หน้าแรก ตอบทุกคำถาม เกี่ยวกับประกัน ประกันสุขภาพและอื่น ๆ

ตอบทุกคำถาม

เกี่ยวกับประกัน

ประกันสุขภาพและอื่น ๆ

ตอบ :

คุ้มครอง Covid – 19 โดยพิจารณาตามความจำเป็นทางการแพทย์

ตอบ :

ลูกค้าสามารถเข้าไปดูได้จากเว็บไซต์ทิพยประกันภัย https://www.dhipaya.co.th/th/service-detail-11.html

ขั้นตอนและเอกสารการเรียกร้องค่าสินไหม
  1. กรณีใช้บัตรประกันสุขภาพ กับสถานพยาบาลในสัญญา
  2. การรักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) ที่ไม่ใช่ข้อยกเว้น สถานพยาบาลจะให้สิทธิแก่ท่านทันที
  3. กรณีผู้ป่วยใน (IPD) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะประสานงานมายังทิพยประกันภัย เพื่อให้บริการผู้เอาประกันภัยตลอด 24 ชั่วโมง
กรณีสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD)
  1. ผู้เอาประกันภัย สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญากับทิพยประกันภัย จากการแสดงบัตรประกันภัย โดยค่ารักษาพยาบาลที่เกินสิทธิ์ โรงพยาบาลจะเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัยทันที
  2. หากผู้เอาประกันภัยสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลแล้ว เนื่องจากเข้ารับการรักษาสถานพยาบาลนอกสัญญา ให้นำหลักฐานส่งให้ทิพยประกันภัยเพื่อแจ้งเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ 2 แบบ ดังนี้
    1. นำเอกสารมายื่นด้วยตนเองที่ทิพยประกันภัย
    2. นำส่งเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ มายังทิพยประกันภัย ฝ่ายสินไหมประกันภัยสุขภาพและอุบัติเหตุส่วนบุคคล
  3. เมื่อทิพยประกันภัยพิจารณาค่าสินไหมทดแทนแล้ว จะนำส่งเช็คค่าสินไหม หรือโอนเงินเข้าบัญชีผู้เอาประกันภัย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อได้ที่เบอร์ Hotline ที่ปรากฏบนบัตร ตลอด 24 ชั่วโมง

ตอบ :

ลูกค้าสามารถเข้าไปดูได้จากเว็บไซต์ทิพยประกันภัย https://www.dhipaya.co.th/th/

ตอบ :

แนะนำแผนเฮลท์แคร์ ซัพพอร์ท เพื่อเสริมความคุ้มครองให้มากขึ้นและครอบคลุมจากแผนเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น ค่าห้อง เป็นต้น

ตอบ :

แนะนำแผนเฮลท์แคร์ คอมฟอร์ท ที่คุ้มครองได้อย่างครอบคลุม และไม่ต้องจ่ายค่าความรับผิดชอบส่วนแรก (ค่าใช้จ่ายร่วมค่าห้อง-ค่าอาหาร) เพิ่ม

ตอบ :

แผนเฮลท์แคร์ ซัพพอร์ท มีเงินชดเชยรายได้ สูงสุด 1,000 บาท/วัน และมีค่าใช้จ่ายร่วมค่าห้อง-ค่าอาหาร (ความรับผิดชอบส่วนแรก) เริ่ม 1,000 บาท/วัน ส่วนแผนแผนเฮลท์แคร์ คอมฟอร์ท ไม่มีเงินชดเชยรายได้ และไม่มีค่าใช้จ่ายร่วมค่าห้อง-ค่าอาหาร (ความรับผิดชอบส่วนแรก)

ตอบ :

