ขับรถชนกันแล้วเป็นฝ่ายผิด คู่กรณีเรียกค่าทำขวัญทำยังไงดี?

1,939

ใช้รถใช้ถนนอยู่ทุกวันย่อมมีความเสี่ยงอยู่แล้ว ต่อให้ไม่ประมาทก็มีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนได้ เช่น ขับรถหน้าฝน เบรครถยนต์ขัดข้อง ส่งผลให้รถยนต์ประสานงากันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ต่างฝ่ายต่างต้องเสียขวัญแน่ๆ เพราะมันเกิดขึ้นเร็วจนไม่ทันตั้งตัว ทำให้ประกันติดโล่สงสัยขึ้นมาว่าในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิด แล้วคู่กรณีเรียกร้องค่าทำขวัญต้องทำยังไงดี ประกันรถจะจ่ายไหม?

รถชนแล้วเป็นฝ่ายผิด คู่กรณีเรียกค่าทำขวัญ ค่าตกใจ ทำยังไงดี

 

รถชนแล้วเป็นฝ่ายผิด คู่กรณีเรียกร้องค่าทำขวัญ จัดการยังไงดี?

เวลาเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นก็ต้องมีฝ่ายถูกและฝ่ายผิดอยู่แล้ว เหตุการณ์นี้เรื่องจะง่ายขึ้นมากถ้าคุณมีประกันรถยนต์ภาคสมัครใจแล้วแจ้งเรื่องไปยังบริษัทประกันเพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่ประกันมาไกล่เกลี่ยให้ ซึ่งถ้าทุกอย่างมันราบเรียบก็คงจบลงได้สวยๆ แต่ถ้าเกิดว่าคู่กรณีเรียกร้องค่าทำขวัญจากอุบัติเหตุ จะทำยังไงดี?

คุณที่ไม่เคยเจอเหตุการณ์อย่างนี้คงคิดหาทางออกไม่ได้ สติหลุดไปโดยปริยาย ประกันติดโล่ขอให้คุณตั้งสติให้ดีๆ อีกครั้งแล้วบอกไปเลยว่า “รอเจ้าหน้าที่ประกันมาจัดการดีกว่า” เพราะถ้าเกิดว่าคุณเจอคู่กรณีหัวหมอ เรียกร้องค่าทำขวัญเกินกว่าความเป็นจริง มีแต่เสียกับเสียนะครับ ให้เจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันมาไกล่เกลี่ยดีที่สุด

ซึ่งระหว่างนั้นคุณสามารถถ่ายรูปหรือวิดีโอของรถยนต์ที่เสียหาย บรรยากาศโดยรอบเก็บเอาไว้ในเบื้องต้นด้วยก็จะดีมาก หรือถ้ามีกล้องหน้ารถก็สามารถใช้ไฟล์นั้นได้เลย เพื่อนำเรื่องไปไกล่เกลี่ยกันอีกที ถ้าเกิดว่าคู่กรณีจะเล่นแร่แปรธาตุหัวใสเอาเปรียบคุณจากการขับรถชนกันครั้งนี้ คุณก็ยังมีหลักฐานเพื่อยืนยันนั่นเองครับ

ถ้าเกิดว่ารถชนกันแล้วไม่มีประกันรถยนต์ทั้งคู่ ประกันติดโล่แนะนำว่าวิธีที่ดีที่สุดคือนำรูปถ่ายหรือวิดีโอต่างๆ ที่ได้ถ่ายไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ ไปเจรจาค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อหน้าคนกลางอย่างตำรวจ เพื่อจะได้จ่ายค่าเสียหายอย่างเหมาะสม รวมไปถึงคุยเรื่องค่าทำขวัญที่คุณถูกเรียกร้องจากคู่กรณีอีกด้วย

สรุปว่าค่าทำขวัญที่คู่กรณีเรียกร้องมา คุณที่เป็นฝ่ายผิดจะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้ ในกรณีที่จะจ่ายก็ให้เจ้าหน้าที่บริษัทประกันเป็นผู้ไกล่เกลี่ย แล้วรวมไปในค่าเสียหายที่คู่กรณีสามารถเรียกร้องได้ตามความคุ้มครองของประกันรถยนต์​ แต่ถ้าคุณจะไม่จ่ายเพราะรู้สึกว่าเกินไป ก็สามารถฟ้องร้องแล้วไปขึ้นโรงขึ้นศาลได้เลยครับ

ขับรถชนกัน ต้องจ่ายค่าเสียหายอะไรบ้าง ประกันคุ้มครองไหม

 

รู้ไว้ไม่เสียหาย! ถ้าขับรถชน คู่กรณีจะเรียกร้องอะไรจากคุณบ้าง

จากการสืบค้นข้อมูล ประกันติดโล่พบว่าไม่มีค่าทำขวัญตามกฎหมายไม่ได้มีเขียนเอาไว้เลย แต่ค่าทำขวัญหรือค่าตกใจที่เรียกกันจนติดปากนั้น เวลาต้องจ่ายให้คู่กรณีจะถูกรวมไปอยู่ใน “ค่าเสียหาย” ดังนั้น เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ขับรถชนแล้วคุณเป็นฝ่ายผิด นี่คือสิ่งคู่กรณีมีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายต่างๆ จากคุณ

ค่าเสียหายของยานพาหนะจากอุบัติเหตุรถชน

เมื่อมีอุบัติเหตุรถชนกันยานพาหนะก็ต้องเสียหายอยู่แล้ว ซึ่งคู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูกจะเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับยานพาหนะทันที ถ้าคุณไม่มีประกันรถยนต์ก็ต้องคุยให้รู้เรื่องว่าจะทำเงินมาชดใช้ค่าเสียหายเมื่อไหร่ แต่ถ้าคุณมีประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันชั้น 2+ หรือประกันรถชั้น 3+ ก็รอให้เจ้าหน้าที่ประกันไปถึงที่เกิดเหตุแล้วค่อยทำการไกล่เกลี่ยค่าเสียหายจากยานพาหนะในลำดับถัดไป

ค่ารักษาพยาบาลและค่ารักษาตัวของคู่กรณีหลังจากเกิดอุบัติเหตุรถชน

ซื้อรถยนต์ก็ต้องซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์มาคู่กันด้วย เพราะเป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ให้รถทุกคันต้องมี แต่เวลาเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นมาความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์อาจไม่พอ ซึ่งประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะเป็นช่วยจ่ายค่าเสียหายในส่วนเกินจาก พ.ร.บ.รถยนต์ โดยความคุ้มครองขึ้นอยู่กับว่าคุณได้ซื้อประกันรถยนต์ชั้นไหนไว้ เช่น ประกันชั้น 1 คุ้มครองทุกกรณี หรือประกันชั้น 3 คุ้มครองแค่คู่กรณี

ขับรถชนกัน ต้องจ่ายค่าเสียหายอะไรบ้าง ประกันคุ้มครองไหม

ค่าทรัพย์สินเสียหายหรือสูญเสียขณะเกิดอุบัติเหตุ

นอกจากคู่กรณีจะเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถได้แล้ว ยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากทรัพย์สินต่างๆ ที่อยู่ในรถได้อีกด้วย เช่น โน๊ตบุ๊กพัง โทรศัพท์มือถือ กล้อง เป็นต้น แต่การชดเชยค่าเสียหายของประกันรถยนต์จะพิจารณาจากค่าเสื่อมสภาพของทรัพย์สินนั้น แถมยังต้องพิสูจน์ว่าคู่กรณีเป็นเจ้าของจริงๆ ด้วยไหม ซึ่งเรื่องนี้ถ้าคุณมีประกันรถยนต์ ทางเจ้าหน้าที่บริษัทประกันก็จะทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คุณเอง

ค่าเสียหายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงจากอุบัติเหตุ

อย่างที่ประกันติดโล่บอกไปว่าอุบัติเหตุรถชนสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างมากๆ ไม่ใช่แค่รถยนต์เสียหายหรือมีคนบาดเจ็บเท่านั้น แต่ยังทำให้คู่กรณีเสียโอกาสอื่นๆ ในวันข้างไปด้วย แล้วที่สำคัญรถยนต์อาจเป็นยานพาหนะเดียวของคู่กรณีที่จะเติมเต็มโอกาสที่ว่านั่น ดังนั้น คู่กรณีมีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายอื่นได้ครับ เช่น

  • ค่าขาดประโยชน์จากรถยนต์ : คู่กรณีต้องใช้รถยนต์ขับไปทำงานในทุกวัน เมื่อคู่กรณีหายดีแต่ไม่มีรถใช้เพราะกำลังซ่อมอยู่เลยต้องใช้วิธีเดินทางไปทำงานแบบอื่น คุณก็ต้องจ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้
  • ค่ารถลากไปซ่อม : ถ้าขับรถชนเสาไฟฟ้าคุณก็จ่ายแค่ค่ารถลากให้ตัวเอง แต่เมื่อไปชนรถคันอื่นๆ แล้วมีคู่กรณี ชนชนิดที่ว่ารถไม่สามารถขับไปอู่รถยนต์เองได้ คุณก็ต้องออกค่ารถลากให้คู่กรณีด้วย

 

สรุป

ค่าทำขวัญไม่ได้มีระบุเอาไว้ในกฎหมาย แต่ถ้าถูกเรียกร้องค่าทำขวัญในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิดจากอุบัติเหตุรถชนแล้วอยากจ่ายก็สามารถทำได้ โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันรถยนต์ เช่น ค่ายานพาหนะเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น โดยเรื่องนี้คุณสามารถให้เจ้าหน้าที่บริษัทประกันไกล่เกลี่ยได้เลยครับ แต่ถ้าไม่มีประกันรถยนต์ก็ต้องไปไกล่เกลี่ยผ่านเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือขึ้นโรงขึ้นศาลนั่นเอง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, คมชัดลึก



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันรถยนต์

กรอกข้อมูลติดต่อ

นอกจากประกันรถยนต์ อยากได้อะไรเพิ่ม?
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    41,057
  • 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2023 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    11,687
  • วางแผนต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน และต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    ไม่อยากขาดต่อใบขับขี่ ทำความเข้าใจการต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน เพื่อวางแผนและเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม ป้องกันการทำผิดกฎหมายจราจร
    7,459