อุบัติเหตุรถชน เป็นสิ่งที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิดขึ้น ทำให้คนที่ตกอยู่ในสถานการณ์นั้นต้องตื่นตระหนกตกใจ หรือทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไรดี ยิ่งอยู่ในสถานะผู้กระทำผิด อย่างการขับรถชนคนบาดเจ็บเล็กน้อย หรือ ขับรถชนคนเสียชีวิต อาจส่งผลให้ทำอะไรแบบไม่คิด เช่น ชนแล้วหนี เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจริง มาดูกันว่า อะไรคือสิ่งที่ควรทำหลังจากขับรถชนคนแล้ว และถ้ามีประกันแล้ว ขับรถชนคนเสียชีวิต ประกันจ่ายไหม หรือ ขับรถชนคน พ.ร.บ.จ่ายไหม มาหาคำตอบทั้งหมดนี้ในบทความได้เลยครับ
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชน รถชนคน รถชนรถ
หากเป็นคนที่ติดตามข่าวสารบ้านเมือง หรือเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์กอยู่เป็นประจำ จะเห็นว่ามีข่าวอุบัติเหตุเกิดขึ้นแทบทุกวัน ยิ่งเป็นในช่วงหน้าเทศกาลยิ่งทวีคูณตัวเลขการเกิดอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิต ดังนั้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดอุบัติเหตุ นี่คือ 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนคน รถชนรถ
-
โรคประจำตัวกับการขับรถ
โรคประจำตัวหรือปัญหาสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชน ไม่ว่าจะเป็นการขับรถชนคนบาดเจ็บเล็กน้อย ขับรถชนคนบาดเจ็บสาหัส โรคประจำตัวที่ว่าก็เช่น โรคลมชัก เมื่อมีอาการชักเกร็งจะทำให้ไม่รู้สึกตัว สมองเสียการควบคุม และมีโอกาสส่งผลให้การขับรถเสียการควบคุมตามลำดับ
-
ไม่เคยตรวจสภาพรถยนต์
การตรวจเช็กสภาพรถยนต์ จะทำให้รถยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น อีกทั้งเจ้าของรถจะได้รู้ด้วยว่าอะไหล่รถยนต์ส่วนใดสึกหรอ ส่วนใดควรเปลี่ยนหรือซ่อมแซม ถ้าสภาพรถยนต์ไม่พร้อมใช้งานก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนได้ เช่น เบรครถยนต์เสีย
-
ขับรถไม่สนใจกฎจราจร
กฎจราจรมีไว้ให้ทุกคนบนท้องถนนปฏิบัติตามเพื่อลดอุบัติเหตุรถชนที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น หากมีคนหนึ่งแหกกฎจราจรก็ทำให้คนอื่นบนท้องถนนได้รับความเดือดร้อนตาม ๆ กันไป เช่น การขับรถฝ่าไฟแดง เพียงต้องการไปถึงจุดหมายเร็ว ๆ ช่วงเวลาเพียงเสี้ยววินาทีก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนได้
ขับรถชนคน ต้องทำอย่างไร?
แน่นอนว่าเสียงเอี๊ยดของการเสียดสีระหว่างล้อรถยนต์กับถนน และเสียงโครมของการปะทะกันระหว่างรถยนต์กับคนถูกชน ต้องทำให้คุณที่เป็นฝ่ายผิดต้องตื่นตกใจ ทำตัวไม่ถูก หรือขับรถชนแล้วหนี ไม่อยู่รับความผิดของตัวเอง ทำให้คุณต้องได้รับโทษทางกฎหมายได้นะครับ ดังนั้น ขับรถชนคน สิ่งที่ต้องทำคือ
-
ตั้งสติให้ดีแล้วลงไปดูคู่กรณี
แม้จะเป็นเรื่องที่ยากมากในสถานการณ์แบบนั้น แต่ก็ต้องทำครับ คุณควรตั้งสติและรีบลงไปดูว่าคู่กรณีที่ถูกชนได้รับบาดเจ็บมากแค่ไหน เช่น ขับรถชนคนบาดเจ็บเล็กน้อย หรือบาดเจ็บสาหัส
หลังจากนั้น รียกรถพยาบาล และแจ้งตำรวจไปพร้อมกันเลยครับ เพื่อคนเจ็บจะได้รับการรักษา ตำรวจจะได้จัดการเรื่องอุบัติเหตุ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ คุณไม่ควรชนแล้วหนี เพราะจะได้รับโทษตามกฎหมายครับ
-
ถ่ายรูปในสถานที่เกิดเหตุไว้เป็นหลักฐาน
สิ่งต่อไปคือถ่ายรูปในสถานที่เกิดเหตุไว้เป็นหลักฐานว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ถ่ายสถานที่เกิดเหตุ ความเสียหายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น รถยนต์เสียหายส่วนใดบ้าง ตรงไหนคือที่ที่ผู้บาดเจ็บล้มลง
ทั้งหมดก็เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเองในการขอเคลมประกัน หรือนำไปใช้ประกอบคดีความหากมีผู้เสียชีวิต หรือถ้าติดกล้องหน้ารถไว้ ก็ใช้ประโยชน์จากไฟล์รูปภาพเหล่านั้นได้เช่นเดียวกันครับ
-
ขับรถชนคน ต้องเรียกประกันรถยนต์
คุณต้องเรียกประกันรถยนต์ที่คุณใช้บริการอยู่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาเก็บข้อมูลในสถานที่เกิดเหตุ โดยขั้นตอนนี้คุณอาจจะส่งไฟล์รูปที่ได้ถ่ายเก็บไว้ให้เจ้าหน้าที่เพิ่มเติมได้เพื่อเป็นประโยชน์หากมีคดีความขึ้นโรงขึ้นศาล
โดยการชดเชยค่าเสียจะเกิดขึ้นตามที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์รถยนต์ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งคุณสามารถใช้สิทธิ์ได้ทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ และ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ
ขับรถชนคน ประกันรถยนต์จ่ายไหม?
