เสียงบีบแตรรถยนต์ไม่ดัง ไม่บีบแตรรถ ผิดกฎหมายไหม เสียค่าปรับเท่าไหร่?

เสียงแตรรถยนต์ คือการส่งสัญญาณให้ผู้ใช้รถใช้ถนนคันอื่นไหวตัวหรือตื่นตัว เพื่อรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยความถี่ของเสียงแตรช่วยให้คาดเดาเหตุการณ์ได้ง่ายขึ้น เช่น เสียงแตรรถที่มีความถี่ 3 ครั้งต่อวินาที อนุมานได้ว่ากำลังเร่งรีบ หรือเตือนอะไรบางอย่าง หรือเสียงบีบแตรสามช่าที่ใช้หยอกล้อคนอื่นบนท้องถนน ซึ่งรู้ไหมว่าการบีบแตรรถยนต์ที่ดังมากไปมีโทษตามกฎหมาย!

ค่าปรับเสียงแตรรถยนต์

 

ไขข้อข้องใจเสียงบีบแตรรถยนต์แบบไหนผิดกฎหมาย

สำหรับใครที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลย อาจจะกำลังมึนงงแล้วหลุดขำออกมาบ้าง ว่ามีด้วยเหรอกฎหมายเสียงแตร คำตอบคือ “มีและใช้จริง” โดยเป็นข้อกฎหมายที่ถูกเขียนกำกับเอาไว้ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ที่คนใช้รถใช้ถนนรู้จักกันเป็นอย่างดี และเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ประกันติดโล่ได้จำแนกเหตุการณ์ได้ดังนี้

เสียงบีบแตรรถยนต์ต้องได้ยินภายในกี่เมตร

เสียงบีบแตรตามกฎหมายบีบแตร หรือ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 12 ได้กำหนดเอาไว้ว่า เสียงแตรรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ ต้องได้ยินในระยะที่ไม่น้อยกว่า 60 เมตร ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับ 200 บาท ซึ่งแปลได้ว่า ถ้าแตรรถยนต์เสีย แตรรถยนต์ไม่ดัง หรือแตรรถยนต์เสื่อมสภาพ แล้วนำรถมาใช้งานถือว่าผิดกฎหมาย

ประกันติดโล่เข้าใจว่า การที่ข้อกฎหมายเขียนแบบนี้ เพราะเสียงแตรคือการส่งสัญญาณให้ผู้ใช้รถใช้ถนน รวมไปถึงคนเดินฟุตบาทได้รับทราบเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น สมมติว่ารถเบรคแตก การที่คุณบีบแตรเพื่อส่งสัญญาณจะเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุได้ไม่มากก็น้อยครับ ดังนั้น เสียงแตรดังถือเป็นส่วนหนึ่งในการรับผิดชอบสังคม

ห้ามแต่งเสียงแตรรถ อย่าใช้เสียงสัญญาณไซเรนแทนเสียงบีบแตร

บางคนต้องการให้เสียงแตรดังกังวานกว่านี้เพื่อเรียกความสนใจ จึงทำการแต่งเสียงแตรใหม่ให้กลายเป็นเสียงสัญญาณไซเรนฉุกเฉิน หรือเสียวหวีหว่อที่ได้ยินกันจนชินหู ซึ่งถ้านำมาใช้งานแน่นอนว่าผิดกฎหมายเสียงบีบแตร หรือ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตามมาตรา 13 ที่กำหนดไว้ว่า

ห้ามใช้เสียงไซเรน เสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า หรือเสียงหลายเสียงที่ผสมกัน และมีความดังมากเกินไป มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท เพราะเสียงที่กล่าวไปข้างต้น ใช้ได้เฉพาะกับรถที่เป็นรถในราชการ รถฉุกเฉิน รถพยาบาล หรือรถตำรวจเท่านั้น เพื่อป้องกันการสับสนเวลาเร่งด่วน ต้องใช้เสียงแตรที่มากับรถเท่านั้น

บีบแตรสามช่า บีบแตรเสียงลากยาว ๆ ระวังจะโดนค่าปรับ

บีบแตรสามช่า บีบแตรลากเสียงยาว ๆ หรือส่งสัญญาณเสียงแตรที่เกินกว่าเหตุจำเป็น ถือว่าผิดกฎหมายการบีบแตร หรือ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตามมาตรา 14 ที่กำหนดว่า การใช้เสียงสัญญาณควรใช้ในเวลาที่มีเหตุจำเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น ใช้เสียงซ้ำ ๆ มากเกินไปไม่ได้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าการบีบแตรส่งสัญญาณเป็นการเตือนให้ผู้ใช้รถใช้ถนน หรือคนเดินทางเท้าได้รู้ว่าเหตุการณ์ถัดไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่น หากรถชนเสาไฟฟ้า เป็นการเรียกสติให้คนรอบข้างไหวตัวทัน ดังนั้น การบีบแตรสามช่า แม้จะเป็นการบีบแตรรถยนต์เพื่อทักทายเพื่อนร่วมถนน มีโอกาสสร้างความเข้าใจผิดได้

ข้อมูลเพิ่มเติม : พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

วิธีบีบแตรรถยนต์แบบไทย ๆ กฎหมายบีบแตร

 

บีบแตรรถยนต์แบบมีมารยาทแบบไหนที่คนไทยคุ้นชิน

แตรรถยนต์เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เช่น รถชนรถ รถชนท้าย รถชนไม่มีคู่กรณี เพราะเป็นการส่งสัญญาณให้ผู้ใช้รถใช้ถนนและคนเดินทางเท้าได้ไหวตัวทัน กฎหมายการบีบแตรจึงกำหนดว่าต้องดังในระยะที่ไม่น้อยกว่า 60 เมตร เพราะยังพอจะมีเวลาให้ได้ใช้สัญชาตญาณเอาตัวรอดจากอุบัติเหตุ

