ตอบทุกคำถาม

คำศัพท์น่ารู้

ประกัน

ตอบ :
  1. กรมธรรม์ (Policy) คือ หนังสือสัญญาที่ออกโดยผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) เป็นเอกสารที่แสดงเงื่อนไข และข้อตกลงระหว่างผู้ทำประกันภัยกับบริษัท เพื่อใช้เป็นหลักฐานข้อตกลง เงื่อนไข และความคุ้มครองตามสัญญา เช่น ประเภทของประกัน เบี้ยประกัน ทุนประกัน วันครบกำหนดสัญญา เป็นต้น
  2. ทุนประกัน ทุนเอาประกันภัย หรือจำนวนเงินที่เอาประกันภัย (Sum Insured) คือ จำนวนเงินสูงสุดที่ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) จะต้องชดใช้ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับรถยนต์ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ จะไม่เกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา
  3. ผู้รับประกันภัย (The Insurer) คือ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (บริษัทประกันภัย) มีหน้าที่พิจารณารับประกันภัย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามที่ระบุไว้ในสัญญา ในการชดใช้นั้นอาจชดใช้เป็นเงินสด การซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม หรือการหาของชิ้นใหม่มาทดแทน
  4. ผู้เอาประกันภัย (The Insured) คือ ผู้ซื้อประกันรถยนต์ ตลอดจนชำระเบี้ยตามประกันสัญญา และเมื่อเกิดความเสียหายก็สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นจากบริษัทประกันได้
  5. ผู้รับผลประโยชน์ (The Beneficiary) คือ บุคคลภายนอกสัญญาประกันภัย ที่มีสิทธิ์เข้ารับค่าสินไหมตามข้อตกลงในสัญญา หรืออาจจะเป็นคนเดียวกับผู้เอาประกันภัยก็ได้ แต่หากกรณีผู้รับเป็นคนอื่น เรา(ผู้เอาประกันภัย)ก็จะไม่มีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน
  6. เบี้ยประกัน (Premium) คือ จำนวนเงินที่เราต้องชำระให้แก่บริษัทประกันภัย เพื่อเป็นค่าทำประกันภัย หากไม่ชำระเบี้ยประกัน และรถเกิดความเสียหาย ทางบริษัทประกันสามารถปฏิเสธจ่ายสินไหมทดแทนได้ จนกว่าผู้ทำประกันจะชำระเบี้ยตามที่ตกลงไว้ โดยสามารถเลือกจ่ายปีละครั้ง หรือเลือกผ่อนสบายๆ กับประกันรถยนต์ ของเงินติดล้อก็ได้ครับ
  7. ค่าสินไหมทดแทน (Claim Amount) คือ ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นของผู้เอาประกัน เรียกร้องให้ผู้รับประกันชดใช้ โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ต้องเป็นไปตามที่กรมธรรม์ระบุไว้
  8. ซ่อมห้าง คือ การที่ประกันภัยคุ้มครองรถยนต์ อนุญาตให้นำรถไปซ่อมที่ศูนย์บริการของรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ หรืออู่บริการที่คุณภาพมาตราฐานเทียบเท่า
  9. เคลมสด คือ การเคลม ณ ที่เกิดเหตุ โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันภัยไปตรวจสอบทันที โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท
    • แบบมีคู่กรณี คือ การที่รถชนกันเอง เจ้าหน้าที่จะพิจารณาว่าผ่ายใดเป็นฝ่ายผิด โดยฝ่ายที่ผิดอาจจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกให้กับคู่กรณีก่อน
    • แบบไม่มีคู่กรณี คือ กรณีที่ผู้ถือประกัน ชนเข้ากับสิ่งของ หรือวัตถุจนเกิดความเสียหาย เช่น เสาไฟฟ้า ต้นไม้ เป็นต้น หากเป็นกรณีนี้ผู้เสียหายจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก
  10. เคลมแห้ง คือ การแจ้งเคลม หลังจากที่เหตุการณ์ผ่านไปแล้วระยะหนึ่ง (ไม่ควรเกิน 2-3 วัน) ส่วนมากเป็นแบบอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ขับเฉี่ยว หรือชนเบาๆ โดยต้องจำเหตุการณ์ให้แน่ชัดว่าชนกับอะไร วันและเวลาไหน เพื่อแจ้งเคลมกับบริษัทประกัน
  11. ค่าเสียหายส่วนแรก คือ เป็นเงินค่าเสียหายที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ให้ผู้เอาประกันรถเป็นคนจ่ายค่าเสียหาย เพื่อป้องกันผู้ที่แจ้งเคลมโดยไม่มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริง เพื่อหวังซ่อมกับบริษัทประกันภัย

