ต่อใบขับขี่ชั่วคราว ตลอดชีพ ต้องไม่มีโรคอะไรในใบรับรองแพทย์?

“ใบขับขี่” ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถได้อย่างถูกกฎหมาย เพราะผ่านการทดสอบสมรรถภาพและความรู้เรื่องกฎหมายตามเงื่อนไขที่กรมการขนส่งกำหนดไว้ ไม่ว่าจะทำใบขับขี่ชั่วคราว หรือใบขับขี่ตลอดชีพก็ต้องยื่นเอกสารที่ชื่อว่า “ใบรับรองแพทย์ทำใบขับขี่” ไปด้วย เพื่อรองรับว่าคุณไม่ได้มีโรคอันตรายที่ทำให้สูญเสียการควบคุมรถยนต์จนเกิดอุบัติเหตุ คำถามคือแล้วโรคอันตรายที่อยู่ในแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ทำใบขับขี่มีโรคอะไรบ้าง โรคไหนห้ามทำใบขับขี่ บทความนี้มีคำตอบ!

 

ทำใบขับขี่ ต่อใบขับขี่ เปลี่ยนประเภทใบขับขี่ต้องมีใบรับรองแพทย์

ถ้าเคยต่ออายุใบขับขี่กันมาแล้ว จะทราบกันดีว่าเมื่อใบขับขี่หมดอายุก็สามารถดำเนินเรื่องได้เลยโดยไม่ต้องขอใบรับรองแพทย์ใหม่เพราะกรมการขนส่งทางบกมีประวัติอยู่แล้ว แต่ในปี 2564 เป็นต้นไปทำแบบนี้ไม่ได้แล้วนะครับ การต่ออายุใบขับขี่ต้องมีใบรับรองแพทย์ด้วย ซึ่งเป็นกฎใหม่ที่แพทยสภาได้ลงมติเป็นที่เรียบร้อย

โดยแพทยสภาให้ข้อมูลว่า ใครก็ตามที่จะต่อใบขับขี่ที่หมดอายุ ทำใบขับขี่ใหม่ หรือเปลี่ยนประเภทใบขับขี่ ต้องยื่นเอกสารใบรับรองแพทย์ทุกครั้ง แม้จะมีประวัติสุขภาพในระบบ แต่สุขภาพร่างกายของผู้ทำใบขับขี่ก็จะเปลี่ยนไปตามอายุขัย อาจมีโรคประจำตัวเพิ่มขึ้น หรือมีเหตุที่ทำให้เสียสมรรถภาพในการขับขี่นั่นเอง

ถ้าไม่ตรวจสุขภาพให้เป็นปีล่าสุด อาจเป็นอันตรายในขณะที่ขับรถสัญจรไปมาก็ได้ ส่งผลให้มีความเสียหายทั้งมากและน้อย โดยการต่อใบขับขี่ “ทำใบขับขี่” หรือเปลี่ยนประเภทใบขับขี่ ต้องแสดงให้เห็นว่าคุณไม่มีโรคต้องห้ามในการทำใบขับขี่ ซึ่งสามารถแจ้งกับแพทย์เพื่อให้แพทย์ผู้ตรวจออกใบรับรองให้ถูกจุดประสงค์ครับ

 

โรคต้องห้ามในแบบฟอร์มทำใบขับขี่ของแพทยสภา

แบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ทำใบขับขี่ปี 2564 มีโรคอะไรระบุบ้าง

เรื่องนี้ถูกประกาศออกมาตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์​ 2564 แล้วครับ ว่าถ้าจะทำใบขับขี่ใหม่ “ต่อใบขับขี่ที่หมดอายุ” หรือเปลี่ยนประเภทใบขับขี่ต้องมีใบรับรองแพทย์ประกอบด้วยซึ่งต้องเป็นไปตามที่แพทยสภากำหนดเอาไว้อีกด้วย โดยแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ทำใบขับขี่จะมีข้อมูลด้วยกัน 2 ส่วน

