อาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ยื่นภาษีอย่างไร อัปเดต 2567

3,297

ปัจจุบันหลายคนหันมาทำอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์กันมากขึ้น เช่น ค้าขายออนไลน์ หรือเป็น​​ไดรเวอร์ (Driver) ทั้งด้วยเรื่องความชอบส่วนตัวและโอกาสในการสร้างรายได้ ทำมากได้มาก ได้เป็นนายตัวเอง และไม่ว่าอย่างไรก็ตามฟรีแลนซ์ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นภาษีไม่ต่างจากพนักงานประจำ แต่อาจจะมีวิธีการยื่นที่แตกต่างกันออกไป สำหรับใครที่รักอิสระ กำลังหาอาชีพอิสระทำ อยากหันมาเป็นฟรีแลนซ์ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าอาชีพอิสระยื่นภาษีแบบไหน เพื่อวางแผนเสียภาษีประจำปีได้อย่างถูกต้อง

 

การทำงานฟรีแลนซ์คืออะไร

อาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ คือ การจ้างงานรูปแบบหนึ่งที่ให้คุณเลือกทำงานได้อย่างอิสระ แทนที่จะถูกจ้างงานโดยบริษัทหรือนายจ้างเพียงคนเดียว การทำงานของฟรีแลนซ์จะมีความยืดหยุ่นในการเลือกงานที่ต้องการทำ สามารถกำหนดตารางเวลา กำหนดอัตราค่าจ้าง และเงื่อนไขการให้บริการได้ด้วยตัวเอง ทำให้ฟรีแลนซ์แต่ละคนมีประสบการณ์การทำงานและรายได้ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับทักษะและความสามารถของแต่ละคนเป็นหลัก อาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ที่พบได้บ่อย เช่น นักเขียน ออกแบบกราฟิก นักพัฒนาเว็บไซต์ บริการให้คำปรึกษา ช่างภาพ ช่างแต่งหน้าทำผม หรืองานด้านการตลาดออนไลน์ เป็นต้น

การทำงานฟรีแลนซ์คืออะไร

แม้ว่าการทำงานฟรีแลนซ์จะมีข้อดีมากมาย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสายงานที่มาพร้อมความท้าทายและมีความเสี่ยงสูง เช่น รายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มีสวัสดิการที่นายจ้างทั่วไปให้แก่พนักงาน เช่น การประกันสุขภาพ หรือโอกาสในการกู้เงินอาชีพอิสระที่อาจจะต้องวางแผนก่อนการยื่นกู้มากกว่าพนักงานประจำ เป็นต้น

 

ฟรีแลนซ์ยื่นภาษี 2567 ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ค่าจ้างที่ฟรีแลนซ์ได้รับจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากลูกค้าหรือผู้จ้างงาน เพื่อนำส่งกรมสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนดไว้ว่า ผู้ที่เป็นฟรีแลนซ์ หรืออยู่ในประเภทรับเหมาหรือบริการ รายได้ที่ได้รับจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% จากนั้นผู้จ้างงานจะออกหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่เรียกว่า ใบ 50 ทวิ ให้กับฟรีแลนซ์เก็บเอาไว้ เพื่อใช้ประกอบการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี

ฟรีแลนซ์ไม่มีใบหักภาษี ณ ที่จ่าย จะเป็นอะไรหรือไม่? ประกันติดโล่จะบอกให้


หากมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้จ้างงาน ใบหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือเอกสาร 50 ทวิ อาชีพอิสระและฟรีแลนซ์ทุกคนควรต้องมี เพื่อป้องกันการยื่นภาษีผิดพลาด ตัวเลขไม่ตรงกับกรมสรรพากร ซึ่งหากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรขอตรวจสอบเอกสารเพิ่มเติม อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้นั่นเองครับ

ฟรีแลนซ์ยื่นภาษี ภ.ง.ด. อะไร

ค่าจ้างที่ฟรีแลนซ์ได้รับจัดเป็น “เงินได้ประเภทที่ 2” หรือเงินได้ตามมาตรา 40(2) คือ เงินค่าจ้างทั่วไป ค่าคอมมิชชั่น หรือค่าตอบแทนที่คุณไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านายลูกน้อง หรือรายได้ในรูปแบบของการรับจ้างทั่วไป รับทำงานให้เป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งผู้ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) ถึง (8) เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และให้ ยื่นภาษีในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคมของทุกปี 

ตัวอย่าง ภ.ง.ด.90

 

อัตราภาษีเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้

เมื่อฟรีแลนซ์ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยใช้แบบ ภ.ง.ด. 90 จึงใช้เกณฑ์การคำนวณอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกับพนักงานประจำเลยครับ คือ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีแบบขั้นบันได ดังนี้

เงินได้สุทธิ (บาท) อัตราภาษี
0-150,000 ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้
150,001-300,000 5%
300,001-500,000 10%
500,001-750,000 15%
750,001-1,000,000  20%

 

ฟรีแลนซ์เอาอะไรไปลดหย่อนภาษีได้บ้าง

ค่าจ้างที่ฟรีแลนซ์ได้รับจัดเป็น “เงินได้ประเภทที่ 2” หรือเงินได้ตามมาตรา 40(2) ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้อีก 60,000 บาท แต่หากคุณเป็นทั้งพนักงานประจำผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) และเป็นฟรีแลนซ์ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(2) ด้วยนั้น สามารถหักค่าใช้จ่ายรวมกันต้องไม่เกินจำนวนดังกล่าวเท่านั้น

วิธีคำนวณอัตราภาษีเงินได้

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้สำหรับฟรีแลนซ์แบบง่าย ๆ คือ นำเงินได้ทั้งปี หักค่าใช้จ่ายส่วนตัวตามมาตรา 40(2) จะออกมาเป็นเงินได้สุทธิ จากนั้นดูว่าเราต้องจ่ายอัตราภาษีที่ขั้นไหน แล้วจึงหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ที่เราเคยโดนหักไปแล้วจากผู้จ้างงาน ก็จะทำให้ได้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีจริง ๆ เช่น 

  • เงินได้ทั้งปี 500,000 – 100,000 – 60,000 = เงินได้สุทธิ 340,000 บาท
  • ต้องเสียภาษี 340,000 x 10% = 34,000 บาท
  • หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ที่จ่ายไปแล้ว จะได้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีจริง ๆ

 

สรุป ฟรีแลนซ์ยื่นภาษีประจำปี 2567

อาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ยื่นภาษีไม่ยากอย่างที่คิด เพียงต้องมีเอกสารสำคัญอย่างใบหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ เพื่อใช้ประกอบการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี สำหรับหักค่าภาษีส่วนนี้ออกจากภาษีเงินได้ที่จะต้องจ่าย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีซ้ำซ้อน เพราะทำมาหากินมาทั้งปีก็อยากจะเซฟค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด และหากต้องใช้รถยนต์ขับขี่ทำมาหากินในทุก ๆ วัน อย่าลืมทำประกันรถยนต์ไว้ด้วยนะครับ แม้ว่าเบี้ยประกันรถลดหย่อนภาษีไม่ได้ แต่มีไว้ก็อุ่นใจกว่า เพราะเป็นอีกวิธีที่จะช่วยเซฟค่าใช้จ่ายได้เหมือนกันหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น หมดกังวลทุกค่าใช้จ่ายที่อาจตามมาได้อย่างแน่นอนครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมสรรพากร



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันรถยนต์

กรอกข้อมูลติดต่อ

นอกจากประกันรถยนต์ อยากได้อะไรเพิ่ม?
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    44,771
  • 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2023 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    12,186
  • วางแผนต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน และต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    ไม่อยากขาดต่อใบขับขี่ ทำความเข้าใจการต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน เพื่อวางแผนและเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม ป้องกันการทำผิดกฎหมายจราจร
    8,142