เจาะลึก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ทำไมถึงต้องมี แล้วเราจะใช้มันได้อย่างไร

4,610

“ทำไมต้องต่อพ.ร.บ.ด้วย ยุ่งยากจะตาย”

หลาย ๆ คนสำหรับเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์ทั้งหลายถ้าไม่เคยได้ยินประโยคดังกล่าว คงต้องแอบคิดขึ้นมาบ้างว่าจริง ๆ แล้วประกันปกติมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 แต่ทำไมยังต้องลำบากเสียเงินต่อ พรบ ด้วย

ทางประกันติดโล่จึงมาเจาะลึกข้อมูลว่าจริง ๆ แล้ว พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์หรือ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์นี้มีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องมี แล้วจะสามารถใช้งาน พ.ร.บ.นี้ได้อย่างไร ให้หลาย ๆ คนคลายข้อสงสัยที่อาจจะค้างคาใจกันมาตลอด

ที่มาของ พ.ร.บ.จักรยานยนต์

หลังจากการใช้งานของรถยนต์เริ่มแพร่หลาย ก็ปรากฏผู้ขับขี่รถที่รวดเร็ว อันตราย ไม่คำนึงถึงผู้อื่นบนท้องถนนมากขึ้น ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เกิดความสูญเสียหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้รถใช้ถนน หรือคนธรรมดาข้างทางก็ตาม

ประเทศอังกฤษจึงริเริ่ม พ.ร.บ.การจราจรบนท้องถนนขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้เคราะห์ร้ายในเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนน ว่าจะได้รับเงินชดเชยเบื้องต้นอย่างแน่นอน หลังจากนั้นหลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มประกาศใช้ พ.ร.บ.รูปแบบเดียวกันเป็นของตัวเอง และพัฒนาเป็น พ.ร.บ.รถยนต์ และพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ แจกแจงตามความเหมาะสมตามแต่ละพื้นที่

ในปัจจุบันการคุ้มครองของ พ.ร.บ.กว้างขึ้นและครอบคลุมขึ้นเยอะ โดยเฉพาะกับ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ที่มีการปรับปรุงวงเงินและการทำงานให้รวดเร็วขึ้น

พ.ร.บ.คุ้มครองอะไรบ้าง

ดังที่กล่าวว่าหน้าที่ที่แท้จริงของตัว พ.ร.บ. คือการคุ้มครองค่าใช้จ่ายของผู้ขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นพ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์หรือ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์แล้วได้ผ่านการปรับปรุงแบบแผน ทำให้หลาย ๆ คนสงสัยว่าตอนนี้ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง ซึ่งทุกคนจะทราบถึงรายละเอียดหลังจากนี้

 

ค่าเสียหายเบื้องต้น ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด

คือค่าใช้จ่ายที่ พ.ร.บ.จะดำเนินการชดเชยให้เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน สามารถเบิกจ่ายได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด ครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อน

  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 30,000 บาท /คน
  • เสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ ชดเชย 35,000 บาท /คน

ค่าสินไหมทดแทน พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก

 

ค่าสินไหมทดแทน เมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก

คือค่าใช้จ่ายที่ พ.ร.บ.จะชดเชยให้เมื่อพิสูจน์แล้วว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก ครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อนเช่นกัน โดยมีการคุ้มครองดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 80,000 บาท
  • เสียชีวิต ทุพพลภาพ ชดเชย 300,000 บาท
  • สูญเสียอวัยวะ
    • นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท
    • สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท
    • สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท
  • หากมีการรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

สิ่งสำคัญคือต้องอย่าลืมว่าความคุ้มครองทั้งหมดนี้จะคุ้มครองเพียงการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเท่านั้น ไม่ได้ชดเชยไปถึงค่าซ่อมแซมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ

พ.ร.บ.จักรยานต์ยนต์ เคลมอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลต่าง ๆ จะอยู่ในการคุ้มครองของพ.ร.บ.ก่อนเสมอ ถ้าค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีมากเกินวงเงิน จึงจะสามารถเคลมสิทธิอื่น ๆ ได้ เช่น ประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิ์ประกันสังคม ต่อด้วยการเบิกจ่ายประกันอื่น ๆ โดยมีวิธีการตามนี้

