หน้าแรก บทความ ไลฟ์สไตล์ เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ‘คนจน’ ที่หลายคนไม่เคยรู้

เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ‘คนจน’ ที่หลายคนไม่เคยรู้

เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ‘คนจน’ ที่หลายคนไม่เคยรู้
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

เวลาที่มีการพูดถึงคนจน ไม่ว่าจะในข่าว หรือตามบทความต่างๆ เชื่อว่าหลายคนๆ คงจะมีมายาคติที่ว่า คนจนไม่ชอบเรียน ไม่รู้จักออม ใช้เงินไม่เป็น หรือคนจนมีลูกเยอะ แต่จริงๆ แล้ว “คนจนเป็นแบบนั้นจริงหรือเปล่า

แน่นอนว่าทุกคนที่ต้องการจะแก้ปัญหาเรื่องความจน ต่างก็มีภาพของคนจน และความจนในรูปแบบของตัวเอง แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณไม่ได้ เข้าใจผิดไปเอง สำหรับใครที่อยากเข้าใจคนจนให้มากขึ้น วันนี้เงินติดล้อจะมาสรุปแนวคิดที่ได้จากหนังสือ “เศรษฐศาสตร์ความจน” ให้ฟังกันครับ

5 เรื่องที่หลายคนมัก ‘เข้าใจผิด’ เกี่ยวกับคนจน

  1. คนจนใช้เงินไม่เป็น ไม่รู้จักออม

    ใครว่ามีแต่คนรวยเท่านั้นที่ชอบกระจายความเสี่ยง คนจนก็ชอบกระจายการเสี่ยงเช่นกัน แต่อาจจะเป็นการกระจายความเสี่ยงด้วยการมีหลายงาน หรือหลายอาชีพ

    ซึ่งการทำงาน หรือรับจ้างอย่างละนิด อย่างละหน่อย นั้นทำให้ไม่มีความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะด้าน และเงินที่ได้ก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้หลุดพ้นจากกับดักความจนได้

    ส่วนเรื่องการออม เวลามีเป้าหมายคนจนมักจะชอบออมแบบทีละเล็กทีละน้อย มากกว่าจะออมเป็นก้อนใหญ่ๆ เช่น ถ้าเปรียบกับการซื้อบ้าน คนจนมักจะค่อยๆ ออมเพื่อซื้ออิฐทีละก้อน ซื้อปูนทีละถุง และสร้างค่อยๆบ้านไปทีละเล็ก ทีละน้อย

  2. คนจนอดอยากไม่มีข้าวกิน

    หากพูดถึงคนจน หลายคนคงนึกถึงเด็กน้อยอดอยาก อดมื้อกินมื้อ แต่จริงๆ แล้ว คนจนไม่ได้อดอยากปากแห้งขนาดนั้น พวกเขามีเงินเพียงพอสำหรับซื้ออาหารสำหรับดำรงชีวิตได้

    เพียงแต่คนจนอาจไม่ได้มีความรู้ว่าควรกินอะไรให้ดีกับร่างกาย และให้พลังงานเพียงพอ เมื่อมีเงินหลายคนมักจะนำไปซื้ออาหารที่เน้นด้านรสชาติมากกว่า เช่น อาหารที่ใส่น้ำตาลเยอะๆ ซึ่งส่งผลเสียกับสุขภาพมากกว่า ทำให้เสียค่ารักษาด้านสุขภาพมากกว่าคนที่กินอาหารดีๆ

  3. คนจนไม่ชอบเรียนหนังสือ

    ปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาก็เป็นปัญหาส่วนหนึ่ง แต่ปัญหาที่แท้จริงก็คือ คนจนไม่รู้ว่าจะส่งลูกเรียนสูงไปทำไม เรียนไปก็ “ไม่มีงานดีๆ แถวบ้าน” หรือถ้าจะให้ลูกไปทำงานไกลๆ ก็อาจจะไม่มีใครดูแลตอนแก่

    หลายคนคิดว่า “เรียนสูงไปก็เท่านั้น” เพราะรอบๆ บ้านก็มีแต่สวนไร่นา ดังนั้นการแก้ไขปัญหานี้ก็คือ ควรสร้างงานดีๆ ใกล้บ้าน ที่ต้องใช้ความรู้จากการศึกษา เพื่อที่จะได้รู้ว่า “เรียนไปเพื่ออะไร”

  4. คนจนมีลูกมาก เลยทำให้ยากจน

    จริงๆ แล้วคนจนไม่ได้จนเพราะมีลูกมากจากการไม่คุมกำเนิด หรือท้องก่อนวัยอันควร แต่เป็นเพราะจนจึง “จำเป็นต้องมีลูกมาก

    การมีลูกหลายคนถือเป็นวิธีการกระจายความเสี่ยงรูปแบบหนึ่งของคนจน เพราะเค้าหวังให้ลูกสักคนหนึ่งในนั้นมาดูแลในยามชรา หรือยามป่วยไข้

    และการมีลูกก่อนวัยอันควรอาจจะไม่ได้มาจากการไม่มีความรู้ในด้านการคุมกำเนิด แต่มาจากการประเมินเอาไว้แล้วว่า การมีลูกตอนนี้ เป็นการลงทุนที่ดีที่สุด

  5. คนจนชอบค้าขาย ไม่ชอบทำงานประจำ

    หลายคนอาจมองว่า คนจนชอบค้าขาย หรือรับจ้างเป็นเจ้าของกิจการตัวเอง แต่จริงๆ แล้วหลายคนก็อยากทำงานประจำและมีสวัสดิการดีๆ เพียงแต่ไม่สามารถเข้าถึงงานประจำดีๆ ได้

    และถึงแม้จะเป็นเจ้าของกิจการก็ไม่มีเงินมากพอที่จะขยายธุรกิจและเติบโตได้ เพราะฉะนั้นถ้าอยากแก้ปัญหาความจน ภาครัฐควรให้การสนับสนุนเพื่อให้คนจนมีงานประจำดีๆ หรือสามารถขยายธุรกิจของตัวเองได้

สรุป

ก่อนจะแก้ปัญหาเราควรที่จะรู้สาเหตุและต้นตอของปัญหานั้นก่อน ปัญหาความจนก็เช่นกัน ถ้าอยากเข้าใจคนจน และสามารถที่จะแก้ปัญหาเรื่องความจนให้ถูกจุดได้ ต้องเข้าใจว่าคนจนคิดอย่างไร และต้องมองความจนให้รอบด้าน

และถ้าคุณอยากเข้าใจความจนให้มากขึ้น เงินติดล้อขอแนะนำ หนังสือเศรษฐศาสตร์ความจน หนังสือที่เล่าเรื่องราวความจนแบบย่อยง่าย ด้วยมุมมองเศรษฐศาสตร์ พร้อมเรื่องราวและประสบการณ์น่าสนใจที่คุณอาจไม่เคยรู้!

หากคุณอยากขยายธุรกิจ แต่ไม่มีเงินก้อนสำหรับหมุนทำธุรกิจ สินเชื่อทะเบียนรถ จากเงินติดล้อสามารถช่วยคุณได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

  • ติดต่อโดยตรงได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาใกล้บ้านท่าน
  • Facebook Inbox เงินติดล้อ: facebook.com/messages/t/ngerntidlor
  • โทรเข้า Call Center เงินติดล้อ: 088-088-0880
  • หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

เราพร้อมบริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง!

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น