ใบขับขี่คือบัตรประจำตัวสำคัญที่ใช้เป็นเครื่องยืนยันว่า บุคคลผู้นั้นมีศักยภาพพอที่จะขับยานพาหนะดังกล่าวได้ ซึ่งก็มีหลายประเภทแตกต่างกันไปตามการใช้งานและประเภทของรถต่าง ๆ หากไม่มีใบขับขี่ หรือไม่มีการต่อใบขับขี่ (ใบขับขี่หมดอายุ) ก็จะผิดกฏจราจร และในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุนั้นก็อาจจะส่งผลเสียต่อคุณมากเช่นกัน
บทความนี้เงินติดล้อจะมาชี้แจงว่าใบขับขี่มีกี่ประเภท ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร และมีค่าธรรมเนียมในการทำ / ต่ออายุเท่าไหร่บ้าง มาดูกันเลย!
ใบขับขี่มีกี่ประเภท? แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?
เริ่มแรก! เรามาดูกันเลยว่าใบขับขี่มีกี่ประเภทกันแน่ เพื่อที่คุณจะได้เดินเรื่องจัดการทำใบขับขี่ให้ถูกต้องตามประเภทของการใช้งาน
ใบขับขี่จะถูกแยกออก เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- ใบขับขี่ประเภท บ. (ส่วนบุคคล): คือใบอนุญาตให้ขับขี่ขนส่งสำหรับการใช้งานแบบส่วนบุคคลรวมถึงสามารถใช้เคลื่อนย้าย หรือทำการขนส่งเพื่อการค้าได้เช่นเดียวกัน (เฉพาะธุรกิจส่วนตัว) แต่จำกัดน้ำหนักการขนส่งไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม และต้องไม่ใช่การรับจ้าง
- ใบขับขี่ประเภท ท. (ทุกประเภท): คือใบอนุญาตให้ขับขี่ขนส่งสำหรับการใช้งานได้ทุกประเภท สามารถใช้เคลื่อนย้าย หรือทำการขนส่งเพื่อการค้าได้โดยไม่จำกัดน้ำหนักการขนส่ง รวมถึงใช้เพื่องานรับจ้างได้
จากนั้นก็จะมีการแยกย่อยประเภทของใบขับขี่ตามชนิดของยานพาหนะ และรูปแบบการใช้งาน ซึ่งจะมีกี่ประเภท และมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายในการทำเท่าไหร่นั้น เรามาดูกันเลย!
-
ใบขับขี่รถยนต์ชนิดชั่วคราว
เป็นใบขับขี่ใบแรกสุดที่คุณจะได้รับจากการทำใบขับขี่ โดยจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า และค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าใบขับขี่แบบทั่วไป เรียกได้ว่าเป็นใบผ่านทางก่อนที่จะได้ใบขับขี่ นั่นเอง
โดยใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราว สามารถจำแนกได้ 3 แบบ โดยแต่ละรูปแบบมีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้
ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว
อายุการใช้งาน: 2 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 100
ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก) ชั่วคราว
อายุการใช้งาน: 2 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 50
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว
อายุการใช้งาน: 2 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 50
-
ใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป
หากคุณใช้งานใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งานแล้ว ในครั้งต่อไปที่ทำการต่ออายุใบขับขี่ คุณจะได้รับใบขับขี่รถยนต์แบบใช้งานยาว ๆ 5 ปีไปเลยนั่นเอง
โดยใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป สามารถจำแนกได้ 2 แบบ มีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้
ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
อายุการใช้งาน: 5 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 500 บาท
ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ
อายุการใช้งาน: 3 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 300 บาท

-
ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก)
สำหรับรถยนต์สามล้อ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ รถตุ๊กตุ๊ก ก็มีเงื่อนไขเช่นเดียวกับใบขับขี่รถยนต์ เมื่อคุณใช้งานใบขับขี่ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งานแล้ว ในครั้งต่อไปที่ทำการต่ออายุ คุณจะได้รับใบขับขี่แบบใช้งานยาว ๆเหมือนกันนั่นเอง
โดยใบขับขี่รถยนต์สามล้อ สามารถจำแนกได้ 2 แบบ มีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้
ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
อายุการใช้งาน: 5 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 250 บาท
ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ
อายุการใช้งาน: 3 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 150 บาท
-
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์
สำหรับรถจักรยานยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ ก็มีเงื่อนไขเช่นเดียวกับใบขับขี่รถยนต์ เมื่อคุณใช้งานใบขับขี่ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งานแล้ว ในครั้งต่อไปที่ทำการต่ออายุ คุณจะได้รับใบขับขี่แบบใช้งานยาว ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน
โดยใบขับขี่รถจักรยานยนต์ สามารถจำแนกได้ 2 แบบ มีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
อายุการใช้งาน: 5 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 250 บาท
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ
อายุการใช้งาน: 3 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 150 บาท
-
ใบขับขี่รถบดถนน
สำหรับใบขับขี่รถบดถนนนั้น ผู้ขับจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษต่าง ๆ เพื่อให้สามารถใช้งานรถบดถนนที่มีความอันตรายสูงได้อย่างปลอดภัย มีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้
อายุการใช้งาน: 5 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 250 บาท

-
ใบขับขี่รถแทรกเตอร์
รถแทรกเตอร์นั้นถึงแม้จะใช้งานเพื่อการทำเกษตรกรรม แต่เนื่องจากเป็นรถที่ต้องใช้ความชำนาญในการบังคับสูง จึงจำเป็นที่จะต้องสอบใบขับขี่ด้วยเช่นกัน โดยมีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้
อายุการใช้งาน: 5 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 250 บาท
-
ใบขับขี่รถชนิดอื่น ๆ
เป็นใบขับขี่รถชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา โดยมีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้
อายุการใช้งาน: 5 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 100 บาท
-
ใบขับขี่รถระหว่างประเทศ
ใบขับขี่รถระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันติดปากว่าใบขับขี่สากล เป็นใบอนุญาตให้คุณสามารถใช้ขับขี่ยานพาหนะนอกประเทศไทยได้ โดยผู้ที่ยื่นขอใบขับขี่สากลจำเป็นจะต้องมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลร่วมด้วยจึงจะได้รับการอนุมัติ
มีรายละเอียดอายุการใช้งาน และค่าธรรมเนียม ดังนี้
อายุการใช้งาน: 1 ปี
อัตราค่าธรรมเนียม: 500 บาท
อยากมีใบขับขี่สาธารณะต้องทำอย่างไร?
สำหรับใครที่สนใจ หรือต้องการทำใบขับขี่สาธารณะเพื่อนำมาขับแท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊ก หรือวินมอเตอร์ไซค์ ในขั้นตอนการสอบที่กรมการขนส่งทางบก คุณสามารถยื่นเรื่องได้ในทันที แต่จะมีเงื่อนไขด้วยกันดังนี้
-
ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ
ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพรถยนต์ขนส่งสาธารณะ หรือแท็กซี่ ต้องได้รับใบขับขี่ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว และต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป
-
ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก) สาธารณะ
ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพขับรถตุ๊กตุ๊กสาธารณะ ต้องได้รับใบขับขี่รถยนต์สามล้อชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลอยู่แล้ว โดยจะต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป
-
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์) สาธารณะ
ใบขับขี่สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพวินมอเตอร์ไซค์ หรือรับจ้างรถจักรยานยนต์สาธารณะอื่น ๆ โดยจะต้องได้รับใบขับขี่รถจักรยนต์ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว โดยจะต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
สรุป
เมื่อได้ทราบกันแล้วว่าใบขับขี่มีกี่ประเภท และมีรถยนต์ให้ขับแล้ว ก็ต้องไม่ลืมใส่ใจความปลอดภัยบนท้องถนนทั้งตัวคุณเองและคนรอบข้าง อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ให้ประกันภัยรถยนต์ดูแลคุณ ลองปรึกษาเงินติดล้อดูสิครับ
เราเป็นโบรกเกอร์ที่รวมประกันภัยรถยนต์จากบริษัทชื่อดังเอาไว้มากมาย พร้อมให้บริการอย่างตรงไปตรงมา ตอบทุกคำถามที่คุณลูกค้าสงสัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความคุ้มครองต่าง ๆ เปรียบเทียบความคุ้มค่าของประกันแต่ละเจ้า อีกทั้งเรายังพร้อมให้คุณผ่อนจ่ายแบบไม่คิดดอกเบี้ยนานสูงสุดถึง 6 เดือนเลยครับ!
เรามีทีมงานผู้เชี่ยวด้านประกันคอยตอบคำถามของท่านตลอด 24 ชั่วโมง เงินติดล้อพร้อมให้บริการทุกคนอย่างเต็มที่ครับ!