อย่างที่ทราบกันดีว่าทุกๆ ต้นปีเราจะต้องทำการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยในปี 2564 ที่จะถึงนี้ เรามาดูกันว่ามีสิทธิลดหย่อนภาษีใดบ้าง? และแต่ละอย่างมีเงื่อนไขอย่างไร? แม้แต่มือใหม่ด้านภาษีก็สามารถเรียนรู้ได้ง่ายๆ
หากพร้อมแล้ว เรามาหาคำตอบได้ในบทความนี้กันเลย!
เรามาดูกันว่า สำหรับผู้ที่กำลังจะยื่นภาษีนั้น สิทธิลดหย่อนภาษีของปี 2564 มีอะไรบ้าง และสามารถลดหย่อนได้มากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะได้คำนวณภาษีล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง โดยสิทธิในการลดหย่อนนั้นจะแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามที่กฏหมายกำหนด ดังนี้
- กลุ่มภาระส่วนตัวและครอบครัว
- กลุ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ
- กลุ่มประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการลงทุน
- กลุ่มสำหรับการบริจาค
- กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
ต่อไปเรามาดูกันว่าในแต่ละหมวดหมู่นั้นมีรายละเอียดการลดหย่อนภาษีอย่างไรบ้าง

-
กลุ่มภาระส่วนตัวและครอบครัว
แบ่งออกได้ 6 สิทธิ ได้แก่
-
ค่าลดหย่อนส่วนตัว
จำนวนลดหย่อน: 60,000 บาท
เงื่อนไข: ลดหย่อนทันทีสำหรับผู้มีเงินได้ที่ทำการยื่นภาษี
-
ค่าลดหย่อนคู่สมรส
จำนวนลดหย่อน: 60,000 บาท
เงื่อนไข: สำหรับสามี - ภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย โดยคู่สมรสต้องไม่มีเงินได้ หรือมีแต่ยื่นภาษีแบบแสดงรายการแบบรวมกัน
-
ค่าลดหย่อนบุตร
จำนวนลดหย่อน: 30,000 บาทต่อบุตร 1 คน (ไม่จำกัดจำนวนบุตร)
เงื่อนไข:
- หากเป็นบุตรตามกฏหมายสามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนคน (นับทุกคนไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่)
- หากเป็นบุตรบุญธรรมนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน (นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่)
- หากมีทั้งบุตรตามกฎหมาย และบุตรบุญธรรม ให้นำบุตรตามยกฎหมายทั้งหมดมาหักภาษีก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก โดยรวมกันได้ไม่เกิน 3 คน
- หากมีบุตรตามกฏหมายเกินกว่า 3 คนขึ้นไป จะนำบุตรบุญธรรมมาหักภาษีไม่ได้
-
เงื่อนไข:
สำหรับการนำบุตรที่มีมาใช้ในการลดหย่อนภาษีนั้น ตัวบุตรจะต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
- บุตรจะต้องมีอายุระหว่างแรกเกิด จนถึง 20 ปี
- หากบุตรมีอายุ 21 - 25 ปี ต้องศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป
- หากบุตรมีอายุเกินกว่า 25 ปี ต้องเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
- บุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้นเกินกว่า 30,000 บาทขึ้นไป หรือรายได้ที่มีนั้นได้รับการยกเว้นตามกฏหมาย เช่น เงินที่ได้รับจากพ่อแม่ หรือเงินปันผล
-
ค่าลดหย่อนฝากครรภ์ และคลอดบุตร
จำนวนลดหย่อน: สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
เงื่อนไข: หักตามค่าใช้จ่ายจริง ทั้งค่าตรวจครรภ์ ค่าฝากครรภ์ ค่าทำคลอด ค่าบำบัดทางการแพทย์ การพักฟื้นภายในโรงพยาบาล แต่สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
-
ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดา - มารดา
จำนวนลดหย่อน: 30,000 บาท ต่อบิดา - มารดา 1 คน โดยสามารถนับรวมบิดา - มารดาของคู่สมรสด้วยได้ (รวมสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท) เงื่อนไข: ลดหย่อนทันทีสำหรับผู้มีเงินได้ที่ทำการยื่นภาษี
-
ค่าอุปการะผู้พิการ หรือทุพพลภาพ
จำนวนลดหย่อน: 60,000 บาทต่อคน
เงื่อนไข:
- ผู้ทุพพลภาพต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ
- ต้องเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฏหมายว่าด้วย “การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ”
-
กลุ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ
มีด้วยกัน 1 สิทธิ ได้แก่
-
มาตรการ “ช้อปดีมีคืน”
จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อ เงื่อนไข:
- สำหรับการซื้อสินค้าระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
- สินค้าที่ซื้อต้องเป็นดังนี้
- สินค้าและบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเพื่อเป็นหลักฐานได้
- หนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมถึง eBook (ยกเว้นนิตยสารและหนังสือพิมพ์) จากร้านที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่สามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบได้
- สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน และมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ
- สินค้าที่ไม่เข้าร่วม ได้แก่ เครื่องดื่นที่มีแอลกอฮอล์ ยาสูบ สลากกินแบ่งรัฐบาล น้ำมัน ค่าที่พักและ ค่าตั๋วเครื่องบิน
-
กลุ่มประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการลงทุน
แบ่งออกได้ 10 สิทธิ ดังนี้
-
เงินประกันสังคม
จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
-
เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต
จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
-
เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง
จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
*** ข้อ 2 และ 3 รวมกันแล้วลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
-
เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่
จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
-
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
จำนวนลดหย่อน: ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
-
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
จำนวนลดหย่อน: ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
-
กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครูเอกชน
จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท สามารถสะสมเพิ่มได้โดยขอเปลี่ยน % ที่กำหนดไว้กับนายจ้าง
-
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
-
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
จำนวนลดหย่อน: ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
-
กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX)
จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
*** ข้อ 5 - 10 รวมกันแล้วลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
-
กลุ่มสำหรับการบริจาค
แบ่งออกได้ 2 สิทธิ ได้แก่
-
เงินบริจาคทั่วไป
จำนวนลดหย่อน: ตามที่บริจาคจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว
เงื่อนไข: สำหรับการบริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล ได้แก่มูลนิธิต่างๆ สถานสงเคราะห์ สมาคม หรือวัดวาอาราม
-
เงินบริจาคสนับสนุนพรรคการเมือง
จำนวนลดหย่อน: ตามที่บริจาคจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
-
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
แบ่งออกได้ 2 สิทธิ ได้แก่
-
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
เงื่อนไข:
- สำหรับสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัยเท่านั้น
- ต้องเป็นสินเชื่อที่กู้ยืมจากสถาบันทางการเงินภายในประเทศเท่านั้น
- หากมีการกู้มากกว่า 1 แห่งสามารถนำมาใช้ลดหย่อนรวมกันได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- กรณีกู้ร่วม จะแบ่งดอกเบี้ยออกเท่าๆ กันตามจำนวนผู้กู้ แต่รวมแล้วแต่ละคนจะลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท
-
โครงการบ้านหลังแรกปี 2559
จำนวนลดหย่อน: ตามที่บริจาคจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว
เงื่อนไข: สำหรับการบริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล ได้แก่มูลนิธิต่างๆ สถานสงเคราะห์ สมาคม หรือวัดวาอาราม
สรุป
เท่านี้ทุกคนก็ทราบกันแล้วว่าสิทธิลดหย่อนภาษีต่างๆ ที่มีสำหรับการยื่นภาษี 2564 นั้นมีอะไรบ้าง แต่หลายคนมักจะมองข้ามการยื่นภาษีกันเนื่องจากถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากน่าปวดหัว และต้องเตรียมเอกสารมากมาย แต่หากโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังขึ้นมา บอกเลยว่าจำนวนเงินที่จะเสียคงไม่คุ้มกันแน่นอน อีกทั้งการยื่นภาษียังช่วยประหยัดเงินในอนาคตของคุณอีกด้วย
เพราะฉะนั้น! จัดการตระเตรียมเอกสารให้เพียบพร้อม และยื่นภาษีเป็นประจำทุกๆ ปีจะเป็นการดีที่สุด