ตอบ :
  1. ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD - Outpatient Department) : คือ ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่า สามารถเข้ารับการรักษา รับยา และกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้เลย โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล เช่น เป็นไข้หวัดเล็กน้อย มีอาการท้องเสีย มีอาการปวดศีรษะ ตาแดง
  2. ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD - In Patient Department) : คือ ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่า ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งจะคุ้มครอง ค่าห้องพัก ค่าอาหารและยา ค่าแพทย์เยี่ยม ค่าพยาบาล ค่าผ่าตัด และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาล (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์)
  3. ทุนประกันสุขภาพ : คือ วงเงินความคุ้มครองที่บริษัทประกันจะจ่ายให้กับเราเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเจ็บป่วยตามเงื่อนไขกรมธรรม์ โดยจะดูแลครอบคลุมการเข้ารับการรักษาตามกระบวนการการรักษาของแพทย์
  4. เบี้ยประกันสุขภาพ : คือ จำนวนเงินที่เราจ่ายให้กับบริษัทประกัน เป็นรายงวด เช่น รายวัน รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี เพื่อแลกกับการรับวงเงินความคุ้มครองที่บริษัทประกันจะให้กับเราและสำหรับใครที่กำลังมองหาประกันมะเร็ง เบี้ยประกันเริ่มต้นวันละ 3 บาท* ให้ค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 600,000 บาท พร้อมค่าเดินทางไปรับการรักษา และค่าสินไหมทดแทนทันทีที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งครั้งแรก รับเลยเงินก้อน สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
  5. สภาพที่เป็นก่อนการเอาประกัน : คือ อาการและโรคที่แพทย์เคยวินิจฉัยว่าป่วย ก่อนการทำประกัน ซึ่งประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะมีเงื่อนไข “ไม่คุ้มครองสภาพที่เป็นมาก่อนเอาประกัน” ดังนั้นหากมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต หรืออื่นๆ ก่อนทำประกันสุขภาพ ก็จะไม่สามารถเคลมรับวงเงินค่ารักษาพยาบาลในโรคนั้นๆ จากบริษัทประกันได้
  6. ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) : คือ ระยะเวลาที่ผู้ทำประกันยังไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้หลังจากวันที่กรมธรรม์มีผลคุ้มครอง โดยอาจมีระยะเวลารอคอยตั้งแต่ 14 - 120 วัน (ควรตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้งก่อนตัดสินใจทำประกัน)
  7. การตรวจวินิจฉัยซ้ำ : คือ การตรวจเป็นครั้งที่ 2 จากแพทย์ท่านอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ท่านแรกที่ตรวจ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยโรค ซึ่งจะพบได้ในกรณีการตรวจพบโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง และสำหรับใครสนใจทำประกันสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ประกันโควิด ที่ดูแลครอบคลุมโรคฮิตที่พบบ่อยในไทย เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือ เท้า ปาก  โรคร้ายจากยุง หรือประกันมะเร็ง
  • ติดต่อเราที่ช่องทางเหล่านี้ได้เลย
  • ติดต่อโดยตรงได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาใกล้บ้านท่าน
  • Facebook Inbox เงินติดล้อ: facebook.com/messages/t/ngerntidlor
  • โทรเข้า Call Center เงินติดล้อ: 088-088-0880
  • หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

ตอบ :
  1. พ.ร.บ. (พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) คือ ประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันที่ขึ้นทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกทุกคันจะต้องมีโดยจะคุ้มครองค่ารักษาหากเกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
  2. ภาษีรถยนต์ - ภาษีรถมอเตอร์ไซค์ คือ ค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้รถจะต้องชำระให้กับกรมขนส่งทางบกในทุกปี โดยรถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์ที่จะสามารถต่อภาษีได้ จะต้องผ่านการชำระพ.ร.บ. ซึ่งเป็นประกันภัยภาคบังคับแล้วเท่านั้น
  3. ป้ายวงกลม (ป้ายภาษี) คือ ป้ายที่กรมขนส่งทางบกออกไว้ให้รถที่ชำระภาษีประจำปีแล้ว นำไปติดที่รถเพื่อแสดงว่าได้ชำระภาษีถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากใครป้ายวงกลมหายก็ไม่ต้องกังวล อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย ป้ายวงกลม หรือป้ายภาษีหาย ทำไงดี?
  4. ค่าเสียหายเบื้องต้น คือ วงเงินที่ผู้ประสบภัยทางรถจะได้รับความคุ้มครองทันทีที่ประสบอุบัติเหตุ จากประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.)โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครถูกหรือผิด โดยจะครอบคลุมในกรณีค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น โดยมีเงื่อนไขจ่ายในแต่ละกรณี ดังนี้
    • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
    • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท
  5. ค่าสินไหมทดแทน(ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น) คือ คือ วงเงินความคุ้มครองที่ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จะจ่ายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูกเท่านั้น โดยมีวงเงินความคุ้มครอง ดังนี้
    • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
    • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
    • ค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน (กรณีต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล)
  6. บริษัทกลางประกันภัย คือ บริษัทตัวกลางในการเบิกจ่ายค่าสินไหมต่างๆ ตามที่ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) กำหนดให้ผู้ขับขี่ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ โดยในการยื่นเรื่องขอรับเงินสำรองจ่าย ในกรณีที่จ่ายค่า
    • ใบแจ้งความ
    • ใบรับรองแพทย์
    • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
    • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบเหตุ หรือใบมรณะบัตรในกรณีเสียชีวิต
    • สำเนาบัตรประชนชนของทายาทผู้รับผลประโยชน์
  7. และสำหรับใครที่ พ.ร.บ. รถยนต์ประจำปีใกล้จะหมดอายุ  เงินติดล้อมีบริการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ สำหรับรถทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น รถมอเตอร์ไซค์, รถเก๋ง / กระบะ 4 ประตู, รถบรรทุก / กระบะ 2 ประตู หรือ รถโดยสารมากกว่า 7 ที่นั่ง รับรองว่าสะดวก รวดเร็ว แถมไม่มีการบวกค่าธรรมเนียมเพิ่ม