หน้าแรก บทความ การเงินน่ารู้ รวมรายการลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้างคํานวณก่อนยื่นภาษี

รวมรายการลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้างคํานวณก่อนยื่นภาษี

รวมรายการลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้างคํานวณก่อนยื่นภาษี
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

อย่างที่ทราบกันดีสำหรับมนุษย์เงินเดือน หรือผู้ที่มีรายได้ประจำว่าในทุกๆ ปีจะต้องมีการยื่นเสียภาษีกับกรมสรรพากร โดยในแต่ละปีสิทธิพิเศษที่ใช้ยื่นเพื่อลดหย่อนภาษีก็จะแตกต่างกันออกไป ทำให้ต้องอัปเดตใหม่กันทุกปี

ในบทความนี้ เงินติดล้อได้รวบรวมรายการลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2563 มาให้ผู้อ่านได้คำนวณก่อนทำการยื่นเรื่อง จะมีอะไรบ้างนั้นเรามาดูกันเลยครับ

สิทธิลดหย่อนภาษี 5 กลุ่มประจำปี 2563 ที่ผู้เสียภาษีต้องรู้

โดยปกติแล้วการยื่นภาษีจะเริ่มในช่วงต้นปี แต่เนื่องจากในปีนี้เกิดวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 ทางรัฐบาลจึงขยายระยะเวลาการยื่นลดหย่อนภาษีไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563

โดยสิทธิลดหย่อนภาษีประจำปีพุทธศักราช 2563 นั้นแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม มาตรวจสอบกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง

ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล และครอบครัว

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล และครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล สำหรับผู้มีเงินได้ทุกคน

    ลดหย่อน 60,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส

    ลดหย่อน 60,000 บาท

เงื่อนไขการลดหย่อน: สำหรับกรณีที่คู่สมรสไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้ แต่ยื่นแสดงรายการคำนวณภาษีพร้อมกัน

  • ค่าลดหย่อนบุตร (ต่อ 1 คน)

    ลดหย่อน 30,000 บาท

เงื่อนไขพิเศษ: ในกรณีที่เป็นบุตรตามกฎหมายสามารถนำมาหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่หากเป็นบุตรบุญธรรม หรือมีทั้งบุตรตามกฎหมายและบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักได้ไม่เกิน 3 คน

  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์ และคลอดบุตร

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท

เงื่อนไขการลดหย่อน: หากตั้งท้องปีนี้แต่มีกำหนดการคลอดปีหน้า ให้ลดหย่อนตามปีที่ใช้สิทธิ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ และคู่สมรสอายุ 60 ปีขึ้นไป (ต่อ 1 คน)

    ลดหย่อน 30,000 บาท

เงื่อนไขการลดหย่อน: สูงสุดไม่เกิน 4 คน และใช้สิทธิได้เพียง 1 ครั้งต่อครอบครัว พ่อแม่ หรือคู่สมรสจึงต้องลงลายมือชื่อระบุผู้ดูแลในหนังสือรับรองให้ชัดเจน

  • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูผู้พิการ หรือทุพพลภาพ (ต่อ 1 คน)

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท

เงื่อนไขการลดหย่อน: สำหรับกรณีที่ผู้ทุพพลภาพมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี รวมถึงต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยันความทุพพลภาพ หรือร่างกายบกพร่อง

กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  • ประกันสังคม

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

  • เบี้ยประกันชีวิต

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

  • เบี้ยประกันสุขภาพ

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

เงื่อนไขการลดหย่อน: ผู้ยื่นภาษีต้องเป็นบุตรตามกฎหมายเท่านั้น โดยสิทธิประกันที่นำมาลดหย่อนต้องเป็นความคุ้มครองด้านใดด้านหนึ่งใน 4 กลุ่ม ได้แก่ ค่ารักษาจากการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ โรคร้ายแรง และประกันคุ้มครองการพยาบาลสำหรับการเจ็บป่วยในระยะยาว เท่านั้น

  • เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

เงื่อนไขการลดหย่อน: สำหรับกรณีที่คู่สมรสไม่มีเงินได้เท่านั้น

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

เงื่อนไขพิเศษ: กรณีที่มีส่วนเกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปคำนวณภาษี

  • เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท

  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท

  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท

  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท

  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท

เงื่อนไขการลดหย่อน: ต้องถือครองไว้อย่างน้อย 7 ปี

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท

***การซื้อกองทุน SSF RMF PVD กบข. ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกอช. เมื่อรวมกันแล้วนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 500,000 บาทในแต่ละปี

ค่าลดหย่อนจากอสังหาริมทรัพย์

กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนจากอสังหาริมทรัพย์

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

เงื่อนไขการลดหย่อน: สำหรับดอกเบี้ยจากเงินกู้ซื้อบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัย หากมีการกู้ซื้อมากกว่า 1 แห่ง สามารถใช้ลดหย่อนรวมกันได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท แต่ในกรณีที่กู้ร่วมกันหลายคน สามารถแบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆ กัน แต่โดยรวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน

  • ซื้อบ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2558

    ลดหย่อน 20% ของค่าบ้าน โดยนำไปลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี (เฉลี่ยปีละ 4%)

เงื่อนไขการลดหย่อน: สำหรับกรณีที่บ้าน หรือที่อยู่อาศัยนั้นราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท

  • ซื้อบ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2562

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

เงื่อนไขการลดหย่อน: สำหรับกรณีที่บ้าน หรือที่อยู่อาศัยนั้นราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท

กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ

    ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคที่จ่ายจริง แต่รวมแล้วไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษี

  • เงินบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ

    ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคที่จ่ายจริง แต่รวมแล้วไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษี

  • กลุ่มเงินบริจาคทั่วไป เช่น บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล

    ลดหย่อนได้ตามจำนวนของเงินบริจาคที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาค 2 กลุ่มแรกแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษี

  • เงินบริจาคให้พรรคการเมือง

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

    ค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
  • สินค้าในกลุ่มช้อปช่วยชาติ สินค้าเพื่อการศึกษา กีฬา หนังสือ และสินค้า OTOP

    ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อสินค้า 1 กลุ่ม

  • ท่องเที่ยวภายในประเทศไทย

    ท่องเที่ยวเมืองหลักลดหย่อน 15,000 บาท ท่องเที่ยวเมืองรองลดหย่อน 20,000 บาท

เงื่อนไขการลดหย่อน: รวมกันแล้วลดหย่อนได้ไม่เกิน 20,000 บาท

  • ค่าบรรเทาความเสียหายจากพายุปาบึก

    ค่าซ่อมแซมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท ค่าซ่อมแซมรถยนต์และยานพาหนะไม่เกิน 30,000 บาท

  • ค่าเสียหายจากพายุโพดุล พายุคาจิกิ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

    ค่าซ่อมแซมบ้านไม่เกิน 100,000 บาท ค่าซ่อมแซมยานพาหนะและอื่นๆ ไม่เกิน 30,000 บาท

สรุป

เท่านี้ทุกท่านก็น่าจะได้เห็นรายการลดหย่อนภาษีทั้งหมดจนครบกันแล้ว จะเห็นได้ว่ารายการดังกล่าวจะช่วยให้หลายๆคนไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม หรือใครที่มีรายได้สูงจะช่วยในการประหยัดภาษีได้มากขึ้น แล้วก็อย่าลืมนะครับว่ามาตรการขยายเวลามีผลจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 เท่านั้น โดยสามารถยื่นแบบแสดงภาษีด้วยตัวเองได้ที่กรมสรรพากร หรือยื่นภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.rd.go.th/

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น