Hotline ค่ารักษาพยาบาลสุขภาพและอุบัติเหตุ (บัตรประกัน) 24 ชั่วโมง หรือ 1736

ตอบ :
  • กรมธรรม์ประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองการเจ็บป่วยใดๆ รวมถึงการเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus (2019-nCoV)) ที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 30 วัน (Waiting Period) หลังจากที่กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับครั้งแรก
  • กรมธรรม์ประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองการเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ เนื้องอก ถุงน้ำดี หรือมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อนทุกชนิด ต้อเนื้อหรือต้อกระจก การตัดทอลซิลหรืออดีนอยด์ นิ่วทุกชนิด เส้นเลือดขอดที่ขา เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 120 วัน (Waiting Period) หลังจากที่กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับครั้งแรก
  • กรมธรรม์ประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองการบาดเจ็บ / เจ็บป่วย / โรคเรื้อรัง ที่เป็นมาก่อนการทำประกันภัย และยังรักษาไม่หายก่อนกรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับครั้งแรก (Pre-existing condition) และการรักษาที่ไม่ใช่ความจำเป็นทางการแพทย์

ตอบ :

ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้ ตามเงื่อนไขของความคุ้มครอง และเป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด

ตอบ :

ประกันสุขภาพสามารถลดหย่อนภาษีได้เต็มสิทธิ์

ตอบ :

ขั้นตอนการเคลมเงินชดเชยรายได้ ในกรณีนอน รพ. เป็นผู้ป่วยใน

  1. สำเนาใบเสร็จรับเงิน/ใบแจ้งหนี้ ที่แสดงรายการค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจากสถานพยาบาลภายใต้คู่สัญญา
  2. ใบรับรองแพทย์ที่ระบุวันที่นอนโรงพยาบาล อาการ บริเวณที่เป็นอย่างชัดเจน และสาเหตุการเกิด
  3. สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการและสำเนาบัตรประกันภัย
  4. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ออมทรัพย์/กระแสรายวัน) ของผู้เอาประกันภัย
  5. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม (A01) ดาวน์โหลดได้ที่ www.dhipaya.co.th

ตอบ :

เนื่องจากยังไม่มีระบบการต่ออายุผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนั้นลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ผ่านโบรกเกอร์เข้ามายังทิพยประกันภัย เพื่อทำการต่ออายุและจัดส่งกรมธรรม์พร้อมบัตรส่งไปยังลูกค้า กรณีแจ้งต่ออายุกรมธรรม์ก่อนวันที่หมดอายุหรือภายในวันที่หมดอายุ ความคุ้มครองจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยผลประโยชน์ และ/หรือทุนประกันภัย จะปรับลดลงตามแผนประกันภัยของแต่ละช่วงอายุ และทิพยประกันภัยสงวนสิทธิ์ในการปรับเบี้ยประกันภัยปีต่ออายุ โดยพิจารณาจากประวัติการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

ตอบ :

เมื่อผู้เอาประกันภัยถูกตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะอยู่ในระยะใดก็ตาม (TNM) จะได้รับเงินชดเชยเต็มตามจำนวนทุนประกันภัยที่ได้เลือกซื้อไว้ โดยไม่มีข้อบังคับว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องนำไปจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลแต่อย่างใด โดยเอกสารที่ใช้สำหรับยื่นเบิกมีดังนี้

ขั้นตอนการเบิกค่ารักษาหรือค่าสินไหมทดแทน

  • กรอกเคลมฟอร์ม
  • ใบเสร็จรับเงินตัวจริง
  • ใบรับรองแพทย์ตัวจริง
  • ประวัติการรักษาพยาบาล
  • เอกสารยินยอมการเปิดเผยประวัติการรักษาพร้อมแนบสำเนา
  • บัตรประชาชน
  • ใบรายงานความเห็นแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งครั้งแรก ให้นำหลักฐานมายื่นขอรับค่าสินไหมทดแทน บริษัทประกันภัยตรวจสอบ และอนุมัติการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หลังจากนั้นกรมธรรม์จะถือว่าสิ้นสุดผลบังคับลง ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยโรคมะเร็งต้องไม่เคยถูกตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งมาก่อนการทำประกันภัย และต้องไม่อยู่ภายในระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 90 วัน เงื่อนไขนี้ใช้บังคับเฉพาะกรมธรรม์ปีแรกเท่านั้น

ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งเคลมโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งส่งหลักฐานให้แก่บริษัทประกันภายใน 30 วัน นับจากวันที่ทราบผลการวินิจฉัยพบว่าเป็นมะเร็ง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องการเบิกค่ารักษาเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.tidlor.com/th/insurance/product-document/how-to-claim-cancer-insurance