คือ ส่วนที่ผู้ขอทำใบขับขี่รับรองสุขภาพของตนเอง และเอกสารส่วนของแพทย์ที่ตรวจรับรองที่แสดงให้เห็นว่าผู้ขอตรวจไม่มีโรคประจำตัวหรือสภาวะของโรคที่เล็งเห็นว่าเป็นอันตรายกับการขับขี่ยานยนต์โดยในส่วนที่ 2 สามารถแจกแจงตามแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ที่แพทยสภากำหนดไว้เพื่อทำใบขับขี่ใหม่ตั้งแต่ปี 2564 คือ

  • ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
  • ไม่ปรากฏอาการของโรคจิต จิตฟั่นเฟือน หรือปัญญาอ่อน
  • ไม่ปรากฏอาการของการติดยาเสพติด หรือมีอาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • อาการของโรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจของสังคม
  • วัณโรคในระยะอันตราย
  • โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจต่อสังคม
  • โรคลมชักที่มีอาการต่อเนื่องภายใน 1 ปี

โดยโรคที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น แพทยสภาลงความเห็นว่าเสี่ยงอันตรายต่อการขับรถ และจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุตามมาในภายหลังได้ ซึ่งความเสียหายอาจมากถึงทรัพย์สินและชีวิตของผู้ขับรถเอง รถคันอื่น ๆ หรือคนเดินเท้าเดินฟุตบาทก็อาจจะโดนลูกหลงไปกับการเสียสมรรถภาพในการควบคุมอีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม : “สำเนาแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์จากแพทยสภา”

กรณีไหนบ้างที่ห้ามทำใบขับขี่ชั่วคราว และใบขับขี่ตลอดชีพ

สำหรับคนที่ไม่รู้มาก่อนเลย “ใบขับขี่มี 2 แบบ” คือใบขับขี่แบบชั่วคราว และใบขับขี่ตลอดชีพ โดยทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติของผู้ทำใบขับขี่กำหนดเอาไว้ หากคุณสมบัติไม่ตรงก็จะไม่สามารถทำใบขับขี่ตลอดชีพ หรือใบขับขี่ชั่วคราวได้เลย โดยคุณสมบัติที่จะทำได้มีทั้งข้อโรคอันตรายและเงื่อนไขเพิ่มเติม ดังนี้

กรณีที่ห้ามทำใบขับขี่ชั่วคราว

กรณีอะไรบ้างที่ไม่สามารถทำใบขับขี่ชั่วคราวได้

ใบขับขี่ชั่วคราวจะประกอบไปด้วยความผิดทางกฎหมายที่เคยก่อไว้ กับโรคร้ายต้องห้ามที่ห้ามทำใบขับขี่ คือ

  • อยู่ระหว่างการถูกยึดใบขับขี่
  • ถูกเพิกถอนใบขับขี่
  • ติดสุราหรือยาเสพติด
  • เคยต้องโทษจากการใช้รถ
  • มีอาการของโรคติดต่ออันเป็นที่น่ารังเกียจ

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำไม่ได้ตลอดชีวิต หากความผิดทางกฎหมายได้พ้นโทษสามารถกลับมาทำใบขับขี่ชั่วคราวได้อีก แต่ต้องมากกว่าระยะ 6 เดือนขึ้นไป หรือในกรณีที่มีอาการร้ายแรงของโรค หากรักษาหายสามารถนำใบรับรองแพทย์มายืนยันเพื่อต่อใบขับขี่ หรือทำใบขับขี่ชั่วคราวได้เลย

กรณีอะไรบ้างที่ไม่สามารถทำใบขับขี่ตลอดชีพได้

คำตอบสั้น ๆ คือเหมือนกันกับในแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ของการขอทำใบขับขี่ตามที่แพทยสภากำหนดเอาไว้เลย แต่ประกันติดโล่มีข้อมูลอยากมานำเสนอเพิ่มเติม หากเป็นใบรับรองแพทย์เพื่อทำใบขับขี่ในแบบก่อนจะไม่มีโรคลมชักปรากฎในแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ครับ เพราะโรคลมชักเพิ่งถูกเพิ่มในปีนี้

