ประกันลดหย่อนภาษีคืออะไร ซื้อประกันรถยนต์ ลดหย่อนภาษีได้ไหม?

การยื่นภาษีประจำปีเป็นหน้าที่ที่มีผู้มีเงินได้ทุกคนต้องทำ ต่อให้มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์การเสียภาษีที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ก็ต้องยื่นภาษี ซึ่งการจ่ายภาษีมีค่าลดหย่อนหลายประเภทให้ผู้มีเงินได้เลือก หลายคนที่กำลังจะเสียภาษีประจำปีเลยสงสัยว่า เบี้ยประกันรถยนต์ลดหย่อนภาษีได้ไหม ประกันติดโล่มีคำตอบมาให้แล้ว!

 

ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร วิธีลดหย่อนภาษี 2566

ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร ประกันแบบไหนใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง?

ค่าลดหย่อนภาษีเป็นค่าใช้จ่ายตามรายการที่รัฐกำหนดไว้ให้ผู้มีเงินได้นำไปหักออกจากเงินได้ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นเงินเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ผู้มีเงินได้เลยเสียภาษีในจำนวนที่น้อยลงกว่าเงินจริง หรือใช้ขอคืนภาษีได้ ดังนั้น การมีค่าลดหย่อนภาษีเลยดีกับผู้เสียภาษี ซึ่งค่าลดหย่อนประเภทหนึ่งที่ใช้ได้คือ “เบี้ยประกัน” แต่คำถามคือเบี้ยประกันที่ใช้ลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง รวมเบี้ยประกันรถยนต์ได้ไหม มาหาคำตอบพร้อมๆ กันเลย

เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ใช้ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่

ผู้เสียภาษี 2565 ที่ซื้อประกันชีวิตให้พ่อหรือแม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีประจำปีได้ สามารถใช้ลดหย่อนตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าทั้งพ่อและแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี 

เบี้ยประกันสุขภาพของตัวเองใช้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

หลายคนเลือกซื้อประกันสุขภาพเอาไว้คุ้มครองเวลาเจ็บป่วย (เพราะไม่อยากใช้สิทธิประกันสังคมรักษาพยาบาล)​ แต่รู้ไหมครับว่าสามารถใช้เบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้ด้วย โดยลดหย่อนได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท

เบี้ยประกันชีวิตของตัวเองใช้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

ผู้เสียภาษี 2565 ที่ซื้อประกันชีวิตแบบทั่วไปหรือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (ประกันชีวิตแบบบำนาญ) สามารถนำเบี้ยประกันลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ 

  • ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป 
  • กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีต้องซื้อกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
  • ถ้าประกันชีวิตมีการเวนคือกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้

เบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสใช้ลดหย่อนภาษีได้ไหม

ผู้มีเงินได้สามารถใช้เบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งเงื่อนไขในการใช้เบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนภาษี คือ

  • คู่สมรสต้องเป็นผู้ไม่มีเงินได้
  • ต้องแต่งงานกันมาก่อนหน้าปีที่จ่ายภาษี

 

ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร วิธีลดหย่อนภาษี 2566

เบี้ยประกันรถยนต์ส่วนบุคคลใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษี 2565 ได้ไหม

หลายคนเข้าใจผิดว่า “ประกันรถยนต์ส่วนบุคคล” ใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีหรือขอคืนภาษีได้ เพราะว่าต้องจ่ายเบี้ยประกันเหมือนกับประกันสุขภาพหรือประกันชีวิต แต่จริงๆ แล้ว ประกันรถยนต์ใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้ เพราะประกันรถส่วนบุคคลไม่ถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการใช้ชีวิต ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสุขภาพและเศรษฐกิจ ดังนั้น ภาครัฐจึงไม่ได้กำหนดให้เบี้ยประกันรถยนต์เป็นค่าลดหย่อนภาษีประจำปีของผู้มีเงินได้นั่นเอง 

ถึงประกันรถยนต์จะไม่อยู่ในหมวดหมู่ค่าเบี้ยประกันลดหย่อนภาษี แต่ประกันติดโล่คิดว่า การขับรถทุกวันนี้จำเป็นมากที่จะต้องมีประกันรถยนต์ส่วนบุคคลเอาไว้ แม้จะมีกฎหมายให้รถยนต์ทุกคันต้องมีประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.รถยนต์) แต่ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่เป็น ประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันรถยนต์​ชั้น 2+ และประกันรถยนต์ชั้น 3+ ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะเป็นความคุ้มครองที่เติมที่คุณสามารถเลือกได้ เช่น

 

สรุป

ถึงเบี้ยประกันรถยนต์ไม่สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีประจำปีได้ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สำคัญ เพราะทุกวันนี้การใช้รถใช้ถนนมีความเสี่ยงตามมาด้วยเสมอ วันหนึ่งอาจเจอคนเมาแล้วขับ หรือหลับในจนขับรถชนเสาไฟฟ้าก็ได้ ดังนั้น การมีประกันรถยนต์เอาไว้จะทำให้การขับรถบนท้องถนนอุ่นใจมากขึ้นกว่าเดิม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : itax, กรมสรรพากร



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันอุบัติเหตุ
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    40,654
  • 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2023 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    11,612
  • วางแผนต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน และต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    ไม่อยากขาดต่อใบขับขี่ ทำความเข้าใจการต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน เพื่อวางแผนและเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม ป้องกันการทำผิดกฎหมายจราจร
    7,377