หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้รถใช้ถนนอยู่ทุกวัน น่าจะสังเกตเห็นกันได้ว่าขอบฟุตบาทแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันที่สี บ้างก็ทาสีขอบฟุตบาทขาวแดง ทาสีขอบฟุตบาทขาวดำ หรือทาสีขอบฟุตบาทขาวเหลือง ซึ่งแต่ละสีแปลความหมายไม่เหมือนกันครับ และส่งผลต่อเรื่องกฎหมายจราจรอีกด้วย นี่คือความหมายของสีฟุตบาท
ความหมายของสีขอบฟุตบาท 3 แบบ
สีขอบฟุตบาท (Curb Markings) เป็นเครื่องหมายจราจรบนเส้นขอบทางที่มาในรูปแบบ “แถบสี” ติดตั้งเอาไว้หรือทำให้เห็นในเขตทางหลวงแบบง่ายและชัดเจน
โดยผู้ใช้รถใช้ถนนต้องปฏิบัติตามความหมายของสีขอบฟุตบาทเพื่อสร้างความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุรถชนบนท้องถนน ซึ่งความหมายของสีฟุตบาท มีดังนี้
-
สีฟุตบาทขาวแดง
“เครื่องหมายห้ามหยุดรถ” มีลักษณะเป็นแถบสีแดงสลับขาว แสดงที่ขอบคันหิน หรือขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ หรือทางจราจร หรือที่อื่นๆ หมายความว่า ห้ามหยุดรถหรือจอดรถทุกชนิดระหว่างแนวเขตที่กําหนดเป็นอันขาด (พบ.๑๐)
แปลความหมายของสีฟุตบาทขาวแดง
เมื่อไหร่ก็ตามที่ขับรถออกถนนทางหลวง ขับรถในซอย แล้วเจอขอบฟุตบาทขาวแดง หมายถึงว่า ห้ามจอดรถ ห้ามหยุดรถ ห้ามจอดแช่ ห้ามจอดรถรับส่ง รวมไปถึงการโบกให้รถแท็กซี่ รถประจำทาง รถตู้ หรือรถมอเตอร์ไซค์ให้จอดด้วย
แล้วจะเห็นฟุตบาทสีขาวสลับแดงได้ที่ไหนบ้าง?
สีขอบฟุตบาทขวาสลับแดง จะเห็นได้ง่ายที่สุดคือตรงหัวโค้งถนน หรือหัวมุมถนน เป็นเลนที่รถยนต์ห้ามจอดเพราะหัวมุมถนนมักจะเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด หรือเลี้ยวขวาผ่านตลอด เพราะถ้าจอดจะทำให้รถติด หรือเกิดอุบัติเหตุรถชนได้

-
สีฟุตบาทขาวเหลือง
“เครื่องหมายห้ามจอดรถ” มีลักษณะเป็นแถบสีเหลืองสลับขาว แสดงที่ขอบคันหิน หรือขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ หรือทางจราจร หรือทางอื่นๆ หมายความว่า ห้ามหยุดระหว่างแนวเขตที่กำหนด เว้นแต่การหยุดรับส่งคน หรือสิ่งของชั่วขณะ ซึ่งต้องกระทำโดยมิชักช้า (พบ.๙)
แปลความหมายของสีฟุตบาทขาวเหลือง
เมื่อไหร่ก็ตามที่ขับรถบนถนนทางหลวงแล้วพบเจอสีขอบฟุตบาทขาวเหลือง สามารถหยุดรถได้ แต่ในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น เช่น หยุดรถเพื่อส่งผู้โดยสารชั่วคราว เมื่อเสร็จแล้วก็ไป แต่ห้ามจอดทิ้งไว้หรือจอดข้ามคืน ซึ่งคำว่าจอดกับหยุดไม่เหมือนกันครับ ในกรณีนี้หยุดได้แต่ห้ามจอด
แล้วจะเห็นฟุตบาทสีขาวสลับเหลืองได้ที่ไหนบ้าง?
เส้นขอบฟุตบาทขาวสลับเหลือง จะพบเห็นได้ในตรงที่สามารถหยุดรับหรือจอดส่งผู้โดยสารได้ เช่น ป้ายรถเมล์ หยุดแล้วก็ต้องไป ไม่ใช่จอดแช่ไว้นะครับ เพราะจะทำให้การจราจรติดขัด และเกิดอุบัติเหตุรถชนได้