ขั้นต้อนการแจ้งเคลม

  1. หลังจากนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล ให้ดำเนินการแจ้งเจ้าหน้าที่ทางโรงพยาบาลว่าขอใช้สิทธิ์เบิกตาม พ.ร.บ. และอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่น เกิดเหตุที่ไหน เกิดได้อย่างไร รวมถึงเลขทะเบียน รุ่น รถที่เกี่ยวข้อง
  2. ทางโรงพยาบาลจะดำเนินการประสานงานเพื่อดูแลสิทธิ์การเคลมตาม พ.ร.บ. ซึ่งโดยส่วนมากจะมีหน่วยงานภายในดูแลด้านนี้อยู่แล้ว
  3. แจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน และดำเนินการสอบสวนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเคลมค่าสินไหมทดแทน ที่ต้องพิสูจน์ว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก
  4. ยื่นเอกสารสำหรับเคลมที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยภายใน 180 วันหลังเกิดเหตุ ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยภายใน 7 วันทำการ (โทร. 1791)

เอกสารสำหรับการเคลม

กรณีบาดเจ็บเล็กน้อย

  1. สำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองแล้ว
  2. สำเนาใบขับขี่ เซ็นรับรองแล้ว
  3. ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล

กรณีบาดเจ็บจนต้องนอนโรงพยาบาล

  1. สำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองแล้ว
  2. สำเนาใบขับขี่ เซ็นรับรองแล้ว
  3. ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ถ้ามี)
  4. ใบรับรองแพทย์ ระบุว่าจำเป็นต้องพักรักษาในโรงพยาบาล

กรณีทุพพลภาพ

  1. สำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองแล้ว
  2. สำเนาใบขับขี่ เซ็นรับรองแล้ว
  3. ใบรับรองแพทย์
  4. หนังสือรับรองความพิการ
  5. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

กรณีเสียชีวิต

  1. สำเนาบัตรประชาชนผู้เสียชีวิต
  2. ใบมรณบัตร
  3. สำเนาบัตรประชาชนทายาทหรือผู้รับมรดก
  4. สำเนาทะเบียนบ้านทายาทหรือผู้รับมรดก
  5. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

ทั้งนี้ทางบริษัทประกันอาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมเป็นรายกรณี เช่น สำเนาทะเบียนรถ หรือเอกสารบันทึกประวันตัวจริง เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายสำหรับ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์

ในการแง่ของการคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์และรถจักรยานยนต์นั้นเหมือนกัน แต่สิ่งที่ทำให้แตกต่างคือค่าใช้จ่ายในการทำ พ.ร.บ. ซึ่งรถจักรยานยนต์จะขึ้นอยู่กับ CC ของเครื่อง โดยมีราคาประมาณ ดังนี้

เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 CC 150 บาทขึ้นไป
เครื่องยนต์ 75 – 125 CC 350 บาทขึ้นไป
เครื่องยนต์125 – 150 CC 450 บาทขึ้นไป
เครื่องยนต์มากกว่า 150 CC 650 บาทขึ้นไป

ค่าใช้จ่ายสำหรับ พ.ร.บ.จักรยานยนต์

ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยังไม่รวมค่าดำเนินการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามการติดต่อเพื่อดำเนินการทำ พ.ร.บ. โดยข้อมูลรายละเอียดของเครื่องยนต์สามารถดูได้ที่หน้ารายการจดทะเบียนของเล่มเขียว (สมุดทะเบียน) มอเตอร์ไซค์

โดยที่การต่อ พ.ร.บ.ใช้เพียงแค่สำเนาทะเบียนรถและสำเนาบัตรประชาชนเท่านั้น และในปัจจุบันขั้นตอนการยื่นทำ พ.ร.บ.ก็ไม่ได้ยุ่งยากเหมือนเดิม เพียงแค่มีเอกสารครบก็สามารถดำเนินการได้ทันที

 

สรุป

พ.ร.บ. คือสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับการใช้รถ ใช้ถนน เพราะ พ.ร.บ.เหมือนกับเป็นประกันแรกในการช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อประสบอุบัติเหตุ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นทุกคนจึงควรที่จะทำการต่อ พ.ร.บ.เพื่อความสบายใจในการขับขี่รถบนท้องถนน

หากคุณสนใจที่จะต่อ พรบ.รถจักรยานยนต์สามารถติดต่อทางบริษัทประกันติดโล่เลยครับ เรารับต่อ พรบ.รถทุกชนิด ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง จะรถอายุกี่ปีก็สามารถต่อให้ได้ แถมต่อได้เร็ว รอรับได้ทันที ดูรายละเอียดที่ ต่อ พ.ร.บ.กับประกันติดโล่ หรือติดต่อที่ประกันติดโล่ทุกสาขาทั่วประเทศได้เลยครับ



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    40,358
  • 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2023 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    11,571
  • วางแผนต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน และต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    ไม่อยากขาดต่อใบขับขี่ ทำความเข้าใจการต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน เพื่อวางแผนและเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม ป้องกันการทำผิดกฎหมายจราจร
    7,333