มะเร็งเต้านม ภัยร้ายอันดับหนึ่งของผู้หญิง

1 ใน 6 ของการเสียชีวิตของสตรีทั่วโลกเกิดจากโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง

โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม ที่มีอัตราการพบมากที่สุดทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งมีอัตราการเกิดขึ้นมากกว่ามะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 แม้ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะร่วมมือกัน แต่ปริมาณผู้เป็นมะเร็งเต้านมก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลงแต่อย่างใด

เรามาดูกันว่าจริงๆ โรคร้ายแรงอันดับหนึ่งของผู้หญิงนี้คืออะไรกันแน่ แล้วเราควรป้องกัน และหาทางรักษามันได้อย่างไร

มะเร็งเต้านมคืออะไร

มะเร็งเต้านมเกิดจากการที่เซลล์เนื้อเยื่อบริเวณเต้านมมีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ และแปรเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งเซลล์มะเร็งนี้เป็นเซลล์ที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมตามปกติได้ ถ้าหากปล่อยไว้นานเข้าเซลล์มะเร็งจะลุกลามเข้าทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียง จนอวัยวะใช้การไม่ได้และอาจจะเสียชีวิตได้ในที่สุด

ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ช่วงอายุที่ตรวจพบมะเร็งเต้านมมากที่สุดคือหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีก เช่น การกลายพันธ์ุของเซลล์ คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม ขาดการออกกำลังกาย หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แม้ว่ามะเร็งเต้านมจะถูกตรวจพบได้มากในผู้สูงอายุ แต่ว่าในปัจจุบันนั้นพบว่าในช่วงวัยรุ่นก็มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ ซึ่งคาดว่าเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้คนเหล่านี้มีโอกาสในการสัมผัสสารก่อมะเร็งมากขึ้น

สัญญาณอันตรายเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

สัญญาณอันตรายเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

แม้มะเร็งจะเป็นสิ่งอันตรายมากแค่ไหน แต่มันก็สามารถรักษาได้หากตรวจพบเจอทันเวลา สิ่งสำคัญคือเราอย่าอาย หรือเกรงกลัวที่จะตรวจสอบ เพราะการรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเสียแต่เนิ่นๆ แล้วเตรียมรับมือมันได้ ย่อมดีกว่าการที่รู้เมื่อสายแล้วทำอะไรไม่ทันอีกต่อไป

มะเร็งเต้านมนั้นสามารถตรวจสอบขั้นต้นด้วยตัวเองได้ระดับหนึ่งโดยสัญญาณที่น่าระวังเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมมีดังนี้

  • คลำเจอก้อนเนื้อแข็งบริเวณเต้านมหรือใต้แขน
  • หัวนมบุ๋มลงไปแบบไม่ทราบสาเหตุ
  • มีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลออกมาจากหัวนม
  • ผิวหนังบริเวณเต้านมเปลี่ยนไปจากผิดปกติ เกิดผื่น ผิวเปลือกส้ม
  • มีความระคายเคือง เจ็บบริเวณเต้านมหรือหัวนม
  • ขนาดและรูปร่างของเต้านมแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคั​ญ

ซึ่งผู้หญิงที่อายุ 20 ปีขึ้นไปควรทำการตรวจสอบเต้านมขั้นต้นด้วยตนเองเดือนละครั้ง ทั้งการสังเกตด้วยสายตาและตรวจคลำด้วยมือ ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจสอบเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมและการอัลตร้าซาวนด์อย่างน้อยปีละครั้ง

ทั้งนี้การตรวจสอบเต้านมจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในช่วง 3-10 วันหลังหมดประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงจนเกินไป และควรตรวจด้วยความเบามือ ไม่ควรบีบเค้นด้วยความรุนแรง

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม

1. การตรวจเต้านมภายนอก

การตรวจเต้านมภายนอกนั้นแพทย์จะทำการตรวจสอบขั้นต้น คล้ายกับการที่เราตรวจสอบด้วยตนเอง คือดูลักษณะของเต้านม หัวนม ผิวหนังบริเวณรอบๆ นอกจากการสังเกตความผิดปกติของภายนอกเต้านมแล้ว ทางแพทย์จะทำการตรวจด้วยการคลำหาก้อนเนื้อแข็งที่เต้านมทั้งสองข้างไปจนถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ด้วย