-
สีฟุตบาทขาวดำ
“เครื่องหมายขาวดำ” มีลักษณะเป็นแถบสีขาวสลับดำ แสดงหรือทำให้ปรากฎที่ขอบคันหินหรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้ทางเห็นขอบคันหินหรือหรือสิ่งกีดขวางนั้นๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น (พต.๘)
แปลความหมายของสีฟุตบาทขาวสลับดำ
เมื่อไหร่ก็ตามที่เห็นสีฟุตบาทขาวดำบนถนนทางหลวง ให้รู้เลยว่าเป็นการทำสัญลักษณ์เอาไว้ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นขอบทางแบบง่ายและชัดเจน ว่าที่ตรงนี้คือขอบทางของถนน ให้ลดความเร็ว หรือระวังอุบัติเหตุ
แล้วจะเห็นฟุตบาทสีขาวสลับดำได้ที่ไหนบ้าง?
เส้นขอบฟุตบาทสีขาวสลับดำจะปรากฎให้เห็นช่วงขึ้นสะพานหรือวงเวียนกลับรถ หมายถึงว่า ห้ามจอดรถเพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชน แต่ฟุตบาทสีขาวสลับดำบางที่ก็สามารถจอดรถได้แต่ต้องชิดขอบทางครับ

สีขอบฟุตบาท ช่วยลดอุบัติเหตุ ลดจราจรแออัด
จริงๆ แล้วเวลาไปสอบใบขับขี่ใหม่ หรือต่อใบขับขี่ที่หมดอายุ ข้อมูลเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้ต่อใบขับขี่จะต้องศึกษาเอาไว้อยู่แล้ว ซึ่งบางคนเมื่อเวลาผ่านไปก็หลงลืมครับ
แต่แบบนี้สามารถเตือนความจำกันได้ และเพื่อป้องกันไม่ให้จอดรถผิด หรือจอดรถแล้วโดนล็อกล้อ การรู้ความหมายของสีฟุตบาทเลยสำคัญมาก
เพราะว่าถ้าละเลยหรือละเมิดกฎจราจร จะส่งผลให้ผู้ใช้รถใช้ถนนคันอื่นๆ เดือดร้อน อย่างน้อยที่สุดคือรถติด หรือเคลื่อนตัวไม่ได้ เพราะมีการจอดรถในที่ห้ามจอด หรืออย่างมากที่สุดคือเกิดอุบัติเหตุรถชนท้ายกัน
ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์รถชนท้ายกันจริงๆ ก็ต้องส่งเรื่องไปยังบริษัทประกันรถยนต์ เพื่อขอเคลมค่าเสียหาย แต่ถ้าคุณไม่มีประกันรถยนต์เลยแล้วเป็นฝ่ายผิด ก็ถึงเวลาที่จะต้องใช้เงินเก็บตัวเองจ่ายค่าเสียหายแล้วครับ
เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้จากการจอดรถข้างทาง คุณสามารถซื้อ ประกันรถยนต์ออนไลน์ กับ เงินติดล้อได้เลยนะครับ โดยจะให้ความคุ้มครองทันที่ที่เริ่มจ่ายเบี้ยประกัน และคุณสามารถซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ได้แบบผ่อนจ่าย 0% นาน 6 เดือนอีกด้วยครับ
สรุป
การสังเกตสีขอบฟุตบาทเป็นเรื่องดีสำหรับตัวคุณ และผู้ใช้รถใช้ถนนคันอื่นๆ เพื่อลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น หรือก่อให้เกิดให้รถติดบนท้องถนน การปฏิบัติตามความหมายของแถบสีขอบฟุตบาทเลยจำเป็นมากๆ ครับ เพราะจะให้คุณไม่ต้องโดนค่าปรับจราจรเนื่องจากทำผิดกฎ แถมยังไม่ต้องเสี่ยงถูกรถคันอื่นชน เมื่อคุณจอดรถไว้ข้างทางด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เราพร้อมบริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง!
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักอำนวยความปลอดภัยกรมทางหลวง