แต่ถ้าใครจะใช้แบบฟอร์มใบรับรองแพทย์แบบเก่าเพื่อนำมายื่นกับกรมการขนส่งทางบกก็ทำได้เช่นกัน เพียงแต่ให้หมอที่เป็นผู้ตรวจสุขภาพหรือคนไข้เขียนกำกับได้เลยว่า “ไม่ได้มีอาการลมชัก” แล้วให้แพทย์ผู้ดูแลเซ็นยืนยันหลักฐานว่าคือเรื่องจริง แล้วนำส่งเพื่อต่อทำใบขับขี่ใหม่ได้เลย

 

โรคอันตรายที่ห้ามทำใบขับขี่ที่ในอนาคต

โรคอันตรายห้ามทำใบขับขี่อยู่ระหว่างการพิจารณา

สำหรับเรื่องนี้ นายยงยุทธ นาคแดง รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นคนให้ข้อมูลเองว่า ในอนาคตจะมีโรคอันตรายที่ห้ามทำใบขับขี่เพิ่มเข้ามาอีก โดยในตอนนี้อยู่ระหว่างการศึกษาโดยแพทยสภาที่จะเป็นผู้วิจัยและกำหนดว่าโรคใดบ้างที่ควรจะถูกใส่ไว้ในใบรับรองแพทย์ทำใบขับขี่ ซึ่งโรคที่เข้าข่าย คือ

  • โรคเบาหวานระยะฉีดอินซูลิน
  • โรคความดันโลหิตสูง หรือผู้ป่วยผ่าตัดสมอง
  • โรคหัวใจ

ซึ่งจะมีโรคใดได้เข้ามาอยู่ในใบรับรองแพทย์ต่อใบขับขี่ หรือทำใบขับขี่ใหม่นั้น หากได้ผลสรุปจากการวิจัยจากแพทยสภาแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะนำมาประกาศในครั้งต่อไปครับ!

อ่านถึงตรงนี้ คงจะพอนึกภาพออกแล้วว่าการยื่นแบบฟอร์มใบรับรองแพทย์ที่จะทำใบขับขี่ทำไมถึงจำเป็นมาก ๆ เพราะถ้าทำใบขับขี่โดยไม่ตรวจสอบอะไรเลย อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ แม้จะมี “ประกันรถยนต์ชั้น 1” หรือ“ประกันรถชั้น 2+” คุ้มครอง แต่ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นจะดีกว่า!

 

สรุป

จะทำใบขับขี่ใหม่ ต่อใบขับขี่ หรือเปลี่ยนประเภทใบขับขี่ เอกสารสำคัญที่ต้องมีมาคู่กันคือ “ใบรับรองแพทย์เพื่อทำใบขับขี่” ทางที่ดีที่สุดต้องเป็นแบบฟอร์มใบขับขี่รับรองแพทย์ที่แพทยสภากำหนดขึ้น ที่ต้องกังวลกันเช่นนี้ เพราะต่อให้มีประวัติเก่าในระบบ แต่โรคร้ายแรงหรือสมรรถภาพในการขับรถอาจแย่ลงตามวัย การมีใบรับรองแพทย์จึงเป็นตัวยืนยันว่าตรงตามเงื่อนไขที่จะทำใบขับขี่ใหม่ได้



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันรถยนต์

กรอกข้อมูลติดต่อ

นอกจากประกันรถยนต์ อยากได้อะไรเพิ่ม?
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    32,648
  • 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2023 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    10,645
  • ใบขับขี่หมดอายุ ต้องต่ออายุภายในเวลาเท่าไหร่

    ไขข้อข้องใจ! เมื่อใบขับขี่หมดอายุ ต้องดำเนินการต่ออายุภายในระยะเวลาเท่าไหร่ แล้วถ้าปล่อยเอาไว้นานเกินไปจะมีโทษทางกฏหมายหรือไม่? หาคำตอบได้ที่บทความนี้
    6,132