แต่ถึงอย่างนั้น การจะไปบีบแตรพร่ำเพรื่อ บีบแตรตามอำเภอใจ อยากบีบแตรรถยนต์เมื่อไหร่ก็บีบ เขาว่ากันว่าไม่มีมารยาท ดังนั้น เพื่อให้การบีบแตรรถยนต์ในช่วงเวลาที่ไม่ใช่หน้าสิ่วหน้าขวานถูกก่นด่าน้อยที่สุด ต้องมีแตรแบบไหนที่คนไทยถึงจะพอใจ ประกันติดโล่ได้ทำการสืบหาข้อมูลมาแล้ว ดังนี้

อยากทักทายเพื่อนร่วมทางอย่าบีบแตรสามช่า

จังหวะสามช่าเป็นอะไรที่ได้ฟังแล้วสนุกและครึกครื้น แต่อย่าบีบแตรสามช่าทักทายเลยนะครับ เพราะชาวบ้านละแวกนั้นจะหนวกหูแล้วได้ก่นด่าสาปแช่งไปตามทาง ถ้าอยากบีบแตรรถทักทายเพื่อนร่วมทางบีบแค่สั้น ๆ เบา ๆ ก็เป็นอันรู้กันแล้วว่า “สวัสดีเพื่อนร่วมทาง” ถ้าไม่เชื่อว่าจะโดนด่าก็ลองพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองครับ

อยากเตือนให้ระวัง บีบแตรได้เลยสั้น ๆ เบา ๆ

การบีบแตรลากยาวอาจทำให้คนรอบข้างตกใจได้ ดังนั้น ถ้าคิดอยากส่งสัญญาณเตือนให้ระวังสามารถบีบแตรได้สั้น ๆ เบา ๆ เพื่อเป็นการเรียกสติ เช่น อยากเตือนคนที่ข้ามถนนว่าไฟแดงเปลี่ยนเป็นไฟเขียวแล้ว หรือบีบแตรรถยนต์เวลาขับรถในที่แคบแล้วเจอโค้งหักศอกเพื่อบอกว่ารถของคุณกำลังจะไป จะได้ไม่เกิดรถชนกัน

อยากบอกรถคันข้างหน้าว่าไฟเขียวแล้วบีบแตรรถแบบไหน

เพราะไฟแดงมีเวลายาวนานกว่าไฟเขียวมาก บางทีรถติดอยู่ 5 แยกกว่าจะถึงคิวเราก็รอไปเกือบ 10 นาที ไฟเขียวมาทั้งทีก็ไม่อยากพลาดโอกาส แต่ในเมื่อรถคันหน้ายังไม่ขยับสักที การบีบแตรยาว ๆ 1 ครั้งถ้วน เพื่อให้รถคันข้างหน้ารู้ว่าไฟแดงนั้นเปลี่ยนเป็นไฟเขียวแล้วถือว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ดีเช่นกัน เพราะไม่มีใครอยากขับรถฝ่าไฟแดง แล้วโดนใบสั่งจราจรหรอกครับ

เจอเหตุฉุกเฉินหรือเหตุไม่คาดฝันบีบแตรยาว ๆ ดัง ๆ ได้เลย!

การบีบแตรดัง ๆ ยาว ๆ ที่มีความถี่เกิน 4 ครั้งต่อวินาที แน่นอนว่าโดนด่าอยู่แล้ว แต่เมื่อเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันแล้วต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ต้องบีบแตรส่งสัญญาณอยู่ดี เช่น คุณจอดรถไว้หลังตึกแล้วโดนจี้รถยนต์ การอยู่ในรถแล้วบีบแตรดัง ๆ ยาว ๆ อย่างน้อยก็เรียกความสนใจจากคนรอบข้างได้บ้าง

และนี่คือการบีบแตรในรูปแบบที่คนไทยเคยชินครับ เมื่อรู้ดังนี้แล้วถ้าตกอยู่ในสถานการณ์จริง แล้วอยากเตือนให้คนใช้รถหรือคนเดินทางเท้าได้รับรู้ก็อย่าลืมที่จะบีบแตรด้วยนะครับ นั่นก็เพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุรถชนให้น้อยที่สุด แต่ถ้าบีบแตรรถแล้วเตือนไม่ทัน ถึงเวลาแล้วที่จะใช้ประกันรถยนต์คุ้มครองความเสี่ยงให้

 

สรุป

หากแตรรถยนต์ไม่มีเสียงดังควรซ่อมให้ใช้งานได้ เพราะกฎหมายระบุเอาไว้ว่าเสียงแตรรถยนต์ต้องได้ยินในระยะที่ไม่น้อยกว่า 60 เมตร เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุขึ้น และทางที่ดีไม่ควรเปลี่ยนเสียงแตร ควรใช้เสียงแตรเดิมที่มากับรถยนต์เพื่อป้องกันไม่ให้รถคันอื่น ๆ สับสน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตามกฎหมายนะครับ!



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันรถยนต์

กรอกข้อมูลติดต่อ

นอกจากประกันรถยนต์ อยากได้อะไรเพิ่ม?
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    33,331
  • 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2023 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    10,717
  • ใบขับขี่หมดอายุ ต้องต่ออายุภายในเวลาเท่าไหร่

    ไขข้อข้องใจ! เมื่อใบขับขี่หมดอายุ ต้องดำเนินการต่ออายุภายในระยะเวลาเท่าไหร่ แล้วถ้าปล่อยเอาไว้นานเกินไปจะมีโทษทางกฏหมายหรือไม่? หาคำตอบได้ที่บทความนี้
    6,182