2. แมมโมแกรม

แมมโมแกรม (Mammogram) หรือการตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมกราฟี่ ที่จะฉายรังสีเอ็กซ์กำลังต่ำเพื่อเอ็กซ์เรย์ตรวจสอบ และสร้างภาพเนื้อเยื่อภายในเต้านมของเราขึ้นมา โดยการทำแมมโมแกรมนี้จะสามารถตรวจสอบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ทำให้เราสามารถเห็นความผิดปกติต่างๆที่เต้านมได้ทันท่วงที

3. อัลตร้าซาวด์

อัลตร้าซาวด์เป็นอีกวิธีที่ทางการแพทย์นิยมใช้เพื่อตรวจสอบมะเร็งเต้านม โดยการส่งคลื่นความถี่สูงเข้าไปเพื่อสร้างภาพสะท้อนของเสียงในร่างกายของเรา วิธีนี้สามารถตรวจสอบได้ทั้งก้อนเนื้อแบบแข็งและถุงน้ำในร่างกาย

4. การตรวจชิ้นเนื้อ

การตรวจชิ้นเนื้อจะเกิดต่อเมื่อแพทย์ตรวจสอบด้วยวิธีอื่น แล้วพบก้อนเนื้อที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นมะเร็งภายในร่างกาย จึงต้องทำการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาว่าชิ้นเนื้อต้องสงสัยนี้มีเซลล์มะเร็งปะปนหรือไม่ ซึ่งหากตรวจแล้วไม่พบเซลล์มะเร็ง ทางแพทย์อาจเสนอให้ผ่าตัดนำก้อนเนื้อออกเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของแพทย์แต่ละคน แต่ถ้าหากตรวจพบว่าเป็นเซลล์มะเร็ง ก็เข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป

การรักษา

มะเร็งเป็นโรคที่มีการรักษาหลายแบบ ขึ้นอยู่กับความระดับความร้ายแรง ซึ่งมะเร็งเต้านมเองก็ไม่ต่างกัน การรักษามะเร็งจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ โดยมีวิธีรักษาหลักๆ ดังนี้

  • การผ่าตัด
  • การฉายรังสี
  • เคมีบำบัด
  • ฮอร์โมน
  • ยารักษาเฉพาะจุด
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก/สเต็มเซลล์
  • การรักษาตามวิธีทางอายุรกรรม ทานยา ดูแลสุขภาพร่างกาย

หากเป็นมะเร็งที่พบในระยะแรก ยังไม่ลุกลามและร้ายแรงมาก ก็ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่คงดีกว่าหากเราลดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งได้ด้วยตัวเอง

การลดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม

สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือทุกคนมีความเสี่ยงจะเกิดมะเร็งทั้งนั้น แต่จะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับตัวบุคคล หากไม่นับปัจจัยทางพันธุกรรม การใช้ชีวิตประจำวันก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เราควรให้ความสนใจ เพราะมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่มีอัตราการพบมากที่สุดในผู้หญิง

การออกกำลังกายและทานอาหารให้ครบห้าหมู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เป็นวิธีเบื้องต้นที่สุดที่สามารถทำได้ในการหลีกเลี่ยงโรคร้ายต่างๆ มะเร็งเต้านมเองก็เช่นกัน นอกจากการออกกำลังกายจะป้องกันมะเร็งได้ในระดับหนึ่งแล้ว ยังลดความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย

จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะสองสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม หากดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่มากเกินไป จะส่งผลกระทบทำให้กระตุ้นการเกิดมะเร็งเต้านมมากขึ้น

หมั่นสังเกตและตรวจสอบเต้านมตัวเอง อย่างน้อยเดือนละครั้ง หากเป็นผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจแมมโมแกรมปีละครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุไม่คาดฝัน

อีกสิ่งที่ควรให้ความสนใจไม่แพ้กันคือ ประกัน เนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ดังนั้นการเตรียมตัวในเรื่องนี้ไว้ก่อนก็เป็นเรื่องที่ควรทำ

ซึ่งประกันมะเร็งที่ทางประกันติดโล่จำหน่ายก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยมีเบี้ยประกันมะเร็งเริ่มต้นเพียงวันละ 3 บาท หากตรวจพบมะเร็งจะมีการให้ดูแลทันที 300,000 บาท และให้ค่ารักษาสูงสุดถึง 600,000 บาท

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ประกันติดโล่ทุกสาขา หรือเบอร์ 1501 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันมะเร็งได้ที่นี่



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันมะเร็ง
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    38,313
  • 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2023 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    11,363
  • วางแผนต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน และต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    ไม่อยากขาดต่อใบขับขี่ ทำความเข้าใจการต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน เพื่อวางแผนและเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม ป้องกันการทำผิดกฎหมายจราจร
    7,004