ประกันรถยนต์ ทำหน้าที่กระจายความเสี่ยงให้กับผู้เอาประกันรถอยู่แล้ว ดังนั้น การขับรถชนคน ประกันรถจ่ายไหม คำตอบคือ “ประกันจ่าย” ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.รถยนต์) หรือ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งการจ่ายของประกัน สามารถจำแนกการรับผิดชอบค่าเสียหาย ได้ดังนี้
ขับรถชนคน พ.ร.บ.รถยนต์ จ่ายไหม?
พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ เป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องมี เพื่อคุ้มครองผู้เอาประกันรถ และคุ้มครองคู่กรณี ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น
โดยการคุ้มครองจะไม่คำนึงเลยว่าผู้เอาประกันมีความผิดจริงไหม และมาในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่เป็นฝ่ายผิด จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลจ่ายตามจริง รายละไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่าปลงศพ หรือค่าชดเชยในกรณีที่สูญเสียอวัยวะ รายละไม่เกิน 35,000 บาท
- เสียชีวิตหลังจากได้รับการรักษาพยาบาล รายละไม่เกิน 65,000 บาท
สามารถอ่านการคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์ ฉบับเต็มได้ที่ > คปภ.
ขับรถชนคน ประกันรถยนต์ จ่ายไหม
ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นประกันรถยนต์ที่ผู้เอาประกันซื้อเพิ่มเองกับบริษัทประกันภัย ซึ่งความคุ้มครองจะลดหลั่นไปตามประเภทของประกันรถที่ซื้อไว้ เช่น
การจ่ายค่าเสียหายของประกันภาคสมัครใจ จะเป็นการรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่ พ.ร.บ.รถยนต์ไม่คุ้มครอง โดยจำนวนเงินในการชดใช้จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์รถยนต์ สรุปคือ “จ่าย”
ชนแล้วหนี ผิดกฎหมายไหม โดนค่าปรับเท่าไหร่?
กรณีขับรถชนคนแล้วหนี แม้ว่าจะตั้งใจหนีจริง ๆ หรือเกิดสติแตกควบคุมตัวเองไม่ได้ ยังไงก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมายทั้งคู่ โดยอ้างอิงจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 ระบุเอาไว้ว่า
ผู้ขับขี่สร้างความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือ พร้อมแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 - 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ยิ่งถ้าชนแล้วหนี แล้วผู้ที่ถูกชนได้รับบาดเจ็บจนสาหัสหรือเสียชีวิต มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น ถ้าขับรถชนคนไม่ควรหนีครับ สรุปคือ มีโทษตามกฎหมายและโดนค่าปรับ
ขันรถชนคนเสียชีวิต จ่ายค่าปรับเท่าไหร่ ต้องขึ้นศาลหรือไม่?
ขับรถชนคนเสียชีวิต ต้องขึ้นศาลไหม คำตอบคือ “ขึ้น” นี่คือความรับผิดชอบที่ผู้ขับรถชนต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแพ่งและอาญา โดยอ้างอิงจากกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับความผิดฐานกระทำโดยประมาท ว่า
- มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
- มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ หรืออันตรายสาหัส จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และในส่วนของการขับรถชนคนแล้วเสียชีวิต ต้องขึ้นศาล โดยคำพิพากษาจะขึ้นอยู่กับผู้พิพากษาในศาลครับ โดยจะดูหลักฐานอื่น ๆ ประกอบกันไปครับ
สามารถอ่านกฎหมายอาญา และตัวอย่างการพิพากษาได้ที่ > สมาคมประกันวินาศภัยไทย
สรุป
ขับรถชนคนเสียชีวิต หรือขับรถชนคนบาดเจ็บเล็กน้อย ประกันรถยนต์ และ พ.ร.บ.รถยนต์ “จ่าย” ให้คุณครับ ซึ่งการจ่ายจะเป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ และประเภทของประกันรถยนต์ และถ้าชนเสียชีวิตยังไงก็ต้องขึ้นศาลเพื่อไปว่าความตามขั้นตอนต่อไป เงินติดล้อ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณรับมือหรือหาทางออกได้หากเกิดเหตุการณ์ที่ว่านั้นจริง ๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เราพร้อมบริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง!