หน้าแรก บทความ รู้ทันประกัน ประกันรถ รถกี่ปีต้องตรวจสภาพก่อนต่อภาษี ค่าตรวจเท่าไหร่? ตรวจที่ไหนได้บ้าง?

รถกี่ปีต้องตรวจสภาพก่อนต่อภาษี ค่าตรวจเท่าไหร่? ตรวจที่ไหนได้บ้าง?

View 10,492 คน
รถกี่ปีต้องตรวจสภาพก่อนต่อภาษี ค่าตรวจเท่าไหร่? ตรวจที่ไหนได้บ้าง?
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข
 
 
 
1 ปีที่ผ่านมา คุณเคยซื้อประกันรถยนต์กับเงินติดล้อหรือไม่?

การกดยืนยันข้อมูล ถือว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ติดต่อเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัย

สำหรับใครที่มีรถยนต์น่าจะทราบกันดีว่า ในทุกๆ ปีจำเป็นที่จะต้องทำการเดินเรื่องต่อภาษี แต่เมื่อรถมีอายุการใช้งานครบ 7 ปี ตามกฏหมายแล้วต้องมีการตรวจสภาพรถก่อนทำเรื่องเสียภาษี

บทความนี้เงินติดล้อจะมาแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปีให้ทุกคนทราบ ต้องตรวจเช็คจุดใด ตรวจที่ไหนได้บ้าง ราคาเท่าไหร่ มาหาคำตอบได้ที่บทความนี้เลยครับ!

รถอายุกี่ปีต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี?

รถอายุกี่ปีต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี?

เรามาดูกันก่อนว่ารถแต่ละประเภทนั้นต้องมีอายุการใช้งานเท่าไหร่จึงจะต้องทำการตรวจสภาพ ดังนี้ครับ

  • รถยนต์ อายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถบรรทุก อายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถจักรยานยนต์ อายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป
  • รถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซ NGV หรือแก๊ส LPG ต้องนำตรวจสภาพก่อนต่อภาษีรถทุกปี

โดยสามารถตรวจสภาพรถล่วงหน้าได้ 3 เดือนก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปีครับผม

หลายๆ คนอาจสงสัยว่าแล้วหลังจากตรวจสภาพครั้งนี้ ต้องตรวจสภาพอีกหรือไม่? เงินติดล้อขอตอบเลยว่า หลังจากนี้จะต้องทำการตรวจในทุกๆ ปีครับ

แจกแจงค่าใช้จ่ายตรวจสภาพรถ

ทีนี้เรามาดูกันครับว่าในการตรวจสภาพรถนั้น แต่ละประเภทจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่กันบ้าง

  • รถยนต์ ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
  • รถยนต์ ที่มีน้ำหนักเกินกว่า 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท
  • รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
  • รถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซ NGV หรือแก๊ส LPG จะมีค่าตรวจเพิ่มเติม 535 บาท

สามารถนำรถเข้าตรวจได้ที่ไหน

สำหรับการนำรถเข้าตรวจสภาพนั้น สามารถทำได้ที่สถานตรวจสภาพรถยนต์ภาคเอกชน (ตรอ.) ซึ่งกระจายอยู่บริเวณจุดต่างๆ ทั่วประเทศ หรือเข้าใช้บริการที่กรมการขนส่งทางบกโดยตรงได้เลยครับ

สามารถนำรถเข้าตรวจได้ที่ไหน

หมายเหตุ: สำหรับรถยนต์ที่มีสภาพผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ จะต้องนำรถไปตรวจสภาพที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น ซึ่งจะมีด้วยกันดังนี้

  • รถที่มีการปรับเปลี่ยนชิ้นส่วน ซึ่งผิดไปจากรายการที่จดทะเบียน เช่น เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนรูปลักษณ์ตัวถังรถ เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ
  • รถที่ตัวเลขเครื่องยนต์ หรือตัวเลขรถ เกิดความเสียหายจนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้
  • รถที่เจ้าของได้ทำการแจ้งไม่ใช่ชั่วคราว หรือไม่ใช้ตลอดไป
  • รถที่มีเลขทะเบียนเป็นรุ่นเก่า
  • รถที่มีปัญหาถูกโจรกรรมแล้วได้รับคืน
  • รถที่ขาดการต่อภาษีเกิน 1 ปีขึ้นไป

หากตรวจสภาพไม่ผ่านต้องทำอย่างไร

สำหรับใครที่เกิดปัญหาทำให้รถไม่ผ่านการตรวจสภาพ ไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะคุณสามารถนำรถเข้าตรวจสภาพใหม่ได้หลังจากที่ซ่อมแซมแก้ไขในจุดที่บกพร่องแล้ว

โดยการนำรถเข้าไปตรวจใหม่ที่ ตรอ. เดิม จะมีการคิดค่าบริการดังนี้

  • หากนำรถเข้าตรวจใหม่ภายใน 15 วันหลังจากที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพในครั้งแรก ค่าบริการจะลดลงครึ่งหนึ่ง
  • หากนำรถเข้าตรวจใหม่เกินกว่า 15 วันหลังจากที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพในครั้งแรก ค่าบริการจะลดถูกคิดในราคาปกติเท่าเดิม
หากตรวจสภาพไม่ผ่านต้องทำอย่างไร

สรุป

เท่านี้ทุกคนก็คงได้ทราบกันแล้วว่าในการตรวจสภาพรถยนต์นั้นมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง เมื่อรถของคุณใกล้ถึงเวลาตรวจสภาพแล้ว อย่าลืมจัดการให้เรียบร้อยเพื่อการขับขี่ปลอดภัยบนท้องถนนนะครับ

รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันคุณสามารถทำการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้แล้ว! รวมไปถึงการต่อ พ.ร.บ. ด้วยเช่นกัน!

สำหรับการต่อภาษีออนไลน์นั้นสามารถอ่านวิธีการได้ที่ >>> บทความนี้

แต่ถ้าหากคุณต้องการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ สามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชัน “เงินติดล้อ” จัดการได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก เพียง 5 ขั้นตอน ไม่เกิน 5 นาทีรถของคุณก็สามารถต่อ พ.ร.บ. ใหม่เอี่ยมได้เรียบร้อย!

สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันตามระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือของคุณ ตามลิงก์นี้เลยครับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอปพลิเคชันเงินติดล้อได้ที่ >>>
https://www.tidlor.com/th/ntlapp#ctp

กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข
 
 
 
1 ปีที่ผ่านมา คุณเคยซื้อประกันรถยนต์กับเงินติดล้อหรือไม่?

การกดยืนยันข้อมูล ถือว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ติดต่อเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัย

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางเงินที่ดีขึ้น