

Candid Feedback Culture จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการทำจริง คือการขอและให้ฟีดแบ็กกันเป็นประจำหลังจากจบโปรเจกต์ จนทำให้ทุกคนในทีมเกิดความรู้สึกปลอดภัยว่าเมื่อแสดงความเห็นแล้วจะไม่โดนต่อว่าในเชิงลบและทำให้ทุกคนเกิดความเคยชิน

นี่คือตัวอย่างของแนวคำถามในการแสดงความคิดเห็น
  • โปรเจ็กต์นี้ประสบความสำเร็จในแง่มุมไหนบ้าง
  • มีจุดไหนที่ให้ดีขึ้นได้บ้าง
  • ให้ถามเพื่อนร่วมงานหนึ่งคนว่าคนถามมีอะไรที่สามารถปรับปรุงได้บ้าง (ในสถานการณ์ที่เจาะจง)
  • สิ่งไหนเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ้าง และเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งเหล่านี้
คำถามเหล่านี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างของการให้-รับฟีดแบ็ก แต่มีจุดประสงค์เดียวกัน เพื่อให้ทุกคนในทีมมีส่วนร่วมและเรียนรู้จากคำตอบเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด


2.รับฟังอย่างจริงใจ

หลังจากปลูกฝังทักษะการให้-รับฟีดแบ็กให้ทุกคนจนเกิดความเคยชินแล้ว ขั้นตอนถัดมาที่จะทำให้เราสร้าง Candid Feedback Culture ได้อย่างยั่งยืนคือการเปิดใจรับฟังเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อการให้และรับฟีดแบ็ก เนื่องจากแต่ละคนมีความรู้สึกต่อการรับฟีดแบ็กหนึ่งๆ ที่แตกต่างกัน การที่ผู้ให้
ฟีดแบ็กรู้ว่าแต่ละคนรับได้หรือรับไม่ได้กับวิธีการให้ฟีดแบ็กแบบไหน จะทำให้เกิดการเรียนรู้ว่าจะให้ฟีดแบ็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร
รับฟัง


3. เปิดใจและปรับตัวให้เหมาะสม

หลังจากได้รับฟีดแบ็กแล้ว องค์กรไม่จำเป็นต้องปรับ หรือเฮโลทำตามทุกอย่างที่พนักงานเสนอ ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดความน้อยใจหากทำของใครก่อน-หลัง แต่อย่างน้อยที่สุดคือต้องมีการแสดงให้เห็นว่าฟีดแบ็กที่ทุกคนส่งมาได้รับการใส่ใจและพิจารณา และอาจจะปรับตามบางส่วนเท่าที่เห็นว่าเหมาะสมและมี Impact
 ที่เงินติดล้อจะมีการส่งแบบสำรวจให้พนักงานได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นกันอย่างสม่ำเสมอ เช่นช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาพนักงานก็มีการส่งความคิดเห็นกันเข้ามาจำนวนมากว่าอยากให้ออฟฟิศมีไมโครเวฟมากขึ้น เพื่อพนักงานจะได้สามารถนำอาหารกลางวันมาเองและอุ่นกินเองได้อย่างเพียงพอและสะดวกขึ้น หรือกรณีที่บริษัทปรับขึ้นเงินเดือนพนักงาน เพื่อให้สอดรับกับสภาวะเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพสูงขึ้น และเมื่อผู้บริหารเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แม้จะดูเล็กน้อยแต่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้นก็เปิดใจรับฟังและปรับตัว
 

สรุป

นอกจากการให้ฟีดแบ็กอย่างจริงใจจะทำให้คนในองค์กรได้โอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจากคนรอบข้างอย่างต่อเนื่องแล้ว การที่องค์กรสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนกล้าพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมายังช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน และช่วยให้องค์กรปรับเปลี่ยนนโยบายการทำงานให้ตรงกับความต้องการของพนักงานอีกด้วย เมื่อทุกคนรู้สึกว่าเสียงของตัวเองมีความสำคัญ ก็มีแนวโน้มที่จะผูกพันกับองค์กรและอยู่กับองค์กรนานขึ้น การสร้าง Candid Feedback Culture จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงานนั่นเอง

หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับค่านิยมการให้ Candid Feedback และการเดินทางด้านวัฒนธรรมองค์กรของพวกเรา รวมถึงสัมผัสวิถีที่พวกเราได้ลงมือทำจริง มาเข้าร่วม TIDLOR Culture Wow และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องค่านิยมกับพวกเราสิ!

สนใจติดต่อ 02-792-1990 หรือกรอกข้อมูลที่นี่เพื่อรอการติดต่อกลับจาก Culture Gangster

ที่มา:
https://www.forbes.com/sites/forbeshumanresourcescouncil/2019/01/03/three-steps-for-creating-a-feedback-culture/?sh=3c2064e2136a

เงินติดล้อ

ติดล้อสตอรี่โดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น