หน้าแรก บทความ ไลฟ์สไตล์ เรื่องรถน่ารู้ อัปเดต 2566 ต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท?

อัปเดต 2566 ต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท?

อัปเดต 2566 ต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท?

ต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท? เป็นหน้าที่ของคนมีรถทุกประเภทที่จะต้องต่อพ.ร.บ.รถยนต์ เพราะพ.ร.บ.จะช่วยปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของบุคคลภายนอกในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนขึ้น เงินติดล้อจึงได้รวบรวมค่าพ.ร.บ.รถยนต์ของรถแต่ละประเภทมาให้เรียบร้อย ไม่ว่าคุณจะมีรถกี่คันก็สามารถวางแผนต่อพ.ร.บ.ล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าปล่อยให้พ.ร.บ.ขาดเพียงเพราะไม่ได้วางแผนเรื่องเงินหรือลืมไปว่าถึงเวลาจะต้องต่อแล้ว

เตรียมเงินให้พร้อม ต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท?

สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าแล้วพ.ร.บ.หมดอายุได้กี่วันนั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพ.ร.บ.รถยนต์มีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้น และไม่สามารถปล่อยให้พ.ร.บ.ขาดได้เลยแม้แต่วันเดียวหากพ.ร.บ ขาดแล้วยังนำรถออกมาใช้งาน อาจทำให้ต้องเสียค่าปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ตามมาตรา 38 บัญญัติไว้ว่า “เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท”

อัปเดต 2566 ต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท

รถแต่ละประเภทต่อพ.ร.บ.รถยนต์ราคาเท่าไหร่?

ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ราคานี้ ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%

ประเภทรถโดยสาร ต่อพ.ร.บ.รถกี่บาท
รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) 600 บาท
*รถยนต์โดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) 600 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) 1,100 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท

 

ประเภทรถบรรทุก ต่อพ.ร.บ.รถกี่บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) 900 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน 1,680 บาท
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน 2,320 บาท

 

ประเภทรถมอเตอร์ไซค์ ต่อพ.ร.บ.รถกี่บาท
รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี  150 บาท
รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ 75-125 ซีซี  300 บาท
รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ 125-150 ซีซี 400 บาท
รถมอเตอร์ไซค์เครื่องยนต์ 150 ซีซีขึ้นไป 600 บาท

หมายเหตุ : 

  1. รถที่จดทะเบียนในต่างประเทศและนำเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว อัตราเบี้ยประกันภัยให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้นหรือไม่เต็มปีตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์  พ.ศ. 2548
  2. ให้นำอัตราเบี้ยประกันภัยรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลแยกตาม ซี. ซี. มาใช้กับรถจักรยานยนต์สามล้อดัดแปลงสำหรับคนพิการโดยอนุโลม

ที่เงินติดล้อ ต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท?

สำหรับคนที่ต้องการต่อพ.ร.บ.รถยนต์สะดวกและง่ายที่สุด สามารถทำได้ด้วยตัวเองผ่านแอปเงินติดล้อ รับกรมธรรม์ใน 5 นาที  ไม่มีเก็บค่าบริการเพิ่ม รับรถทุกชนิดทั้งมอเตอร์ไซค์ เก๋ง กระบะ รถบรรทุก รถแทรกเตอร์ และไม่จำกัดอายุรถ รถอายุกี่ปีก็ต่อ พ.ร.บ. กับเงินติดล้อได้

ประเภทรถยนต์ ต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท
รถมอเตอร์ไซค์ (ส่วนบุคคล/รับจ้าง,ให้เช่า) เริ่มต้น 323.14 บาท
รถเก๋ง / กระบะ 4 ประตู (ส่วนบุคคล/รับจ้าง,ให้เช่า) เริ่มต้น 645.21 บาท
รถบรรทุก / กระบะ 2 ประตู (ส่วนบุคคล) เริ่มต้น 967.28 บาท
รถโดยสารมากกว่า 7 ที่นั่ง (ส่วนบุคคล) เริ่มต้น 1,182.35 บาท

วางแผนค่าใช้จ่ายก่อนต่อพ.ร.บ.รถยนต์

ถึงแม้การต่อพ.ร.บ.รถจะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมาก แต่อย่าลืมว่าคนมีรถทุกคนไม่ได้มีแค่ค่าพ.ร.บ.ที่จะต้องจ่ายในแต่ละปี หรือบางคนอาจไม่ได้มีรถเพียงแค่คันเดียว ดังนั้น การวางแผนและเตรียมพร้อมล่วงหน้าสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับรถของคุณในแต่ละปีจึงเป็นสิ่งสำคัญ

1. อัปเดตข้อมูลต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท

อัปเดตข้อมูลค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ทุกปี เพราะอัตราค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและแตกต่างกันไปตามประเภทของรถ สามารถอัปเดตข้อมูลได้ที่ คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ซึ่งเป็นผู้กำหนดเป็นอัตราเบี้ยประกันภัยพ.ร.บ. โดยแยกตามประเภทรถและลักษณะการใช้รถ บริษัทประกันภัยหรือโบรกเกอร์ประกันภัยไม่สามารถคิดเบี้ยประกันภัยให้ต่างไปจากที่ คปภ.กำหนดได้

2. วางแผนการเงิน

เพราะหลายคนอาจจะไม่ได้มีรถแค่คันเดียว และในแต่ละปีก็มีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อนอีกมากมาย ทั้งค่าประกันรถยนต์ ค่าพ.ร.บ. และค่าภาษีรถยนต์ เมื่อคุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว คุณก็จะได้สำรองงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนั้นไว้อย่างเพียงพอ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่องและไม่เป็นการทำผิดกฎหมายอีกด้วย ซึ่งการวางแผนการเงินในส่วนนี้ ก็เพื่อไม่ให้กระทบกับสภาพการเงินในอนาคตหากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้น เพราะค่าเสียหายที่ตามมา อาจมากกว่าค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในแต่ละปีอีกก็เป็นได้

3. วางแผนทำประกันรถยนต์

แม้ว่าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือพ.ร.บ.รถ จะคุ้มครองบุคคลอื่น (หรือบุคคลที่สาม) ที่ได้รับบาดเจ็บต่อร่างกาย หรือได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินในครั้งนั้น แต่อาจจะไม่ครอบคลุมความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แนะนำให้วางแผนทำประกันรถยนต์ซึ่งเป็นประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่ปัจจุบันบริษัทประกันได้ออกแบบประกันรถยนต์มาให้เลือกมากมายเช่น ประกันรถยนต์มนุษย์เงินเดือนผ่อน 0% ตอบโจทย์มุนษย์เงินเดือนและคนที่อยากผ่อนจ่ายค่าเบี้ยประกัน อีกทั้งยังได้รับความคุ้มครองทันทีอีกด้วย

 

สรุป ต่อพ.ร.บ.รถยนต์กี่บาท?

ไม่ว่าจะเป็นประกันภาคบังคับหรือภาคสมัครใจ ต่างก็ออกแบบมาเพื่อปกป้องคุณและบุคคลภายนอกจากความเสียหายหรือความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยทั่วไปแล้วการต่อพ.ร.บ.รถยนต์จะทำไปพร้อม ๆ กับตอนทำประกันรถยนต์เลย ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1ประกันชั้น 2+ หรือประกันรถชั้น 3+ ก็จะช่วยลดความยุ่งยากในการดำเนินการ และไม่ต้องกังวลด้วยว่าต่อพ.ร.บ.รถแล้วหรือยัง ก็จะทำให้คุณได้รับความคุ้มครองที่ต่อเนื่อง และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่ตามมาหากไม่มีประกันคอยดูแลความเสี่ยงเหล่านั้นให้กับคุณ

ต่อ พ.ร.บ.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

  • ติดต่อโดยตรงได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาใกล้บ้านท่าน
  • Facebook Inbox เงินติดล้อ: facebook.com/messages/t/ngerntidlor
  • โทรเข้า Call Center เงินติดล้อ: 088-088-0880
  • หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

เราพร้อมบริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง!

ขอบคุณข้อมูลจาก : คปภ.

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น